ก่อนตัดสินใจซื้อปั๊มลมไปใช้งาน ประการแรงต้องคำนึงถึงแรงดันสูงสุด (max working pressure) ว่าต้องการนำไปใช้งานแบบไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเครื่องแบบ single stage หรือ two stage ประการต่อมาคือ ปริมาณลมที่ปล่อยออกมา (max air consumption หรือ max capacity) และประการที่สามคือต้องการ clean air system ขนาดไหน ซึ่งก็จะมี accessories เพิ่มเติมต่างกัน
1.ถังเก็บลม (air tank) ถ้าซื้อปั๊ม https://www.tirawatgroup.com/ปั๊มลม มาใช้แล้วรู้สึกแรงลมไม่พอกับความต้องการ ก็หาซื้อถังเก็บลมมาใช้สำหรับการทำงานที่หนักขึ้นได้
2.เครื่องลดอุณหภูมิปั๊มลม (air after coller) เพื่อลดอุณหภูมิลมที่ปล่อยออกมา
3.เครื่องทำให้ลมแห้ง ปราศจากความชื้น (air dryer) เพื่อช่วยให้ปั๊มลมสามารถกำจัดน้ำออกจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ใส้กรองปั๊มลม (air filter) ที่สามารถกรองสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นผงได้ตั่งแต่ระดับหยาบ ๆ ไปจนถึงละเอียดขนาดเล็ก และนอกจากช่วยกรองฝุ่นแล้ว ยังกรองของเหลวได้อีกด้วย ซึ่งความสามารถแบบนี้ เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมอาหารและยา หรือนำไปใช้ในต้องห้องทดลอง
5.ตัวช่วยดักกลิ่นไม่พึงประสงค์ (activated carbon filter) ไม่เหมาะกับปั๊มลมที่นำมาใช้งานทั่วไป แต่เหมาะกับนำมาติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับคนที่ต้องการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา หรือนำไปใช้ในต้องห้องทดลอง
1.ลูกสูบสายพาน – ขับเคลื่อนโดยใช้มอเตอร์ร่วมกับสายพาน คล้ายระบบขับเคลื่อนของ Harley davidson
2.ลมโรตารี่ - ใช้มอเตอร์แบบลูกสูบเป็นตัวขับเคลื่อน
3.ออยฟรี (Oil free) - จัดเป็นปั๊มลมที่มีเสียงการทำงานเงียบและไม่ต้องคอยเติมน้ำมันหล่อลื่น
4.แบบสกรู – ใช้เพลาสกรูตัวผู้กับตัวเมียหมุนเข้าหากัน เพื่อดูดเเละอัดอากาศผ่านทางเกลียวสกรู
เนื่องจากเป็นปั๊มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสมัยนี้ ด้วยความที่มีขนาดเล็กระทัดรัด ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก ประกอบกับมีราคาที่ถูก นอกจากนี้ ตัวระบบขับเคลื่อนแบบโรตาลี่ ยังมีข้อดีตรงที่ส่งผ่านพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีความสเถียรในการทำงาน
แต่ก็ต้องคอยเติมน้ำมันหล่อลื่นลูกสูบ เพื่อลดการเสื่อมสภาพ และไม่ควรเปิดเครื่องทำงานตลอดวัน เพราะมอเตอร์จะเกิดความร้อนสะสม จนเกิดไฟลุกไหม้ได้ นอกจากนี้ เวลาใช้งานไปสักพักจะเกิดเสียงที่ดังกว่าปั๊มชนิดอื่น ทำให้ใช้ติดต่อกันได้ไม่นานมาก