Timothy H. O’Sullivan – Battle of Gettysburg
ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน – ภาพสมรภูมิ แห่ง เกตติเบิร์ก
ภาพถ่าย นี้ได้แสดงความเหมือนของสมรภูมินองเลือดระหว่าง สมรภูมิแห่ง เกตติเบิร์ค และ สมรภูมิ สงครามกลางเมืองแห่งสหรัฐ
บันทึก ภาพไว้โดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน ในบันทึกสารคดีแห่งสมรภูมิ ภาพนี้ได้ถ่ายทอดห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย และตีแผ่ช่วงเวลา แห่งสงครามกลางเมือง
ให้แก่ผู้ที่ได้เห็นภาพในครั้งแรก หรือผ่านประสบการณ์นั้นมา อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่การแพร่ภาพอย่างกว้างขวาง และภาพนี้ก็ยังเป็นภาพที่ไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อน
ภาพถูกทำให้เหมือน การพิมพ์ในสมัยโบราณ แต่ภาพได้แสดงถึงการตายหมู่ของทหารในสมรภูมิ และภาพได้ทำการบันทึกส่วนหนึ่งถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
Lawrence Beitler – Lynching
ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์ - ศาลเตี้ย
ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์ ได้บันทึกภาพนี้ไว้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1930
ภาพ แสดงถึงการประชาทัณฑ์ ชอง โธมัส ชิปป์ และ อาร์บ สมิธ มันถูกขายออกไปกว่าพันสำเนา โดย เบลท์เลอล์ ที่ใช้เวลาตลอด 10 วัน 10 คืนในการพิมพ์มันออกมา
ภาพกลายเป็นสัญลักษณ์กล่าวขานสืบเนื่องต่อมา เป็นเวลาหลายปี ถึงความเด่นในแง่มุมของการจดจำ ถึงการถูกประชาทัณฑ์ศาลเตี้ย ซึ่งในเวลานั้น
เหมือนมันเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นได้ประจำวัน ภาพนี้ต้องการแสดงถึงยุคก่อนสงครามกลางเมืองเท่านั้น ภาพแสดงถึงผู้คนพยายามเลี่ยงสายตาจากภาพการลงทัณฑ์ ด้วยอารมณ์อันหลากหลาย ระคนด้วยความโกรธและความสะใจ ภาพนี้ได้รับความนิยม และได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดานใจในการเขียนกลอน และแต่งเพลงในช่วงหลายปีต่อมา
Joe Rosenthal – Raising the Flag on Iwo Jima
โจ โรเซนไทล์ - การอัญเชิญธง ณ อิโวจิม่า
ภาพ อัญเชิญธง ณ อิโวจิมา ถูกบันทึกไว้เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 โดย โจ โรเซนไทล์ ได้บันทึกภาพ นาวิกโยธินสหรัฐ และ นาวาอากาศสหรัฐ 5 นาย
ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ทหารเสนารักษ์ กำลังพยายามปักธงบนยอดเขา ซึริบาฉิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ อิโวจิมา ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
ในปีเดียวกัน นอกจากการได้บันทึกช่วงเวลานี้เป็นภาพ แต่ยังเป็นหมายเหตุให้กับสหรัฐด้วย ถึงการจดจำ และการบันทึกภาพเหตุการณ์ในช่วงต่างๆ
Alberto Korda – Che Guevara
อัลเบอโต คอร์ดา - เช กูวารา นายแพทย์นักปฏิวัติ
อัล เบอโต คอร์ดา กับภาพที่โด่งดังภาพหนึ่งในการปฏิวัติ มาร์คซิส ของ เช กูวารา ชื่อ เกอริโลโร ฮิรอยโค่ หรือ ฮีรอย เกอริล่า ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในศตวรรษที่ 20
ซึ่งเป็นอนุสร การระเบิด แห่ง ลา คูบร์ ภาพได้ถูกบันทึกมาร่วม 31 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังนำภาพสัญลักษณ์นี้มาแสดง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด รอยสัก และบนกำแพง
ซึ่ง พบเห็นได้ทั่วโลกถึงความเป็นประวัติศาสตร์ โคร์ดา ตลอดชีวิตคอมมิวนิส และการสนับสนุนกลุ่มการปฏิวัติเพื่อประชาชนคิวบา ภาพแสดงออกถึงการเรียกร้องสิทธิ์
และภาพก็ยังแสดงออกถึงความขัดแย้งซึ่งยังคงมีอยู่ และดำรงอยู่
Eddie Adams – Nguy?n Ng?c Loan executing Nguy?n V?n Lém
เอ็ดดี้ อดัม
ภาพ สัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 และ 21 อีกภาพหนึ่ง ของ เอ็ดดี้ อดัม ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ และภาพนี้ด้วยเช่นกัน เอ็ดดี้ อดัม มีชื่อเสียงในการถ่ายภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง
ลงตามสือสิ่งพิมพ์มากมาย มีชีวิตในช่วงสงครามถึง 13 ครั้ง อย่างไรก็ดี ภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็น ภาพในสงครามเวียดนาม อดัม
ได้ ขอขมาต่อผู้คนในบังคับบัญชาของ พันเอก นูเยน และครอบครัวของเขา ถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้น และรางวัลเกียรติยศในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่
*ขยายความ The Photograph That Ended a War But Ruined a Life
"Murder of a Vietcong by Saigon Police Chief"
ไซ่ง่อน, เวียดนาม, โดย Eddie Adams, 1968
"ภาพถ่ายคืออาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก"
เอ็ดดี้ อดัมส์เคยเขียนประโยคนี้ไว้ และเข้าใจได้ไม่ยาก หากทราบที่มา และที่ไป
ในปี 1968 เอ็ดดี้ ได้ถ่ายรูปตำรวจ ที่จ่อยิงศีรษะของนักโทษเวียดกง ที่ถูกใส่กุญแจมืออยู่
และภาพนี้ ได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1969
ดูแล้วก็น่าสงสาร รันทดใจ ในชะตากรรมของผู้ตกเป็นเหยื่อ และอดดูถูกนายตำรวจตัวร้าย ผู้ลั่นไกมิได้
และทำให้นายพล Nguyen Ngoc Loan กลายเป็นผู้รายในสายตาชาวโลก และเป็นสัญลักษณ์ของความร้ายกาจ รุนแรง
แต่อย่างที่พอจะเดากันได้ โลกนี้ไม่ใช่มีเฉพาะ ขาว-ดำ, ถูก-ผิด อย่างที่เอ็ดดี้ได้เสนอไว้ในภาพนี้
เบื้องหลังก็คือ ผู้ที่ถูกยิง เป็นหัวหน้าหน่วยล่าสังหาร ของฝ่ายเวียดกง
ที่วันนี้ เพิ่งฆ่าหมู่ชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธ และไร้ทางต่อสู้นับสิบคน
ส่วนนายพล Loan ท่านนั้น ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากมาย จากภาพนั้น
ถูกไล่ออก โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ก็ปฏิเสธที่จะรักษาท่าน
และเมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ก็ถูกต่อต้าน และต่อว่า
เปิดร้านอาหารในอเมริกา ก็ต้องถูกบังคับให้ปิด
และมีชีวิตที่ยากลำบาก ตลอดชีวิตที่เหลือ
ในภายหลัง เอ็ดดี้ ได้แถลงขออภัย ต่อนายพล Loan ที่ได้ถ่ายทอดภาพออกมาในลักษณะนั้น
"ท่านนายพลได้สังหารเวียดกงด้วยปืน แต่ผมกลับสังหารท่านด้วยกล้อง"
Moon Landing
การลงจอดบนดวงจันทร์
ภาพ หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวขาน และการโต้เถียงมากมาย ภาพการลงจอดบนดวงจันทร์ เป็นการประกาศถึงบทสำเร็จทางวิศกรรมของมนุษยชาติ
โดย อีกนัยหนึ่งเป็นการวิพากวิจารณ์ถึงการหลอกลวงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความสงสัยต่อข้อเท็จจริงในภาพถ่าย ซึ่งได้รับการวิจารอย่างกว้างขวางในแง่ของการปลอมแปลงภาพ
ด้วยคำถามว่า ทำไม และ อย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริง
และ ความสงสัยก็ขยายออกเป็นวงกว้าง หลายๆ กรณีถูกกล่าวถึงในแง่ภารกิจที่สำเร็จลุล่วง ของมนุษยชาติ ที่สามารถส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ธงชาติสหรัฐได้ถูกปักลงเพื่อ เป็นเกียรติภูมิแห่งความสำเร็จ และได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตอวกาศ และยังคงประกาศถึงมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ด้วย
Richard Drew – The Falling Man
ริชาร์ด ดริว – เดอะ ฟอลลิ่ง แมน
“เด อะ ฟอลลิ่ง แมน” ถูกบันทึกภาพไว้โดย ริชาร์ด ดริว เมื่อเวลาเช้าของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ณ เวลา 9.41.15 น. เป้นภาพชายคนหนึ่งกำลังร่วงลงมาจากตึก เวิร์ด เทรด เซนเตแอร์ นครนิวยอร์ค
ซึ่งไม่ทราบชื่อชายในภาพ หลายคนลงความเห็นว่า เป็นภาพที่รบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาพที่อกสั่นขวัญแขวนต่อผู้ชม ภาพที่แสดงเหมือนเป็นภาพลวงตา อย่างไรก็ตาม
มีหลายคนวิจารย์ว่าทำไมคนถึงร่วงลงมาในแนวดิ่งแบบนั้น แต่ยังไงภาพนี้ก็เป็นเพียงภาพเดียวจากหลายๆ ภาพของการตกลงมา และภาพนี้ก็อาจเป็นภาพที่เขากำลังตีลังกาขณะร่วงลงมาจากตึกโดยปราศจากการควบ คุมก็เป็นได้
Huynh Cong Ut – Napalm Strike
Huynh Cong Ut หรือ Nick Ut ช่างภาพแนว Photojournalism จาก AP
บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์ม ลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม
ในวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน
Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้า และเสียขวัญสุดขีด
มาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไป พร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้าน
และลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือกันวิ่งมาด้วย
" ...บรรณาธิการ AP ไม่ยอมให้ตีพิมพ์รูปของ Kim Phuc ที่กำลังวิ่งไปบนถนน โดยไม่ใส่เสื้อผ้า
เพราะเป็นภาพที่เห็นด้านหน้าชัดเจน และนโยบายของ AP ในยุคนั้นจะไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือย ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเพศใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพด้านหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น
...การโต้เถียงผ่าน Telex อย่างดุเดือดกับสำนักงานใหญ่ของ AP ที่นิวยอร์ค ให้ยกเว้นกฎระเบียบ
โดยมีข้อตกลงกันว่า จะต้องไม่มีภาพถ่ายใกล้ ของเธอ เผยแพร่ออกไป
Hal Buell บรรณาธิการภาพของ The New York ที่จะนำภาพไปตีพิมพ์ เห็นด้วยว่า
คุณค่าของภาพข่าวนี้ มีเหนือกว่า แนวทางปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับภาพเปลือย"
...Nick Ut...
ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีนั้น
Stanley J. Forman – Fire on Marlborough Street
สแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน – ไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช
ในวันที่ 22 กรกฏาคม ค.ศ. 1975 สแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน ได้ถ่ายภาพที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมได้ ในขณะเดินทางไปทำงานที่ ฮารอล บอสตัน
เขาคลานข้ามรถดับเพลิงขึ้นมาเพื่อทำข่าวไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช
ขณะ ที่คลานเข้ามาใกล้เหตุการณ์ หญิงสาว กับ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ก็ร่วงลงมาจากอพาร์ทเม้นท์ด้านบน หญิงสาวตายสนิททันที แต่เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ รอดชีวิตมาได้
ภาพนี้ทำให้ฟอร์แมนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
และยังสามารถนำภาพนี้ไปใช้ในการออกกฏหมายเกี่ยวกับอัคคีภัยในเมืองบอสตันอีก ด้วย
Tank Man – Jeff Widener
แทงค์ แมน – เจฟ วิเดนเนอร์
หลาย ภาพที่ได้รับการพิจารณา ให้ เป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ คือ ภาพ แทงค์ แมน หรือ กบฏแห่งจลาจล เป็นพฤติกรรมที่กล้าหาญ และ ท้าทายเป็นอย่างมาก
เป็นการถ่ายภาพหน้ากว้าง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989
ในเหตุการณ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการจบสิ้นสงครามเย็น ภาพนี้ยังเป็นภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 20 ด้วย
Mike Wells – Uganda
ไมค์ วอลล์ – อูกันด้า
นี่ เป็นตัวอย่างการถ่ายทอดอารมณ์และจิตนาการภาพหนึ่ง ภาพมิชชันนารีกำลังประคองมือของเด็กน้อยชาวอูกันดา ภาพแสดงออกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างมนุษย์ 2 คน ที่ได้รับทรัพยากรที่แตกต่างกัน ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ช่างภาพ ไมค์ วอลล์ ถ่ายภาพนี้เพื่อแสดงถึงภาวะการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงในทวีปอัฟริกา เขาถ่ายภาพนี้เสนอนิตยสาร โดยไม่ได้รับการตีพิมพ์ถึง 5 เดือน ทำให้เขาต้องเข้าไปเจรจากำสำนักพิมพ์ด้วยตนเอง แต่ท้ายที่สุดเขาก็ไม่สามารถนำภาพเด็กอดอยากภาพนี้ลงในนิตยสารได้
Kevin Carter – Vulture Stalking a Child
เควิน คาร์เตอร์ – นกแร้งกำลังใกล้เข้ามา
ภาพ ที่ดูแล้ว น่าตกใจนี้ เกิดขึ้นกับเด็กน้อยชาวซูดาน ที่กำลังถูกนกแร้งย่องเข้ามาใกล้โดยที่เค้าไม่รู้ตัว มันเป็นภาพที่น่าขนลุกมาก ที่เห็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น
ที่ ซาหาราน อัฟริกา เควิน คาร์เตอร์ ผู้ถ่ายภาพ ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในภาพนี้ เควิน ได้ใช้เวลาไคร่ครวญอย่างมาก เขาใช้เวลาถึง 20 นาที กว่าจะถ่ายภาพได้ โดยไม่เข้าไปช่วยเด็ก
หลังจากเขาได้ถ่ายภาพนั้น 3 เดือน เค้าตัดสินใจที่จะจบชีวิตของเขาตามไป รู้ไหมครับว่าทำไม?
* ขยายความ:...ภาพ ต่อมาที่เขาถ่ายนั้นเป็นวินาทีชีวิตของเด็กน้อยผู้หิวโหยหมดแรงฟุบลงผู้ นั้น ที่ถูกนกแร้งจิกตีตายแล้วทึ้งกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย
โดยที่ เขาไม่ได้ขยับเข้าไปช่วยเหลือเลยแม้แต่น้อย ...รางวัลพูลิตเซอร์ที่แลกมาด้วยของชีวิตเด็กน้อย ทำให้เขาไม่สามารถอภัยให้ตัวเองได้เลย