เรียบเรียงโดย Clipmass.com
ด้วยความที่ประเทศไทยมีสภาพที่ร้อนตลอดปี ดังนั้น "น้ำแข็ง" จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่คนไทส่วนใหญ่ใช้บริโภคและอุปโภคกันเป็นจำนวนมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วนั้น "น้ำแข็ง" ที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้มันไม่ได้สะอาดได้มาตรฐานอย่างที่เราคิดกันหรอก...
ซึ่งมีการสุ่มตรวจการปนเปื้อนในอาหารออกมาและพบว่า "มีน้ำแข็งบริโภคปนเปื้อนจุลินทรีย์มากกว่า 64.5 % เลยทีเดียว" โดยน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอด มักมีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น โคลีฟอร์ม อีโคไล ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาจากสิ่งปฏิกูล ส่วนใหญ่ปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง และจากการขนส่ง....
โดยน้ำแข็งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. น้ำแข็งซอง ซึ่งเป็นการนำน้ำแข็งก้อนใหญ่นำมาทำให้เล็กลงโดยการใส่เครื่องบดให้กลายเป็นน้ำแข็งเกล็ด หรือน้ำแข็งป่น เพื่อไปจำหน่ายต่อไว้ใช้ในการแช่ของสด แช่น้ำขวด นำไปใส่แก้วให้ลูกค้า ทำน้ำแข็งใส ใส่ขนมหวาน (ซึ่งเป็นน้ำแข็งที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคมากที่สุด)
2. น้ำแข็งหลอดสำเร็จรูป เป็นน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ที่บรรจุใส่ถุงพลาสติกวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต
ซึ่งน้ำแข็งทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างก็มีขั้นตอนการผลิตและการขนส่งที่สกปรกและไม่ได้มาตรฐานจากโรงงานที่ไม่น่าเชื่อถือ ทำให้น้ำแข็งอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
โดยใน "ขั้นตอนการผลิต" นั้นอาจจะใช้แหล่งน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ทั้งเครื่องตัดก้อนน้ำแข็งก็ใช้ใบมีดเป็นสนิม รวมถึงในการยก ตัก โกย และบรรจุน้ำแข็งลงถุงนั้น คนงานตามโรงน้ำแข็งส่วนใหญ่มักจะไม่สวมเครื่องแบบมิดชิด บางคนไม่ใส่เสื้อ ใส่เพียงกางเกงขาสั้นและสวมแค่รองเท้าบูทยางเท่านั้น
นอกจากนี้ "ขั้นตอนการขนส่ง" นั้นมักจะนำน้ำแข็งใส่รถบรรทุกคลุมด้วยผ้าใบ มีลูกจ้างนั่งทับมา บางคนขึ้นเหยียบน้ำแข็งโดยไม่สนใจ พอถึงร้านก็ใส่ถุงมือเก่าๆ แบกน้ำแข็งไปส่ง หรืออาจจะลากกระสอบไปตามพื้น....
ดังนั้นก่อนจะกินน้ำแข็งควรเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่สะอาด และได้มาตรฐาน ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงได้เลยทีเดียว
ข้อมูลและภาพประกอบจาก