บอร์ด
กระทู้: แผน EA กับฝันอันยิ่งใหญ่ ยกเครื่องระบบขนส่งสาธารณะไทยด้วยธุรกิจ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

 

เมื่อ EV เข้าถึงง่ายมากขึ้น เพราะคนไทยเองเป็นคนพัฒนา วิจัย และสรรค์สร้างขึ้นมาเอง สำหรับหนึ่งในบริษัทของไทยที่รุกเข้าสู่ธุรกิจ EV อย่างจริงจังมากที่สุดบริษัทหนึ่ง คือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ซึ่งพยายามขยายการลงทุนเพื่อให้ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศของ EV

มาดูวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร EA บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กันที่มองไปถึงการใช้ EV แบบโครงสร้างภาพรวมของประเทศ

โดยที่สื่อของ THE STANDARD WEALTH ร่วมพูดคุยกับ สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA เกี่ยวกับทิศทางธุรกิจ EV ของบริษัท พร้อมทั้งฉายภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบขนส่งสาธารณะไทย

 

โครงสร้างพื้นฐานที่ดีพร้อมสำหรับธุรกิจ EV

“ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานดีกว่าคนอื่น ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าที่เรามีกำลังการผลิตกว่า 5 หมื่นเมกะวัตต์ ขณะที่การใช้ไฟฟ้าในช่วงที่พีคที่สุดที่เพียง 3 หมื่นเมกะวัตต์ ถือเป็นไม่กี่ประเทศที่กำลังการผลิตยังไม่ได้ถูกใช้เยอะมาก” สมโภชน์เริ่มต้นฉายภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย

แต่การที่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตที่ไม่ถูกนำไปใช้ใน:)ส่วนที่มาก เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าของไทยแพง เพราะเรามีต้นทุนคงที่ของกำลังการผลิตไฟฟ้า 5 หมื่นเมกะวัตต์ แต่ใช้งานจริงเพียงแค่ราว 60%

ฉะนั้นแล้ว การพัฒนาของอุตสาหกรรม EV ในปัจจุบัน อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยให้การผลิตไฟฟ้าของไทยทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

EA กับเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Ultra Fast Charge

“EA มีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Ultra Fast Charge ซึ่งเราจดสิทธิบัตรไว้ทั่วโลก เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เราชาร์จไฟได้ภายในเวลา 15-20 นาที ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก หรือแม้แต่เรือไฟฟ้าที่เราให้บริการอยู่”

ไม่เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ EA เน้นพัฒนาเทคโนโลยี EV ทั้งระบบ ตั้งแต่แบตเตอรี่ ตัวรถ หัวชาร์จ เพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยี Ultra Fast Charge จะเห็นว่า EA ไม่ได้เน้นการซื้อของมาติดตั้ง แต่เป็นการวิจัย พัฒนา ออกแบบ ผลิต และให้บริการด้วยตัวเอง

หลังจากบริษัทพัฒนาเทคโนโลยี Ultra Fast Charge ขึ้นมา ทำให้เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ เพราะยานยนต์เหล่านี้ต้องการพลังงานมาก และไม่ต้องการจอดรอนาน ทำให้เราพยายามนำเทคโนโลยีที่ว่านี้เข้าไปในยานพาหนะหลายๆ อย่าง และหนึ่งในนั้นคือรถประจำทาง หรือ ‘รถเมล์’

ขยายธุรกิจ EV สู่ระบบขนส่งมวลชนของไทย

หลังจากที่ให้บริการเรือไฟฟ้ามา 7-8 เดือน ก่อนที่ EA จะเข้าลงทุนใน บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด เพื่อให้บริการเดินรถเมล์ ไม่เพียงแค่นั้น EA ยังได้เข้าลงทุนใน บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD ใน:)ส่วนราว 23% แม้จะได้ชื่อว่าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ แต่อีกขาธุรกิจหนึ่งของ BYD คือการให้บริการเดินรถเมล์

ปัจจุบันสมาร์ทบัสมีสัมปทานเดินรถเมล์รวม 43 เส้นทาง ขณะที่ BYD มีเส้นทางเดินรถอยู่ 85 เส้นทาง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 ไทยมีแผนปฏิรูปรถเมล์ โดยมีการศึกษาวิจัยว่ากรุงเทพฯ ควรจะมีรถเมล์กี่เส้นทาง ซึ่งโดยสรุปแล้วน่าจะมีราว 270 เส้นทาง

เงื่อนไขสำคัญของแผนปฏิรูปรถเมล์ครั้งนี้คือ ผู้ที่จะได้รับสัมปทานเส้นทางเดินรถไม่ว่าจะเป็นรายใหม่หรือรายเก่า จะต้องปรับปรุงรถและปรับการให้บริการให้มีคุณภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลายราย และมีเส้นทางเหลือตกมาถึงมือบริษัทหน้าใหม่

สมาร์ทบัสเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเดิมที่ได้สัมปทานมา 43 เส้นทาง EA จึงเข้าไปซื้อกิจการ ส่วน BYD ได้สัมปทานใหม่มาเพิ่ม 77 เส้นทาง รวมกับ 8 เส้นทางที่มีอยู่เดิม และเมื่อรวมกับเรือ จะทำให้ทั้งหมดนี้กลายเป็นเน็ตเวิร์กที่ครอบคลุมกรุงเทพฯ ทั้งหมดนี้น่าจะต้องใช้รถเมล์ไฟฟ้าเกือบ 4,000 คัน

ทั้งนี้ บริษัทจะเริ่มให้บริการรถเมล์ไฟฟ้าสายแรกในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 คือสาย 8

“หากเราทำตรงนี้ได้ และนำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปใช้ จะช่วยให้คนเดินทางจากเส้นทางหนึ่งไปต่ออีกเส้นทางหนึ่งโดยที่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม มันจะเป็นประวัติศาสตร์ที่เรามีรถใหม่ มีการบริการที่ดี และช่วยให้ประชาชนทั่วไปประหยัดเงินได้เพิ่มขึ้น” 

สมโภชน์ให้มุมมองว่า นอกจากเงินลงทุนที่เป็นต้นทุนคงที่แล้ว โครงการนี้ยังมีต้นทุนผันแปรที่สำคัญคือ ราคาพลังงานและบุคลากร

ส่วนของพลังงาน การที่นำเทคโนโลยี EV เข้ามาใช้ ทำให้ต้นทุนพลังงานลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 เทียบกับการใช้น้ำมัน ทำให้บริษัทสามารถนำส่วนของต้นทุนที่ลดลงนี้ไปใช้รีไฟแนนซ์รถ

“เมื่อรถเมล์เปลี่ยนเป็นไฟฟ้า จะทำให้เราติดตามได้ตลอดว่ารถอยู่ที่ไหน ขับเร็วหรือไม่ จอดตรงป้ายหรือไม่ หากคนขับสามารถทำตามมาตรฐานได้ ก็จะเปลี่ยนเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น”

ส่วนของเรือไฟฟ้าปัจจุบันมีเรือ 27 ลำ ซึ่งยังไม่เพียงพอ จึงต้องต่อเรือเพิ่มอีก 17 ลำ จะช่วยให้เราให้บริการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนได้ทุกๆ 5 นาที และรองรับการใช้บริการ 3-4 หมื่นคนต่อวัน

ปัจจุบันต้องยอมรับว่ารายได้จากธุรกิจนี้ยังไม่ดีนัก ส่วนหนึ่งเพราะโควิด และการพยายามทำให้เป็นระบบชำระเงินไร้เงินสด ขณะที่เรือโดยสารยังมีจุดจอดที่ไม่ครอบคลุมทุกท่าน้ำ ทำให้เราได้ส่วนแบ่งเพียง 30% แต่เมื่อเรามีเครือข่ายของรถเมล์และเรือเพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ช่วยกำหนดเพดานของค่าโดยสาร สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale)

“มันเป็นจุดเปลี่ยนพอดี และเราเข้ามาในเวลาที่เหมาะสม จึงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ถ้าไม่เกิดวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา ก็คงไม่สามารถรวบรวมเส้นทางมาได้ แต่หลายคนก็อาจจะมีคำถามว่า ที่ผ่านมาทำไมผู้ที่ให้บริการถึงไม่มีกำไร แล้วเราจะทำได้อย่างไร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้ามาของ EV”

 

ในมุมของความเสี่ยงมี 2 ส่วนที่สำคัญ ประการแรกคือ เทคโนโลยีที่พัฒนา แม้ว่าบริษัทจะทดสอบมาก่อนแล้ว แต่ขณะนี้เรากำลังจะขยายการให้บริการเป็นหลักพันคัน ถือเป็นความเสี่ยงของการเร่งขยายธุรกิจ (Scale up)

 

ประการที่สองคือ การประเมินรายได้และต้นทุนจากข้อมูลในอดีต แต่หลังจากเกิดโควิดพฤติกรรมคนอาจจะเปลี่ยน และประชาชนก็มีทางเลือกมากขึ้น อย่างเช่น รถไฟฟ้า แต่ในมุมของเรืออาจจะได้ประโยชน์จากการตัดผ่านรถไฟฟ้า 5 สถานี

“การบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ได้ดีสุดคือ บริการ ถ้าเราบริการดีน่าจะทำให้ความเสี่ยงลดลง”

ขยายธุรกิจ EV สู่ระบบราง

EA ศึกษาเรื่องนี้ราว 1 ปีครึ่ง พร้อมกับลงนาม MOU กับบริษัทด้านรถไฟยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง China Railway Construction Corporation เพื่อร่วมพัฒนาหัวรถไฟที่ใช้แบตเตอรี่ ซึ่งมีข้อได้เปรียบจากต้นทุนพลังงานที่ลดลงราว 50% แทนการใช้น้ำมัน

ปัจจุบันหัวรถไฟคันแรกได้ร่วมกันผลิตและนำเข้ามาในไทยแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างทดสอบขั้นสุดท้าย และในอีก 1-2 เดือน จะเริ่มทดสอบการใช้งาน

“หากเราทำส่วนนี้สำเร็จ จะไม่ได้มีตลาดที่ใหญ่มาก เพียงแค่ประเทศไทย สำหรับทางรถไฟรางคู่ที่กำลังก่อสร้างกันอยู่นี้ ต้องใช้หัวรถจักรถึง 1,000 หัว ซึ่งมูลค่าตลาดระดับแสนล้านบาท หรือแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเยอรมนี จะเห็นว่าเส้นทางวิ่งของรถไฟเกือบ 60% ยังไม่มีสายไฟด้านบน และยังใช้น้ำมันดีเซลวิ่งอยู่” 

สิ่งที่ EA คาดหวังจากการนำรถไฟไฟฟ้าเข้ามาเติมเต็มคือ การเป็นระบบขนส่งมวลชนในเมืองรองทั่วประเทศไทย ซึ่งรถไฟไฟฟ้าจะช่วยลดต้นทุนเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการสร้างระบบขนส่งในต่างจังหวัด และจะช่วยให้ความเจริญกระจายออกไปมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของโครงการเหล่านี้ต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก จึงเป็นความท้าทายที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ รวมทั้งหน่วยงานกำกับก็ต้องพอใจด้วย

 

ความฝันของ EA ผ่านธุรกิจ EV

สิ่งที่ EA อยากทำวันนี้คือ เราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ให้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า โดยเฉพาะกับประชาชนในระดับกลางและระดับล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ และมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันมาก

เราจึงอยากได้การสนับสนุน ความมั่นใจจากภาครัฐ เพราะด้วยกฎเกณฑ์ที่มีบางส่วน ทำให้เราทำงานค่อนข้างยาก แต่จากการที่เราพยายามและตั้งใจทำ ทำให้คนเริ่มเห็นเรามากขึ้น เริ่มเห็นว่าเราทำได้ และเริ่มมีคนเข้ามาสนับสนุน

ขอบคุณเนื้อหาจากเว็บไซต์ The Standard

https://thestandard.co/electric-vehicle-3/

28 ส.ค. 65 เวลา 23:00 604
โพสต์โดย

vistion


เด็กกองถ่าย
กระทู้ล่าสุดของ vistion