ประวัติศาสตร์น่ารู้...พระปิ่นเกล้า The Second King

ประวัติศาสตร์น่ารู้...พระปิ่นเกล้า The Second King กษัตริย์ ที่หลายคนไม่รู้จัก เมื่อช่วงผลัดแผ่นดินจากรัชกาลที่ ๓ ล่วงเข้าสู่แผ่นดินใหม่ เป็นระยะเวลาที่น่าหวาดกลัวที่สุด บรรดาข้าราชการต่างเฝ้าระวังภัยอันตรายอันเกิดจากการเปลี่ยนแผ่นดิน มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เหตุการณ์จุกช่องล้อมวงยังคงมีอยู่เสมอมาในคราวผลัดแผ่นดิน รัลกาลที่ ๓ ทรงมิได้มอบพระราชสมบัติให้แก่กษัตริย์ใหม่ว่าเป็นผู้ใด หากแต่ทวนให้เหล่าเสนาบดีผู้ใหญ่คัดเลือกเฟ้นหา ผู้ที่มีความสามารถขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่า การเมืองสมัยนั้นก็ประกอบด้วยเจ้านายหลาย ๆ กลุ่ม ที่พยายามผลักดันกลุ่มเจ้านาย เพื่อขึ้นปกครองบ้านเมือง และเกิดมีเหตุการณ์วุ่นวายบ้างเล็กน้อยในการซ่องสุมกำลังคนตามจุดต่าง ๆ แต่ก็ผ่านพ้นมาด้วยดี และเมื่อยามผลัดแผ่นดินมาถึง

 

ย่ำค่ำของวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ มีการอัญเชิญเจ้าฟ้าใหญ่ (ยังทรงผนวชอยู่) และเจ้าฟ้าน้อย เข้าไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมด้วยเหล่าเสนาบดี พระสงฆ์ราชาคณะ พระบรมวงศานุวงศ์น้อยใหญ่ ข้าราชการฝ่ายทหาร เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว "พระยาพิพัฒน์โกษา" ได้กราบบังคมทูลเชิญ (มีข้อความยาวเหยียด) เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติพร้อมกันขึ้นสืบมหันตมหิศรราชวงศ์ ดำรงศิริราชสมบัติขัตติยราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าลำดับต่อไป และแล้วบ้านเมืองสยามก็บังเกิดพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงสยาม ขึ้น ๒ พระองค์ ในส่วนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในอีก ๑ เดือนถัดมาหากต้องการรู้ว่า "เหตุไฉนถึงมีการแต่งตั้งพระมหากษัตริย์เคียงคู่กัน ๒ พระองค์"

 

 

๑. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงไว้ในหนังสือ "นิทานโบราณคดี" เรื่อง "เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์" ซึ่งเคยสงสัยว่าแรกอ่านหนังสือพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ว่าเหตุใดรัชกาลที่ ๔ จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาเป็นพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์ จนเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ วันหนึ่งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ มาหา เวลานั้นท่านได้อายุ ๘๐ กว่าแล้ว แต่ความทรงจำยังแม่นยำ เมื่อสนทนากันจึงนึกถึงเรื่องที่ทูลถวายราชสมบัติทั้ง ๒ พระองค์ ถามท่านว่าทราบหรือไม่ เมื่อรัชกาลที่ ๓ เสด็จสรรคต

เหตุใดเจ้าพระยาสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (บิดาของท่าน เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังฯ) ซึ่งเป็นหัวหน้าในราชการ จึงแนะนำให้ถวายราชสมบัติให้กับทั้ง ๒ พระองค์ ไม่ถวายแก่พระองค์เดียวอย่างที่กระทำมาแต่ก่อน ท่านเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ ๓ ใกล้จะสวรรคต สมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปเฝ้ารัชกาลที่ ๔ ที่วัดบวรนิเวศ กราบทูลให้ทราบว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ขอให้ถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งท่านเรียกว่า "ท่านฟากข้างโน้น" ด้วย เพราะพระชะตาแรงนัก ตามตำราโหราศาสตร์ว่าผู้มีชะตาเช่นนั้นจะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าทรงรับราชสมบัติพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดบารมีของพระอนุชา ตัวท่านเอง (เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ) อายุได้ ๑๘ ปี นั่งไปหน้าเก๋งเรือบิดา เมื่อถึงพระราชวังเดิม เป็นเวลาที่พระปิ่นเกล้าฯ ประทับอยู่แพหน้าพระราชวังเดิม เสด็จออกมารับสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ที่แพลอย ตัวท่านอยู่ในเรือ ได้ยินสมเด็จเจ้าพระยาฯ เล่าถวายดังกล่าวมาจนทราบเรื่อง ตามแบบอย่างครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ จึงเชื่อได้ว่าเรื่องที่เป็นจริงอย่างเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ กล่าวดังนั้นการรับรู้เรื่องดวงพระชะตา เป็นการรับทราบข้อมูลในชั้นสมัยตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา

 

๒. การรับรู้เรื่องราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ในการครองราชย์ของกษัตริย์สยาม ๒ พระองค์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงเรื่องดวงพระชะตา ดูได้จาก "พระราชนิพนธ์ราชประเพณีตั้งมหาอุปราช" ในรัชกาลที่ ๕ กล่าวว่า "เจ้าฟ้าน้อยซึ่งเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมาก และเป็นพระอนุชาคู่ทุกข์คู่ยากด้วยกันมา ควรจะให้มียศใหญ่ยิ่งกว่าพระบรมราชวงศานุวงศ์และกรมพระราชบวรสถานมงคล ซึ่งรับพระบัณฑูรมาแต่ก่อน จึงพระราชทานพระบวรราชาภิเษกให้เป็นพระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร มหิศวเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระบวรราชโองการพิเศษกว่าวังหน้าทั้งปวงซึ่งมีแต่ก่อน"

 

๓. พระวันรัต (พทุธสิริทับ) วัดโสมนัสวิหารได้แสดงธรรมเทศนาในงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ได้กล่าวถึงเหตุที่รัชกาลที่ ๔ สถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงพระปรีชารอบรู้การในพระนครและต่างประเทศ และขนมธรรมเนียมต่าง ๆ และชำนาญในสรรพอาวุธในการณรงค์สงครามเป็นอันมาก และแคล่วคล่องจัดเจในการทรงพาหนะ มี คชสาร เป็นต้น อนึ่งเป็นที่นิยมนับถือของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยเป็นอันมาก ครั้นทรงพระราชดำริฉะนี้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งที่อุปราช ให้รับพระบวรราชโองการพระราชทานพระเกียรติยศยิ่งกว่ากรมพระราชวังบวร ทุก ๆ พระองค์" วิเคราะห์ถึงการณ์ที่สยาม มีพระเจ้าแผ่นดินถึง ๒ พระองค์

 

๑. เหตุการณ์ที่มีการปกครองของผู้นำประเทศ ๒ ตำแหน่งไม่เป็นที่แปลกแต่อย่างใด หากแต่แปลกในการเรียกชื่อ เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีตำแหน่งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ได้ครองตำแหน่ง ๔ ปี และ ๘ ปี ดังนั้นความรู้เรื่องราวของชาวยุโรป ก็คงผ่านสายพระเนตรของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ระหว่างที่ทรงผนวช โดยผ่านทางบรรดาเหล่ามิชชันนารี พระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกา พ.ศ. ๒๔๐๓ "....แลซึ่งในแผ่นดินยุไนติศเตศอเมริกามีขนมธรรมเนียมตั้งไว้และสืบมาแต่ครั้งปริไสเดนย์ยอดว์อชิงทัน ให้ราษฎรทั้งแผ่นดินพร้อมใจกันเลือนสันบุคคลี่ควรจัดไส้เป็นชั้นแล้วตั้งให้เป็นปริไสเดนต์ใหญ่ และ ปริไสเดนต์รอง ครองแผ่นดินชี้ขาดว่าราชการบ้านเมืองเป็นวาระเป็นคราวกำหนดเพียง ๔ ปีและ ๘ ปี แลให้ธรรมเนียมนี้ยั่งยืนอยู่ได้ไม่มีการขัดขวางแก่งแย่งกันด้วย ผู้นั้น ๆ จะช่วงชิงอิศริยยศกันเป็นใหญ่ในแผ่นดินดังเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นอยู่เนือง ๆ นันได้ ก็เห็นว่าเป็นการอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นขนบธรรมเนียมที่ควรจะสรรเสริญอยู่แล้ว..."

 

๒. เรื่องการเมือง เหนือกว่า เรื่องโหราศาตร์ แต่ใช้เรื่องโหราศาสตร์ มาตอบโจทย์เรื่องการเมือง หากจะดูในด้านความสามารถของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นั้นโดนเด่นกว่ามาก จึงต้องแต่งตั้งให้ได้รับตำแหน่งสูงสุด โดยคงที่จะให้มีการบวรราชาภิเกษให้มีพระอิสสริยยศเทียบเท่าพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งเลย และยังเป็นการที่จะตัดปัญหาเรื่องการแย่งชิงราชสมบัติได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากรัชกาลที่ ๔ ทรงอยู่ในร่มกาสาวภักตร์นานถึง ๒๗ ปี มีความรู้ด้านการภาษา ก็มาอยู่ หากแต่ด้านการทหารคงไม่เท่ากับพระอนุชา อีกทั้งพระอิสสริยยศ เป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกัน มีความสนิทกว่าเจ้านายอื่น ๆ ด้วยกัน

และในขณะที่มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษก รัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่การตั้งครั้งดังกล่าวเป็นสิทธิอันชอบแล้วที่จะยกประเด็นเรื่องโหราศาตร์ มาตอบโจทย์ให้เป็นการอ้างอย่างแยบยลกว่าการอ้างเรื่องความสามารถอันโดดเด่นด้านการทหารเนื่องจากเรื่องการทหาร การปกครองอาจจะมีการโต้แย้งถึงเรื่องต่าง ๆ ได้ หากหยิบยกเรื่องพระชะตาต้องเสริมต่อกันนั้น คงยากจะมีผู้ใดโต้แย้งได้ ๓. "พี่เณรจะเอาสมบัตติหรือไม่เอา ถ้าเอาก็รีบสึกไปเถอะ ถ้าไม่เอาหม่อมฉันจะได้เอา" ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ได้เสด็จไปเฝ้าพระเชษฐาที่วัดบวรนิเวศ แล้วกราบทูลว่า "พี่เณรจะเอาสมบัติหรือไม่เอา ถ้าเอาก็รีบสึกไปเถอะ ถ้าไม่เอาหม่อมฉันจะได้เอา" อันทำให้รัชกาลที่ ๔ (พระวชิรญาณ) ทรงตอบรับการขึ้นครองราชย์กับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติทั้ง ๒ พระองค์

 

 

- ถ้าจะมองเรื่องการถ่วงดุลย์อำนาจในราชสำนักด้วยกันเอง ก็เป็นไปได้ว่า ฝ่ายการทหาร (โดยพระปิ่นเกล้าฯ) มีกำลังเข้มแข็งกว่ามาก สามารถถ่วงอำนานกับเหล่าข้าราชการที่รายรอบได้ (แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ พระปิ่นเกล้าฯ ทรงใช้ฐานะกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ น้อยมาก ส่วนมากจะทรงมีพระราชดำริร่วมกันในการปกครองบ้านเมือง)

- ถ้าจะมองเรื่อง "เป็นใหญ่ได้อีก" ก็มีโอกาสได้ เนื่องจากในขณะนั้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีพระราชโอรส ที่ประสุติจากอัครมเหสี ทำให้ตำแหน่งวังหน้าได้สืบทอดราชสมบัติต่อไปหากหมดรัชสมัยของพระองค์ก็เป็นไปได้

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระปิ่นเกล้า) เมื่อครั้งวัยหนุ่ม reurnthai

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/70270.html
2 ก.ค. 58 เวลา 03:58 2,386 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...