การศึกษาสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคนทุกคนในโลกนี้ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีการแข่งขันกันที่สูงมากๆตั้งต่ชั้นประถมศึกษาเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ของไทยหรอก แต่ทั่วโลกก็เป็น และอินเดียก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการแข่งขันสูง และผลของการแข่งขันนั้นจะเป็นตัวตัดสินถึงระดับการทำงานและฐานเงินเดือนในอนาคต
มีรายการทางโทรทัศน์ของ CNBC TV เมื่อเร็ว ๆ นี้เกี่ยวกับว่าระบบการศึกษาในอินเดียจะส่งผลให้เด็กได้รับความรู้ได้ดีกว่าระบบการศึกษาของประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐฯ บ๊อบ คอมป์ตัน ผู้ผลิตบริหารสารคดี "สองล้านนาที" ให้ข้อสรุปสั้นๆว่าโรงเรียนจากอเมริกากำลังสู้โรงเรียนจากทั้งอินเดียและจีนไม่ได้ โดยนักเรียนอินเดียและจีนจะดีกว่าทั้งในแง่ของคุณภาพของการศึกษาและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งๆที่หลักสูตรของทั้งสามประเทศถือว่าใกล้เคียงกัน และไม่ได้มีหลักสูตรของประเทศไหนที่ดีกว่าอีกประเทศอย่างชัดเจน
บ๊อบได้ทำวิจัยกับนักเรียนจากอินเดีย ที่ได้ทำงานในบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของอเมริกัน และผลที่ได้ก็ชัดเจนว่า นักเรียนจากอินเดียมีคุณภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับนักเรียนจากชาติอื่นๆ และนักเรียนจากอินเดียก็มักจะได้งานในตำแหน่งสำคัญๆ และเงินเดือนสูง หนึ่งในบริษัทที่บ๊อบไปสัมภาษณ์กล่าวว่า เขาเปิดรับตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการคนหัวกะทิ คุณสมบัติสูงมาก แต่ก็ให้เงินเดือนที่สูงมากๆเป็นค่าตอบแทนตามความสามารถเช่นกัน คือ $100,000 - $200,000 ต่อปี หรือถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ตกประมาณ 3.5 - 7 ล้านบาทต่อปี ปรากฎว่าไม่มีผู้สมัครจากอเมริกันเลยที่คุณสมบัติถึง แต่กลับกัน มีผู้สมัครจากอินเดียหลายคนที่คุณสมบัติถึง และสุดท้ายก็จ้างหัวกะทิชาวอินเดียไปหลายคนด้วยเงินเดือนที่สูงลิ่ว
เจย์ แมททิวส์ รายงานการศึกษาจากหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ โดยมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากรายงานของบ๊อบ โดยเจย์ได้ให้ความเห็นว่า ที่อินเดียเก่งเพราะว่ามีช้างเผือกอยู่เยอะ แและค่าเฉลี่ยของโรงเรียนอินเดียก็ไม่ได้สูงไปกว่าของอเมริกันเท่าไหร่ แต่เป็นที่เด็กนักเรียนชาวอเมริกันเองตะหากที่ไม่ได้สนใจในการเรียนมากขนาดนั้น ระบบโรงเรียนมัธยมของอเมริกันเองก็เป็นแบบที่นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนวิชาอะไรบ้าง ซึ่งมองผิวเผินมันก็ดูดีนะ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมีนักเรียนไม่ถึงครึ่ง ที่ลงเรียนวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ส่วนมากจะเรียนแค่ชีววิทยาเบื้องต้นแล้วก็ไม่เรียนต่อล่ะ กลับไปเลือกวิชาที่เรียนง่ายๆ หรือให้เกรดง่ายๆแทน
เจย์ยังกล่าวเพิ่มอีกว่า ระบบการเมืองในประเทศจีน และระบบสังคมในอินเดียโดยทั่วไป กีดกันความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ในระหว่างการสนทนาบ๊อบถามเจย์ว่าได้ไปอินเดียหรือจีนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เจย์ตอบว่าครั้งล่าสุดก็ 20 ปีที่แล้ว บ๊อบจึงบอกเจย์ว่าระบบการศึกษาของทั้งจีนและอินเดียเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และรุนแรงด้วย ซึ่งเจย์เองก็ยอมรับในข้อโต้แย้งนั้น
ถ้านับกันในทางสถิติจริงๆ ปริมาณนักเรียนในชั้นประถมและมัธยมในประเทศสหรัฐอเมริกามีสูงถึง 53 ล้านคน และ 212 ล้านคนในอินเดีย ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลย เห็นไหมว่าระบบการศึกษาของอินเดียดีขนาดนี้ ไทยเราก็น่าจะเอาเป็นตัวอย่างบ้างนะ เพราะเด็กเก่งๆช้างเผือกของไทยเองก็มีเยอะไม่น้อยหน้าชาติไหนทั้งนั้น ถ้าสนับสนุนอย่างเต็มที่ล่ะก็ พวกเขาจะได้กลับมาพัฒนาบ้านเมืองของเราได้อย่างเต็มที่สักที
ขอบคุณ https://techsauce.co