บอร์ด
กระทู้: ทั้งๆที่ปิดไฟแต่ทำไมไม่หยุดคิด?

ทั้งๆที่ปิดไฟแต่ทำไมไม่หยุดคิด?

        กิจวัตรประจำวันนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีช่วงเวลาของกิจกรรมนั้นๆอยู่ เช่น ตื่นเช้าทานอาหาร ไปทำงาน พักเที่ยง ทำงานต่อ กลับบ้าน ทานอาหาร ดูโทรทัศน์ อาบน้ำ และเข้านอน เพื่อที่จะได้กลับไปทำกิจวัตรอย่างเดิมในวันต่อไป เราต้องรักษาเวลาในกิจกรรมนั้นๆ แต่การ “นอนไม่หลับ” นั้นเป็นอุปสรรคต่อชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่ทำให้จิตใจอ่อนล้า แต่ส่งผลกระทบถึงระบบต่างๆอีกมากมาย อาจทำให้เสียงาน ทานอาหารไม่ตรงเวลา ลามไปถึงสุขภาพร่างกายอีกด้วย เรามาดกันว่าอาการ “นอนไม่หลับ” นั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

  1. สาเหตุจากทางด้านจิตใจ( Psychologic Causes of Insomnia )ผู้ป่วยจำนวนมากเกิดจากทางด้านจิตใจ เช่นโรคเครียด โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 70จะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการสำคัญ
  2. ปัจจัยกระตุ้นให้นอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) มักจะเป็นชั่วคราวเช่น
  • Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่นผลจากความเครียด จากการเจ็บป่วย ผ่าตัด การสูญเสียของรัก จากงาน เมื่อปัจจัยกระตุ้นหายอาการนอนไม่หลับจะกลับสู่ปกติ
  • Jet Lag ผู้ป่วยเดินบินข้ามเขตเวลา ทำให้เปลี่ยนเวลานอนร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้นอนยาก
  • Working Conditions เช่นคนที่เข้าเวรเป็นกะๆทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไปทำให้นอนไม่เป็นเวลา
  • Medications นอนไม่หลับจากยา เช่นกาแฟ ยาลดน้ำมูก

  1. นอนไม่หลับจากโรค Medical and Physical Conditions หากคุณมีโรคบางโรคก็อาจจะทำให้คุณนอนไม่หลับเช่น
  • โรคบางโรคขณะเกิดอาการจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เช่นโรคหอบหืด โรคหัวใจวาย ภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม Alzheimer โรคparkinson โรคคอพอกเป็นพิษ
  • ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนฮอร์โมน progesteronจะทำให้ง่วงนอนช่วงไข่ตกจะมีฮอร์โมนprogesteron สูงทำให้ง่วงนอน แต่ช่วงใกล้ประจำเดือนฮอร์โมนจะน้อย ทำให้อาจจะมีอาการนอนไม่หลับการตั้งครรภ์ระยะแรกและระยะใกล้คลอด จะมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงแรกของหญิงวัยทองก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
  • นอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอนDelayed Sleep-Phase Syndromeเมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  1. ปัจจัยส่งเสริมอาการนอนไม่หลับPerpetuating Factorsมีหลายภาวะที่ส่งเสริมให้นอนไม่หลับ
  • Psychophysiological Insomnia เกิดจากนอนก่อนเวลานอนแล้วนอนไม่หลับ เรียก Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้นพยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนกลายเป็นความเครียด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะ ชีพขจรเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่นกาแฟ สุรา การดื่มกาแฟหรือสุราตอนกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน การดื่มสุราเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียดทำให้หลับดีขึ้นแต่ถ้าหากดื่มมากจะทำให้หลับไม่นานตื่นง่าย ช่วงที่อดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก ผู้ที่สูบบุหรี่จะนอน 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นเนื่องจากระดับ nicotin ลดลง
  • การที่ระดับ melatonin ลดลงระดับ melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในผู้ใหญ่หลังอายุ 60 ปีจะมีน้อยมาก
  • จากแสง จากความรู้ข้างต้นแสงจะกระตุ้นให้ตื่นแม้ว่าจะรี่แสงแล้วก็ตาม
  • นอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ที่เวลานอนไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
  • การออกกำลังตอนใกล้เข้านอน การทำงานที่เครียดก่อนนอน
  • การที่นอนและตื่นไม่เป็นเวลา
  • สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่นร้อน หนาว แสงจ้าไป เสียงดังไป รวมทั้งลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด เช่นนอนดิ้น นอนกรนเป็นต้น

        หากท่านยังไม่ทราบสาเหตุให้กรอกตารางสำรวจสาเหตุการนอนไม่หลับความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมงแต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ5 ชั่วโมงหากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth

4 ส.ค. 59 เวลา 11:40 411
โพสต์โดย

scqvitz


คนดู