หาดูยาก... 'ใบพระราชทาน นามสกุล' จาก ร.๖...

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญของนามสกุล ซึ่งทรงมีพระราชดำรินี้ มาตั้งแต่ยังไม่ได้ทรงครองราชฯ ดังเช่นพระราชนิพนธ์ "ฉายาหรือชื่อแซ่" ในวารสารทวีปัญญา พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการมีนามสกุลในฝั่งยุโรป และความสำคัญของการใช้นามสกุล จนกระทั้งเมื่อทรงครองราชฯ แล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ กำหนดให้คนไทยทุกคนต้องมีชื่อตัวและนามสกุล และในการนี้ ได้พระราชทาน นามสกุล ให้แก่ ข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นชุดแรก เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ คือ

๑. สุุขุม

๒. มาลากุล

๓. พึ่งบุญ

๔. ณ มหาไชย และ

๕. ไกรฤกษ์

 

ต่อจากนั้นจึงได้ทรงพระกรุณา เป็นธุระพระราชทานนามสกุล แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และพสกนิกรที่ได้กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานจนนามสกุลสุดท้าย "ตันตริยานนท์" พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ ผู้ช่วยนายเวรกรมบาญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นลำดับทีึ่่ ๖,๔๓๗ สิริรวมแล้ว ระยะเวลาประมาณ ๑๒ ปีที่พระราชทานนามสกุล เฉลี่ยแล้ว ปีละกว่า ๕๓๖ นามสกุล ส่วนขั้นตอนของการขอพระราชทานนามสกุลนั้น เป็นดังนี้ (จากหนังสือ นามสกุล นานาสาระ : ชมรมคนรักวัง (โรงพยาบาบพระมงกุฏเกล้า)

 

๑. ผู้ขอพระราชทานนามสกุล ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา โดยระบุตำแหน่งหน้าที่และนามบรรพบุรุษของผู้ขอพระราชทาน

 

๒. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขนานนามนามสกุลพระราชทาน โดยทรงเขียนลำดับที่และนามสกุลที่พะรราชทานด้วยบายพระหัตถ์ในหนังสือกราบบังคมทูลพร้อมกับทรงจดทะเบียนนามสกุล และนามผู้ขอพรระาชทานในสมุดทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน

 

๓. ใบพระราชทาน ๓.๑ นามสกุลพระราชทาน ที่ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ มีจำนวน ๓๑ นามสกุล ๓.๒ ทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าพนักงานพระอาลักษณ์ เขียนบัตรพระราชทานนามสกุล แล้วทรงลงพระปรมาภิไธย ที่ด้านบนของบัตร

๔. พระราชทานลายพระหัตถเลขา หรือบัตรนามสกุลแก่ผู้ขอพระราชทาน และประกาศพระราชทานนามสกุลในราชกิจจานุเบกษา ผู้ได้รับพระราชทาน นามสกุล ก็นับได้ว่า เป็นมงคลสูงสุดประการหนึ่ง ใบพระราชทานนามสกุลจึงเป็นสมบัติล้ำค่าของครอบครัวนั้น ๆ .......

 

ใบพระราชทานนามสกุล ชุดนี้ รวบรวมโดย คุณ กรุ่ม สุระนันทน์ (ถึงแก่กรรม) นักสะสมหนังสือและเอกสารประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งของไทย บางนามสกุล เป็นฉบับจริง (เช่นนามสกุลของท่านเอง

 

- แต่ถ่ายเอกสารมาแปะเอาไว้) บางนามสกุล ตัดจากหนังสืองานศพ หลายนามสกุลมีเขียนคำบรรยาย เกี่ยวกับผู้ได้รับพระราชทาน หรือภาพของผู้ได้รับพระราชทานกับประวัติย่อ หรือเครือญาติด้วย เคยได้มีโอกาส เห็นใบพระราชทานนามสกุล อีกปึกหนึ่ง ที่คุณกรุ่ม สุระนันทน์ เก็บรวบรวมเพื่อเอาเข้าแฟ้มเดียวกันนี้ แต่เมื่อท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว เอกสารปึกนั้น ได้สาบสูญไป(เพราะเหมือนเศษกระดาษตัดไว้ สำหรับคนไม่รู้ค่า !!!!) จึงเหลือนามสกุลที่ท่านได้รวมเป็นแฟ้มนี้ และยังค้างคาอยู่ เพียงเท่าที่จะได้นำลงต่อไป เรื่อง ใบพระราชทานนามสกุลพระราชทาน เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ แง่มุมด้าน ศิลปะการเขียน และประวัติศาสตร์ ชนิดหนึ่ง ที่น่ารวบรวม........

 

ความน่าสนใจเช่น ในฉบับที่ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์เอง ก็อธิบายถึงมูลเหตุที่มาของชื่อนามสกุลนั้นๆ ไว้อย่างน่าศึกษา หรือถ้าเป็นบัตรพระราชทานนามสกุล ก็จะระบุชื่อบรรพบุรุษ หรือหน้าที่การงานของผู้ได้รับพระราชทาน พร้อมวันเดือนปี กับสถานที่ พระราชทาน ซึ่งมีความแตกต่างกันบ้าง (ลายมืออาลักษณ์ก็ต่างกัน สำนวนก็ต่างกัน) เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจ จึงขอนำการรวบรวมใบพระราชทานนามสกุล ที่คุณกรุ่ม สุระนันทน์ รวบรวมไว้ (เท่าที่เหลืออยู่) มาเผยแผร่ ให้ได้ศึกษากันต่อไป

"กุญชร ณ อยุธยา"

"กุญชร ณ อยุธยา"แผ่นที่สอง

"กุญชร ณ อยุธยา"แผ่นที่สาม

"จันทนะโพธิ"

"จันทรประภา"

"จันทรศร"

"ชัยปราณี"

"ชูโต"

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก >> reurnthai.com เครดิต: โพสโดย :JaAey..ja (ทีมงาน TeeNee.Com) ข่าวดาราบน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/70305.html
3 ก.ค. 58 เวลา 03:49 2,739 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...