บอร์ด
กระทู้: กรมการแพทย์เตือน ออฟฟิศซินโดรมทำคนเสี่ยงตายสูงขึ้น

            รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า “ออฟฟิศซินโดรม” (Office syndrome) คืออาการปวดที่มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ตลอดวัน โดยไม่มีการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ

รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็มีผลทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมได้ เช่น การระบายอากาศไม่ดี ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบและเริ่มปวดเมื่อยตามอวัยะของร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อต้นคอและสะบัก รู้สึกเมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ อันเนื่องมาจากการนั่งทำงานหน้าคอมนาน ๆ 8 ชั่วโมงต่อวัน

เมื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ นอกจากกระตุ้นให้เกิดออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังทำให้รู้สึกง่วงนอน และมีความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการที่นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ รู้สึกง่วงตลอดเวลา และยังเป็นสาเหตุของการไมเกรน หรืออาการปวดหัวเรื้อรังด้วย

ออฟฟิศซินโดรมสามารถพัฒนากลายเป็นโรคร้ายแรงได้

แม้ช่วงแรกอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษากับแพทย์ https://www.themoveclubratchada.com/office-syndrome.html อาการก็ยิ่งเริ่มทวีรุนแรง จนพัฒนากลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนกระดูกเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งล้วนอันตรายและการรักษาก็ต้องใช้เงินสูง

ทั้งนี้ กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่แค่อาการปวดงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ด้วย ซึ่งเกิดได้ง่ายถ้าสภาพแวดล้อมการทำงานอากาศถ่ายเทไม่ดี หรือเครื่องปรับอากาศไม่สะอาด รวมถึงสารเคมีจากหมึก เครื่องแฟกซ์ และเครื่องพิมพ์เอกสาร ที่ล่องลอยวนเวียนให้สูดหายใจกันเข้าไปทุกวัน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงไปอีก

ออฟฟิศซินโดรมไม่จำเป็นต้องทานยา แค่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถก็หายได้

ผู้อำนวยการโรงบาลนพรัตนราชธานี ได้กล่าวถึงวิธีการรักษากลุ่มคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรม ว่าควรรักษาไปตามอาการไม่จำเป็นต้องใช้ยาแต่อย่างใด เพียงแค่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถการใช้ชีวิต หรือการทำงาน แต่ถ้าลองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็สามารถทานยาบรรเทาอาการได้ หรือจะปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัดก็ได้เช่นกัน

สำหรับวิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรม แบบต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์เป็นหลัก ซึ่งทางการแพทย์สมัยปัจจุบัน ก็มีให้ผู้ป่วยเลือกทั้งการผ่าตัดรักษาที่ต้นเหตุของโรค หรือให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวดรูปแบบฉีดและรับประทาน .

8 มิ.ย. 64 เวลา 18:03 307