บอร์ด
กระทู้: 3 พฤติกรรมเสี่ยง ทำเป็นประจำ ระวังเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว

 

สำหรับภาวะเสี่ยงของคนวัยทำงานที่นอกจากจะต้องรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานแล้ว อีกหนึ่งภาวะที่อาจได้เพิ่มมาจากการทำงานโดยไม่รู้ตัวนั่นก็คือโรคออฟฟิศซินโดรม หลัก ๆ คือมาจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่ขยับตัว เป็นท่านั่งซ้ำ ๆ ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเกิดความผิดปกติในที่สุด

 

สำรวจตนเองให้ดี หากคุณมี 3 พฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ ระวังเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว

 

นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

พฤติกรรมเสี่ยงอันดับแรกที่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม หากคุณคือวัยทำงานที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันโดยไม่เปลี่ยนท่าเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุคนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำจนทำให้ศีรษะของเราต้องค่อย ๆ โน้มไปหาคอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมนี้จะทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณลำคอโยกไปข้างหน้า ผลที่ตามมาคือทำให้รู้สึกปวดบริเวณคอ บ่า และไหล่

วิธีแก้:

หาแท่นรองคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้นมาในระดับพอดีกับสายตา เพื่อเป็นการปรับระดับสายตาและท่านั่งให้อยู่ในระดับมาตรฐานมากขึ้น

 

นั่งทำงานโดยเท้าไม่ติดพื้น

สำหรับท่านั่งอันเป็นพฤติกรรมเสี่ยงให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นก็คือท่านั่งไขว่ห้าง ซึ่งเป็นท่านั่งผิดวิธีที่ทำให้กระดูกสันหลังไม่ตั้งตรงในแบบที่ควรจะเป็น จนทำให้เกิดการกดอัดบริเวณข้อกระดูกและทำให้กระดูกสันหลังคดได้ในที่สุด

วิธีแก้:

เปลี่ยนท่านั่งให้เกิดความเคยชิน หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างหรือนั่งขัดสมาธิ หากเป็นไปได้ให้นั่งท่าที่ทำให้เท้าแตะพื้นจะดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีของกระดูกสันหลังในระยะยาว

 

 

ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ

ลองนึกถึงตามกฎของธรรมชาติ การสวมใส่รองเท้าที่ไม่ได้อยู่บนพื้นราบที่มีความสมส่วน หรืออยู่ในพื้นราบที่มีความพอดี เป็นรองเท้าที่ออกแบบไม่ได้มาตรฐาน ระดับความสูงไม่เหมาะสม ก็จะยิ่งทำให้เราต้องเทน้ำหนักตัวไปข้างหน้า ส่งผลให้กระดูกสันหลังทำงานหนักมากกว่าสวมใส่รองเท้าพื้นราบ ยิ่งเฉพาะมือใหม่หัดใส่ส้นสูงแล้วล่ะก็ สิ่งที่โน้มไปข้างหน้าจะไม่ใช่เพียงแค่กระดูกสันหลัง แต่จะเป็นศีรษะ ลำคอ ไหล่ ไปจนถึงเอวที่ต้องโน้มไปข้างหน้าด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตอย่างแน่นอน

วิธีแก้:

หากมีความจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูงจริง ๆ แนะนำให้เลือกรองเท้าที่มีคุณภาพดีและเหมาะกับสุขภาพเท้า ความสูงเหมาะสมที่แนะนำคือควรอยู่ในระดับ 2-3 นิ้ว ไม่ควรสูงเกินไปกว่านี้ หากเป็นไปได้ระหว่างวันแนะนำให้ถอดพักบ้าง ไม่ควรสวมใส่ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง

 

 

นอกจากที่จะต้องสังเกตตนเองให้ดีว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวนี้หรือไม่ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างแท้จริง ควรออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ ให้ส่วนต่าง ๆ ได้ใช้งานอย่างทั่วถึง ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นพังผืดเกาะบริเวณกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน และในระหว่างทำงานอย่าลืมลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายหรือเปลี่ยนท่าตอนทำงานบ้างนะคะ เพื่อสุขภาพของกระดูกสันหลังที่ดีในระยะยาวนั่นเอง

14 พ.ค. 63 เวลา 15:09 375