ภาพถ่ายสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ คุณจะเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นหรือไม่ ลองเปิดไปดู 20 ภาพถ่ายเก่าๆ ในอดีตของดินแดนสยาม สมัยช่วงก่อน และหลังปี 2475 พร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ ไปดูกันสิว่า ประเทศไทยของเรามีสถาปัตยกรรม และวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปน้อย หรือมากเพียงใดเมื่อเทียบกับในยุคปัจจุบัน
ท่องอดีตสยาม กับ 20 ภาพเก่าๆ
บอกเล่าวิถีชีวิตคนไทยช่วงก่อนและหลังปี 2475
ภาพถ่าย ปี 2502 สระว่ายน้ำที่ราชกรีฑาสโมสร แถวอังดีดรูนังค์ ตรงข้ามคือคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ปี 2518 ภาพหาบเร่ขายน้ำแถวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งแก้วน้ำสมัยนั้นใช้แก้วกระดาษเคลือบเทียน ขายแก้วละ 1 บาท มีทั้งน้ำอัดลม น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมไปจนถึงลอดช่องสิงคโปร์ก็มีขาย
ปี 2513 อัฒจรรย์สำหรับผู้ชมในสนามมวยลุมพินี ซึ่งที่นั่งในภาพนั้นทำด้วยไม้ และต้องนั่งดูกลางแจ้ง ไม่ได้มีหลังคาเหมือนในปัจจุบัน
ในภาพนี้คือ วังไม้ หรือ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทเนรนทร ซึ่งแต่ก่อนนั้นอยู่ตรงข้ามกับวัดเทพศิรินทร์ ด้านหลังติดกับวัดพลับพลาชัย ปัจจุบันเป็นอาคารพาณิชย์
ภาพนี้น่าจะเป็นแถวๆ คลองสาทร
ตลาดน้ำวัดไทร ในปี 2503
ภาพถ่ายในปี 2530 ทางด่วนเฉลิมมหานครตรงบริเวณทางแยกคลองเตย
ภาพในปี 2532 บริเวณอู่รถเมล์หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาพถ่ายในปี 2513 นี้พิสูจน์ให้เห็นได้ว่า 'ไก่เคเอฟซี' นั้นเข้ามาในบ้านเรานานแล้ว ตั้งแต่ยังเรียกกันว่า 'ไก่เคนตากี้' ในสมัยนั้นมีแต่บริการให้ซื้อกลับไปกินที่บ้าน ราคาก็เป็นหลักหน่วย ถึงหลักสิบ ภายหลังเปิดเต็มรูปแบบที่เซ็นทรัลลาดพร้าวในปี 2527
ภาพถ่ายในปี 2503 คาดว่าตอนนั้นอากาศก็คงร้อน เด็กๆ จึงมาเล่นกันมากมาย
ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นแถวสระน้ำสวนลุมพินี
ตึกสถานฑูตรัสเซียเก่า ตรงข้ามตึกเอ็มไพร์ ซึ่งตอนนี้ได้เป็นที่ตั้งของโรงแรม W Bangkok
ปี 2513 สภาพการจราจรแถวประตูน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณสะพานข้ามแยกประตูน้ำ
เป็นสะพานข้ามแยกแห่งแรกของไทย รถทรงโบราณเต็มเลย น่ารักมากอยากได้สักคัน
ภาพเมื่อพ.ศ. 2408 ฉายโดยช่างภาพชาวสกอต ชื่อ จอห์น ทอมสัน ซึ่งได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นภาพที่หาดูได้ยาก
ภาพเมื่อประมาณปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงล่องเรือเล่นดนตรี บริเวณทุ่งนา
รังสิต คลอง ๓ คราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสบ้านนาของ ราชสกุลสนิทวงศ์
ภาพถ่าย ประมาณปี 2453 -2463 (ค.ศ. 1910-1920 ) เป็นบันไดทางขึ้น ดอยสุเทพ
ถ่ายภาพโดยทหารอเมริกันที่เคยมาอยู่ในค่ายทหารที่โคราช ในช่วงปลายสงครามเวียตนาม ปลายทศวรรษที่ 1960 ต่อต้นศตวรรษที่ 1970 ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลไทยยินยอมให้ทหารอเมริกัน
มาตั้งฐานทัพที่อู่ตะเภาและตาคลี
ภาพถ่ายกลุ่มผู้หญิงชาวบ้านทางภาคเหนือ กำลังตำข้าว และฝัดข้าวกัน
ซึ่งในปัจจุบันนี้แทบไม่มีให้เห็นกันแล้ว
ภาพในปี พ.ศ. 2468 เป็นภาพถ่ายขบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพชาวบ้านกำลังนั่งล้อมวงเล่นไพ่ ดูได้จากผู้ชายคนขวาสุด ที่ทำท่ากำลังดูไพ่ในมือ
ภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวบ้านกำลังตักบาตรให้พระสงฆ์ สังเกตอิริยาบถของทั้งพระสงฆ์ที่ย่อตัวลงต่ำ และชายที่ตักบาตรก็แต่งตัวเรียบร้อย มีการแต่งกายแบบห่มเฉวียงบ่า ซึ่งถือเป็นการห่มแบบแสดงคารวะ
ขอบคุณสาระดีๆ และรูปภาพจากเพจเฟซบุ๊ก :
ประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนและหลัง 2475, สถาปัตยกรรมสยามในอดีต