เมื่อต้นปี 2008 ประตูอันแข็งแกร่งแน่นหนาของ
"อุโมงค์ นิรภัยเมล็ดพันธุ์พืชโลกสวาลบาร์"
หรือที่สื่อมวลชนตะวันตกขนานนาม ว่า
"อุโมงค์โลกาวินาศ" ก็ได้ฤกษ์เปิดรับและเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์พืช 3 ล้านเมล็ด
จากทั่ว โลกเป็นทางการ เพื่อเตรียมนำออกมาใช้เพาะปลูกใหม่อีกครั้ง
ถ้าโลกตก อยู่ในภาวะเลวร้ายอย่างที่สุดจากภัยสงครามนิวเคลียร์
เหตุดาว เคราะห์น้อยพุ่งชนโลก รวมทั้งมหันตภัยทางธรรมชาติอื่นๆ
ที่ไม่เคย คาดคิดมาก่อน !!
โครงการ "อุโมงค์นิรภัยเมล็ดพันธุ์พืชโลกสวาลบาร์"
อยู่ภายใต้การ ดูแลของกองทุนความหลากหลายของพันธุ์พืชโลก
มีนายแครี่ ฟาวเลอร์ เป็นผู้อำนวยการ และได้รับการสนับสนุน
ด้านงบประมาณก่อสร้างเพิ่ม เติมจากรัฐบาลนอร์เวย์ ประมาณ 210 ล้านบาท
เกาะสวาลบาร์ (Svalbard) ประเทศนอร์เวย์ สถานที่ตั้งอุโมงค์นิรภัยฯ นั้น
ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก ห่างจากขั้วโลกเหนือ 965 กิโลเมตร
สาเหตุที่ผู้เกี่ยวข้องกับ โครงการเลือกเกาะสวาลบาร์เป็นที่ก่อสร้างอุโมงค์
เพราะมี สภาพอากาศหนาวเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
เหมาะกับการเก็บรักษาสาย พันธุ์พืชที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์
ตัวอุโมงค์มีขนาด ความยาวราวครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอลมาตรฐาน
สร้างโดยการระเบิดและขุด เจาะลึกเข้าไปในภูเขา
ใกล้กับหมู่บ้านลองเยียร์บีเย่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร-ดูแลอุโมงค์
ช่วง 3 ปีแรก จะอยู่ที่ปีละ 7 ล้านบาท แล้วค่อยๆ ลดลงมา
เหลือ 3.5 ล้านบาทต่อปี
ล่าสุด ทางการหลายร้อยประเทศ กองทุน มูลนิธิ
และบริษัทขายเมล็ดพันธุ์พืช ต่าง จากทั่วโลก
ได้แสดงความจำนงบริจาคเงินสมทบทุนโครงการอุโมงค์ นิรภัยฯ
เข้ามาแล้ว 9,100 ล้านบาท
ที่มาที่สื่อขนานนามอุโมงค์ สวาลบาร์ ว่า "อุโมงค์โลกาวินาศ"
สืบเนื่องมาจาก แนวคิดเริ่มต้นของโครงการ โดยกองทุนความหลากหลาย
ของพันธุ์พืชโลก วิตกกังวลว่า ในอนาคตถ้าพันธุ์พืชสำคัญๆ ทั่วโลก
ถูกทำลายเพราะผลจาก ภัยสงคราม สงครามนิวเคลียร์ มหันตภัยธรรมชาติ
ครั้งใหญ่ เช่น น้ำท่วมโลกเพราะวิกฤตโลกร้อน
หรือถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน
ถึง วันนั้น ถ้าพลเมืองโลกรอดตายมาได้ก็อาจไม่มีพันธุ์พืชหลงเหลือพอสำหรับมาปลูก ผลิตเป็นอาหารยังชีพต่อไป ทางแก้ไขก็คือ ก่อสร้างอุโมงค์ที่มีความแข็งแกร่งขึ้น เพื่อใช้เป็น "คลัง" เก็บสายพันธุ์พืชที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาทิ พืชตระกูลถั่ว มัน ข้าว กล้วย ข้าวบาร์เลย์ มะพร้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด สตรอว์เบอร์รี่ ฯลฯ
หลักปฏิบัติของโครงการอุโมงค์โลกาวินาศ
ถูกกำกับ โดย "สนธิสัญญานานาชาติว่าด้วยทรัพยากรสายพันธุ์พืช
เพื่อการผลิต อาหารและการเกษตร" ซึ่งรัฐบาล 100 กว่าประเทศ
ทั่วโลกได้ร่วมลงนาม เป็นสมาชิกเอาไว้
ขั้นตอนการเก็บรักษาตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์พืชมีระเบียบเข้มงวด
โดยประเทศหรือฝ่ายผู้บริจาคจะ นำเมล็ดพันธุ์ของตนบรรจุ
ใส่ลงใน "ซอง" และเก็บเอาไว้ใน "กล่องดำ" ซึ่งผลิตจากพลาสติก
ผสมอีกชั้นหนึ่ง ก่อนนำส่งเจ้าหน้าที่กองทุนฯ หลังจากนั้น
กล่องจะถูกปิดผนึกและไม่มีการเปิดนำเอาตัวอย่างเมล็ด พันธุ์
ออกมากระทำการใดๆ เด็ดขาด
เมล็ด พันธุ์ในกล่องดำจะนำออกมาใช้ได้ต่อเมื่อเมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน
หมด สิ้นไปจากโลกใบนี้ หรือ ตกอยู่ในความเสี่ยงสูญพันธุ์
เพราะ วิกฤตการณ์ต่างๆ
ปัจจุบัน ทั่วโลกมี "ธนาคารเก็บรักษาพันธุกรรมเมล็ดพันธุ์พืช" ประมาณ 1,400 แห่ง เก็บรักษาสายพันธุ์พืช 1.5 ล้านสายพันธุ์ โดยธนาคารพันธุ์พืชขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และจีน
ส่วน ระดับองค์กรนานาชาติ มี "เครือข่ายสถาบันวิจัยการเกษตรนานาชาติ" (CGIAR) ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากธนาคารโลกกับสหประชาชาติ เป็นผู้ดูแล อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารจัดการและการรักษาความปลอดภัยของเมล็ดพันธุ์พืชของหน่วยงานเหล่า นี้ยังไม่เข้มข้นพอ
จึงมีแนวคิดจัดตั้งอุโมงค์นิรภัยสวา ลบาร์ขึ้นมาในที่สุด
"อุโมงค์นิรภัยเมล็ดพันธุ์พืชโลก สวาลบาร์ เปรียบได้กับนโยบายรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารและการเกษตรครั้งสำคัญ ของโลก.. ความสำเร็จของโครงการนี้จะช่วยให้เรามีรากฐานทางชีวภาพสำหรับการกสิกรรมต่อ ไป" ฟาวเลอร์ กล่าว
จุด A : ทางเข้า
ได้รับการติดตั้งกล้องเว็บแคมและระบบตรวจจับ แรงสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผู้บุกรุก นอกจากนี้ ที่ตั้งของประตูทางเข้ายังอยู่ตรงข้ามกับหอควบคุมการบินของสนามบินท้องถิ่น ทำให้เจ้าหน้าที่คอยสอดส่องอุโมงค์นิรภัยได้ง่ายขึ้น
จุด B : ตัวอุโมงค์
อุโมงค์ถูกเจาะฝังตัวลึกเข้าไปในภูเขา 400 ฟุต ผลิตจากคอนกรีตและเหล็กกล้า ทางเดินข้างในจะผ่านสำนักงานและห้องเก็บเครื่องมือและสิ่งของจำเป็นต่างๆ ตรงสิ้นสุดทางเดินจะชนกับประตูแอร์ล็อก คอยปิดกั้นอากาศจากภายนอก
จุด C : จุดเก็บเมล็ดพันธุ์พืช
เมล็ดพืชจะถูกเก็บอยู่ในกล่องชนิดพิเศษและวาง เรียงเป็นชั้นๆ ภายในห้องมีระบบระบายอากาศคอยควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 0 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ -17.7 องศาเซลเซียส ช่วยให้เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดมีอายุอยู่ยาวนานนับร้อยปี
จุด D : กล่องเก็บเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพืชจะบรรจุอยู่ในซองและเก็บไว้ในกล่อง พลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ซองแต่ละซองจะพิมพ์บาร์โค้ดตรงกับฐานข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรม สายพันธุ์ และรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับเมล็ดพืชนั้นๆ ช่วยให้นักวิชาการเรียกค้นข้อมูลมาดูสะดวกขึ้น
จุด E : ซองเก็บเมล็ดพันธุ์
ซองเก็บ เมล็ดพันธุ์ 1 ซอง บรรจุเมล็ดพันธุ์ 500 เมล็ด ซองเหล่านี้ผลิตจากวัสดุผสม เช่น พลาสติก, ฟอยล์, ไมลาร์ ช่วยปกป้องไม่ให้อากาศไหลออกจากถุง และป้องกันความชื้นไปในตัว