เชื่อว่าหนึ่งในการต่อเติมบ้านที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปก็คือ การต่อเติมโรงรถ เพราะนอกจากจะช่วยในการป้องกันแสงแดดที่ส่องเข้ามาในตัวบ้านระหว่างวันแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการกันสายน้ำที่สาดลงมาระหว่างฝนตก รวมไปถึงช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานรูปแบบต่างๆ ได้อีกเช่นกัน ซึ่งการต่อเติมโรงรถที่ว่านี้ก็สามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับมุงหลังคา หรือทำเป็นระแนงโปร่งแสงได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 3 วัสดุที่มักนิยมใช้ในการต่อเติมโรงรถสำหรับบ้านพักอาศัย พร้อมทั้งบอกคุณสมบัติของวัสดุแต่ละประเภท เพื่อช่วยเป็นเครื่องประกอบในการตัดสินใจสำหรับการเลือกใช้วัสดุในการต่อเติมครั้งนี้ได้ ซึ่งจะมีวัสดุไหนอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลย
หลังคากระเบื้อง
หนึ่งในวัสดุที่มักนิยมนำมาใช้ต่อเติมโรงรถก็คือ หลังคากระเบื้อง เนื่องจากความสวยงามที่สามารถเข้ากับบ้านได้อย่างลงตัว โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นของการใช้หลังคากระเบื้องมีทั้งความหลากหลายของสี สามารถทนแรงตกกระทบได้สูง และสามารถใช้งานได้ในะระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักของหลังคากระเบื้องค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องใช้เสาปูนในการติดตั้งเท่านั้น เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของหลังคาได้
หลังคาเมทัลชีท
การใช้วัสดุเมทัลชีทในการต่อเติมหลังคาสำหรับโรงรถ ถือเป็นวัสดุยอดนิยมที่ผู้คนมักนิยม ใช้กันเป็นอย่างมาก เพราะจุดเด่นของหลังคาเมทัลชีลมีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง และสามารถป้องกันความร้อนจากแสงแดดได้เป็นอย่างดี แต่เวลาฝนตกจะทำให้เสียค่อนข้างดัง จึงจำเป็นต้องติดฉนวนเสริมอีกชั้นนึง เพื่อลดเสียงที่ตกกระทบลงมา
หลังคาไวนิล
หลังคาไวนิลนับเป็นอีกหนึ่งในวัสดุที่นิยมนำมาใช้ต่อเติมโรงรถ เพราะไวนิลเป็นวัสดุที่ถูกผลิตมาจากพีวีซีคุณภาพสูง จึงทำให้มีความทนทานสูง น้ำหนักเบา และสามารถป้องกันความร้อนและเสียงได้มากกว่าหลังคาเมทัลชีท เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้หลังคาไวนิลมีราคาแพงมากกว่าการใช้วัสดุประเภทอื่น
หลังคาไฟเบอร์กลาส
อีกหนึ่งวัสดุที่สามารถนำมาต่อเติมโรงรถได้ก็คือ หลังคาไฟเบอร์กลาส ที่มีทั้งแบบโปร่งแสงและทึบแสง โดยคุณสมบัติพิเศษของหลังคาประเภทนี้ คือ ความแข็งแรงทนทาน สามารถป้องกันรังสียูวีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้บ้านของผู้พักอาศัยไม่ร้อนอบอ้าวระหว่างวัน
ทั้งหมดนี้ก็เป็น 4 วัสดุที่มักนิยมใช้ในการต่อเติมโรงรถสำหรับบ้านพักอาศัย หากใครกำลังวางแผนต่อเติมบ้านหรือปรับปรุงบ้านใหม่อยู่ละก็ สามารถเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานตามคุณสมบัติของหลังคาแต่ละประเภทได้เลย