การออกล็อตเตอรี่เริ่มมีในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2417 ตรงกับต้นสมัย ร.5 หรือเมื่อ 129 ปีมาแล้ว นับจนถึงปีนี้ 2546 ประวัติสรุปจากข้อเขียนของ เฮนรี อาลาบาสเตอร์ (ต้นตระกูลเศวตศิลา เป็นชาวอังกฤษที่มารับราชการไทย เป็นผู้สอนวิชาแผนที่ วิชาโทรเลข ตัดถนน ให้แก่คนไทย ดูแลการจัดมิวเซียม และสวนสราญรมย์) ในหนังสือดรุโณวาท เล่ม 1 พ.ศ. 2417 หน้า 307-309 ได้ความว่า ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ร.5 ปีนั้น (ทรงพระราชสมภพวันอังคารที่ 20 กันยายน 2396 จึงมีงานช่วงใกล้วันที่ 20 กันยายน) ฝ่ายทหารมหาดเล็กจะทำอะไรใหม่ๆ นอกเหนือจากการจุดโคมที่ปฏิบัติกันซ้ำๆ เรื่อยมา เห็นว่าควรทำอะไรที่ใช้ปัญญามากขึ้นบ้าง
ในที่สุดได้ตกลงกันว่าจะจัด "โรงมุเซียม" (Museum - พิพิธภัณฑ์) แสดงของต่างๆ ระหว่างจัดพ่อค้าฝรั่งได้นำสิ่งของมาตั้งประดับหลายสิ่ง แต่เมื่อยกไปยกมาหลายทีก็แตกหักไปบ้าง นับเป็นเรื่องน่าเห็นใจ เมื่อจัดงานเสร็จแล้ว ฝ่ายทหารมหาดเล็กมีความเห็นใจพ่อค้าฝรั่ง จึงคิดเปิดทางให้พ่อค้าฝรั่งขายของโดยให้ทำในรูปออก "ลอตตารี ตามธรรมเนียมยุโรป" ให้คนซื้อตั๋วหรือสลากเสี่ยงโชคเพื่อรับสิ่งของ หรือรับเงินเป็นรางวัล การออกสลากยังคงมีมาเรื่อยๆ กระทั่งถึง พ.ศ. 2482 จึงมีการจัดตั้ง "สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล" เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง สลากกินแบ่งของไทยสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา มีการใส่รูปประกอบเข้าไปในตัวสลากหลายต่อหลายชุด เช่น ชุดปลา (2522) ชุดรามเกียรติ์ (2524) ชุดสัตว์หิมพานต์ (2526) ชุดท่ารำต่างๆ (2527) ชุดโบราณวัตถุ ของใช้พื้นบ้าน ท่าฤาษีดัดตนและเบ็ดเตล็ด(2532 การออกล็อตเตอรี่เริ่มมีในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2417 ตรงกับต้นสมัย ร.5 หรือเมื่อ 129 ปีมาแล้ว นับจนถึงปีนี้ 2546
ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/5814