ภาพสะเทือนใจ

เรื่องราวที่มีเบื้องหลังของภาพคือ
ความโหดร้ายที่มนุษย์มีต่อกันในอดีต
ตั้งแต่การใช้อาวุธ การดูถูกเหยียดหยาม
อุบัติเหตุจากโรงงานที่มีสาเหตุมาจากคน
รวมทั้งภัยพิบัติธรรมชาิติที่สร้างหายนะ
ให้กับชีวิตทรัพย์สินผู้คน

แต่ในบางภาพยังมีเบื้องหลังคือ
มุมหนึ่งของความเมตตา/ความเอื้ออารี
ที่มนุษย์พึงมีให้ต่อกันในระดับหนึ่งของการอยู่ร่วมกัน

A Protesting Buddhist Monk, 1963
พระภิกษุเผาร่างตนเอง 2506



ภาพโดย  Malcolm Browne. ได้รับรางวัล  Pulitzer

ในบางช่วงขณะคนภายนอกจะรู้สึกเสียใจ/เศร้าสลดมากกว่า
ภาพนี้สะเทือนใจคนทั้งโลก
เพราะเหตุผลหนึ่งเดียวเท่านั้น คือ
การประท้วงรัฐบาลเวียตนามใต้
พระภิกษุศาสนาพุทธจุดไฟเผาตนเอง
ท่านมรณภาพอย่างสงบ
ไม่มีอาการทุรนทุราย
หรือร้อนรนหนีจากไฟที่ลุกไหม้

หมายเหตุ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2506 พระภิกษุ Thich Quang Duc ทิจ กวาง ดึ๊ก
เจ้าอาวาสวัดเทียนมู่  ได้จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม
ที่นับถือศาสนาคริสต์อย่างบ้าคลั่ง แล้วการกดขี่ข่มเหงเข่นฆ่าพระสงฆ์ แม่ชี ชาวพุทธ
ทำลายล้างวัดวาอาราม  และพุทธศาสนา
หลังพิธีฌาปนกิจศพแล้ว  หัวใจของท่านไม่ไหม้ไฟ  ยังเก็บรักษาไว้เป็นที่เคารพสักการะ

ภาพ/เรื่องจาก http://goo.gl/hsQehz

An Iraqi War Prisoner, 2003
เชลยศึกสงครามอิรัค 2547



ภาพโดย Jean-Marc Bouju/AP

นักโทษอิรัคพยายามปลอบโยนบุตรชายวัยสี่ขวบ
เด็กน้อยหวาดกลัวที่เห็นพ่อถูกคลุมหัวและถูกใส่กุญแจมือ
นายทหารในกองทัพจึงยอมทำตามคำร้องของเขา
ยอมไขกุญแจมือนักโทษเพื่อให้เขาโอบกอดปลอบลูกชายได้

Bhopal Disaster, 1984
ภัยพิบัติเมืองโภปาล 2527



ภาพโดย  Raghu Rai, 1984

หนึ่งในอุบัติเหตุที่เลวร้ายที่สุด
การรั่วไหลของแก๊สที่เมืองโภปาล
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดียปี 2527
ทำให้คนนับพันเสียชีวิต
ในภาพพ่อที่กำลังฝังศพลูกน้อย



การประท้วง ภาพจาก http://goo.gl/jyGPpS

หมายเหตุ โศกนาฏกรรมที่โภปาล เมืองหลวงรัฐมัธยประเทศ อินเดีย
เป็นอุบัติเหตุจากโรงงานผลิตยาฆ่าแมลง บริษัท ยูเนียนคาร์ไบด์
เกิดขึ้นกลางดึกวันที่ 2 ธันวาคม 2527
ถังบรรจุก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ และสารพิษอื่น ๆ เกิดการรั่วไหล
ส่งผลกระทบกับประชาชนมากกว่า 500,000 คน

หน่วยงานท้องถิ่นรัฐมัธยประเทศได้ยืนยันจำนวนผู้ตายเบื้องต้น 2,259 คน
และผู้ตายที่เกี่ยวเนื่องกับการรั่วไหลของก๊าซ 3,787 คน
ในขณะที่หน่วยงานอื่นรัฐบาลอินเดียประมาณจำนวนผู้ตาย 15,000 คน
มีผู้ตายประมาณ 8,000 คนในสัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุ

ในเดือนมิถุนายน 2553 หลังเกิดเหตุแล้วถึง 24 ปี
ศาลอินเดียได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานยูเนียนคาร์ไบด์เจ็ดคน
รวมทั้งนายวอร์เรน แอนเดอร์สัน อดีตประธานบริษัท
มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต
ตัดสินให้ลงโทษจำคุกคนละสองปี พร้อมปรับคนละประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐ
ตามบทลงโทษขั้นสูงสุดตามกฎหมายอินเดีย
แต่จำเลยทั้งแปดตายก่อนมีคำพิพากษา

สรุปย่อจากที่มา http://goo.gl/BFUKdS



Union Carbide CEO Warren Anderson
ภาพจาก http://goo.gl/NcltGi


Dorothy’s First Day, 1957
วันแรกในโรงเรียนของโดโรธี 2500


ภาพโดย  Douglas Martin, World Press Photo of the Year, 1957

การเหยียดสีผิวจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนมัธยมศึกษาปลาย
ทำให้โดโรธีต้องลาออกเลยในวันแรกของการเข้าเรียน
หมายเหตุ ในสหรัฐอเมริกาสมัยก่อนยังมีการเหยียดสีผิว

Earthquake in Turkey, 1983
แผ่นดินไหวในตุรกี 2526



ภาพโดย  Mustafa Bozdemir, World Press Photo of the Year, 1983

แม่ร่ำไห้กับศพลูกเธอทั้ง 5 คน

Napalm Accident, 1972
ระเบิดเพลิง 2515



ภาพโดย Associated Press photographer, Nick Ut ไดัรับรางวัล Pulitzer

เรือบินทิ้งระเบิดเวียตนามใต้
ได้ทิ้งระเบิดเพลิงใส่ทหาร/ชาวบ้านของตนเอง
สร้างความเสียหาย/ภัยพิบัติในพื้นที่อย่างร้ายแรง



ภาพจาก http://goo.gl/Xzq8VM

Photo of Omarya Sanchez, 1985
โอมาย่า ซานเช่ 2528



ภาพโดย  French Reporter, Frank Fournier

Omarya Sanchez วัย 13 ขวบติดอยู่ในโคลนที่บ้านตนเอง
เธอเพิ่งจะเข้านอนไม่นานนักก่อนที่ภูเขาไฟ Nevado Ruiz
จะระเบิดในปี 2527 ก่อให้เกิดภัยพิบัติตามมาในภายหลัง


The Baby’s Hand, 1999
มือทารกน้อย 2542



ภาพโดย  Michael Clancey

มือเด็กที่คลอดแบบปกติไม่ได้
ภายใต้อุ้งมือหมอที่ประสบความสำเร็จ
ในการผ่าตัดทำคลอดเด็ก

The Fall from the Window, 1975
ตกจากหน้าต่าง 2518



ภาพโดย Stanley Forman

แม่กับลูกพยายามหนีไฟไหม้
ด้วยการกระโดดลงมาด้านล่าง
เด็กน้อยรอดตายเพียงคนเดียว
โดยหล่นทับลงบนศพแม่ตนเอง

Vulture Waiting for the Malnutritioned Child to Die, 1994
อีแร้งรอกินศพเด็กที่อดอยากใกล้ตาย 2537



ภาพจาก Google.com

หนึ่งในภาพที่สะเทือนใจชาวโลก
และก่อให้เกิดการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
เกี่ยวกับนิยามมนุษยธรรม/จริยธรรมที่พึงมีของช่างภาพ
ช่างภาพรายนี้ฆ่าตัวตายในภายหลัง
แม้ว่าจะได้รับรางวัลจากภาพนี้

หมายเหตุ ในวันที่ 11 มีนาคม 2536 Kevin Carter
ได้ร่วมเดินทางไปที่ซูดานกับกองทัพสหประชาชาติ (UN)
เพื่อแจกจ่ายอาหารให้ชาวซูดาน
ขณะที่กำลังถ่ายภาพชาวบ้านที่อดอยากหิวโหย
ที่มุ่งหน้ามารับอาหารที่ศูนย์แจกจ่ายอาหาร
มีอีแร้งบินร่อนลงในพื้นที่ใกล้เคียง
ช่างภาพรายนี้บอกแต่เพียงว่า
มันเป็นหน้าที่ที่ต้องถ่ายภาพนี้
ถ่ายภาพแล้วต้องเดินจากไป

ภาพนี้ได้ขายให้ New York Times มีการตีพิมพ์เผยแพร่วันที่ 26 มีนาคม 2536
แล้วแพร่กระจายไปตามสื่อต่าง ๆ ทั่วโลก  ผู้คนนับหลายร้อยคนได้ติดต่อสอบถาม
New York Times ถึงชะตากรรมเด็กน้อยรายนี้
แต่ New York Times ระบุว่า  ไม่ทราบว่า
เด็กคนนี้เดินไปถึงศูนย์แจกจ่ายอาหารหรือไม่

แต่ João Silva  ช่างภาพหนังสือพิมพ์โปรตุเกส
ที่ปักหลักอยู่ในอัฟริกาใต้
ได้ร่วมเดินทางกับ Carter ไปยังซูดาน
ให้สัมภาษณ์อีกแง่มุมหนึ่งกับนักเขียน/ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น
Akio Fujiwara ที่ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า  Fujiwara
โดยมีภาพหน้าปกเป็นเด็กชายคนนี้

โดย Silva ได้เล่าว่า เรื่องราวทั้งหมดนี้เิกิดขึ้น
ในช่วงเดินทางไปซูดานร่วมกับกองกำลังบรรเทาทุกข์ UN
ขณะที่เรือบินจอดแถบตอนใต้ของซูดาน
ในวันที่ 11 มีนาคม 2536 เจ้าหน้าที่ UN
บอกว่าเรือบินจะขึ้นบินอีกในสามสิบนาทีข้างหน้า
(เวลาที่จำกัด/เพียงพอกับการแจกจ่ายอาหาร)
ดังนั้นพวกเขาจึงวิ่งไปรอบ ๆ เพื่อถ่ายภาพ
ขณะที่เจ้าหน้าที่ UN แจกจ่ายข้าวโพด
พวกผู้หญิงในค่ายผู้อพยพลี้ภัยต่างออกมาจากโรงเรือนไม้ชั่วคราวมายังเรือบิน
Silva ได้วิ่งไปถ่ายภาพพวกนักรบกองโจร
ขณะที่ Carter อยู่ไม่ไกลจากเรือบินเพียงสิบสองฟุตเล็กน้อย

Silva เล่าว่า Carter รู้สึกตกใจมากในครั้งแรกที่เห็นภาพการอดอยาก/ขาดอาหาร
และได้ถ่ายภาพเด็กที่อดอยาก/ขาดอาหารจำนวนมาก
Silva ก็ถ่ายภาพเด็ก ๆ ตามพื้นดินที่กำลังร้องไห้  แต่ภาพไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่
ขณะที่พ่อแม่เด็ก ๆ ต่างยุ่งอยู่กับการไปรับแจกอาหารจากเรือบิน
จึงต้องทอดทิ้งเด็ก ๆ ไว้เป็นการชั่วคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ

ภาพเด็กขายคนนี้จึงถูกถ่ายโดย Carter
ขณะที่อีแร้งยืนอยู่ด้านหลังเด็กชายคนนี้
ในการจับภาพทั้งคู่นี้
Carter ต้องระมัดระวังไม่ให้อีแร้งตื่นตกใจแล้วบินหนีไป
ภาพนี้ถ่ายในระยะห่างประมาณ 10 เมตร
และถ่ายอีก 2-3 ภาพก่อนไล่อีแร้งไปให้พ้น

ในเวลานั้นมีช่างภาพสเปน 2 รายที่อยู่ในบริเวณนั้น คือ
José María Luis Arenzana กับ Luis Davilla แต่ไม่รู้จักกับ Kevin Carter  
พวกเขาต่างถ่ายภาพในบริเวณเดียวกัน
เรื่องนี้มีการเล่าหลายครั้งแล้วว่า
ที่ศูนย์แจกจ่ายอาหาร จะมีเหล่าอีแร้งชุมนุมกันที่บริเวณหลุมขยะ
พวกเราเดินทางจาก Pepe Arenzana ถึง Ayod
ที่เป็นศูนย์แจกจ่ายอาหารให้ชาวบ้านเดินทางมารับ
พื้นที่ปลายสุดชุมชนจะเป็นที่ทิ้งขยะ/ส้วมชาวบ้าน

ขณะที่เด็ก ๆ ต่างอ่อนแออดอยาก/ขาดอาหาร
ต่างเดินไปข้างหน้าทำให้เกิดภาพว่าพวกเขากำลังจะตาย
ในภาพจะเห็นว่ามีอีแร้งรอคอยเหยื่ออยู่ใกล้กับเด็ก
แต่ถ้าสังเกตให้ดีแล้วระยะห่างของเด็กชายกับอีแร้ง
มุมกล้องทำให้เกิดภาพลวงตา
เพราะทั้งคู่อยู่ห่างกันประมาณ 20 เมตร

วันที่ 27 กรกฏาคม 2537 Kevin Carter
ได้ขับรถยนต์ไปที่ Braamfonte
ใกล้กับ the Field and Study Centre
สถานที่ชื่นชอบตอนวัยเด็ก
แล้วจัดการพันเทปรอบท่อยาง
ที่แยงเข้าไปในท่อไอเสียรถยนต์กะบะ
แล้วจ่อท่อยางเข้ามาในหน้าต่างรถยนต์ด้านคนขับ
พร้อมกับเดินเครื่องยนต์เป็นการฆ่าตัวตาย
ด้วยพิษก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
จบชีวิตในวัย  33 ปี  นี่คือจดหมายลาตายบางตอน

" ผมมีความสุขโดยไม่จำต้องมี ...โทรศัพท์ ... เงินค่าเช่า ...
เงินช่วยเหลือเด็ก... เงินจ่ายหนี้สิน ... เงิน!!!..
ผมถูกหลอกหลอนไปกับความทรงจำที่ไม่ลบเลือน
เรื่องการฆ่าคนและศพ  ความโกรธแค้นและความเจ็บปวด
... การอดอยาก/ขาดอาหารหรือเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ
จากการกระทำของพวกคนบ้าที่มีความสุข(พวกซาดิสท์)
บ่อยครั้งที่เป็นตำรวจ/เพชรฆาตนักฆ่า
ถ้าผมโชคดี ผมคงจะได้ไปอยู่ร่วมกับ Ken

(เพื่อนร่วมกลุ่ม Bang Bang Club
เสียชีิวิตเพราะถูกกระสุนปืนของกองกำลังอีกฝ่าย
ในวันที่ 18 เมษายน 2537
และเป็นชื่อฆาตกรคนแรกของโลกในคัมภีร์ไบเบิ้ล)

สรุปย่อเรียบเรียงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Kevin_Carter



ที่มาของภาพ http://www.thebangbangclub.com/photographers.html

Bang Bang Club เป็นชื่อกลุ่มช่างภาพกบฏ(นอกกฎเกณฑ์/ธรรมเนียมปฏิบัติของช่าวภาพทั่วไป)
ที่รวมกลุ่มกันสี่คนออกไปถ่ายภาพสงครามกลางเมืองในแอฟริกาใต้ระหว่างปี 2533-2537
ในช่วงการเปลี่ยนผ่านระบบการเมืองการปกครองที่แบ่งแยกสีผิว (เหยียดสีผิว)
เพื่อเตรียมการไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลบนพื้นฐานความเป็นสากลโลก
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะมีเหตุการณ์สู้รบ/ความรุนแรง/การก่อการร้าย
ที่เกิดขึ้นกันเองระหว่างกลุ่มคนผิวดำกับกลุ่มคนผิวดำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการหนุนหลังของกลุ่มพรรคการเมือง
ANC (African National Congress) กับ IFP (Inkatha Freedom Party)
หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศอนุญาติให้ทำกิจกรรมการเมืองของทั้งสองกลุ่ม

Kevin Carter, Greg Marinovich, Ken Oosterbroek กับ João Silva เป็นชื่อทั้งสี่คนของกลุ่ม
แม้ว่าจะมีช่างภาพหรือช่างภาพหนังสือพิมพ์อีกหลายคนทำงานร่วมกันก็ตามแต่ (เช่น James Nachtwey กับ Gary Bernard)
ในภาพยนตร์จะนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มนี้  กำกับโดย  Steven Silver
และนำแสดงโดย  Taylor Kitsch, Ryan Phillippe  กับ  Malin Åkerman
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ที่ the Toronto International Film Festival ในปี 2553

ชื่อ Bang Bang Club ได้แจ้งเกิดในบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารชีวิตแอฟริกาใต้ South African magazine Living
เดิมทีใช้ชื่อกลุ่ม Bang Bang Paparazzi แต่ได้เปลี่ยนไปเป็น  Club เพราะสมาชิกรู้สึกว่า
คำว่า Paparazzi ปาปารัสซี่ (แอบถ่ายภาพ/ซุ่มถ่ายภาพโดยเจ้าของภาพไม่ยินยอม)
บิดเบือนการทำงานที่แท้จริงของพวกเขา ชื่อนี้ได้มาจากการทำมาหาเลี้ยงชีพช่างภาพกลุ่มนี้
ขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัยในเขตเมือง/ผู้ลี้ภัยมักพูดกับช่างภาพที่เกี่ยวด้วยคำว่า Bang Bang ปัง ปัง
เวลาพูดคุยอ้างอิงถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในชุมชน/พื้นที่สู้รบของพวกเขา
ตัวอักษร bang bang  จึงหมายถึง เสียงปืน
และเป็นคำพูดธรรมดา ๆ ที่ใช้กันในกลุ่มช่างภาพเวลาพูดถึงความขัดแย้ง

วันที่ 18 เมษายน 2537 ในระหว่างการสู้กันระหว่างกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ
กับพรรคสภาแห่งชาติแอฟริกัน  ในเขตการปกครอง Thokoza
กระสุนปืนได้สาดใส่ Ken Oosterbroek ถึงแก่ความตาย
ส่วน Greg Marinovich ได้รับบาดเจ็บสาหัส
การพิจารณาคดีการตายของ Ken Oosterbroek เริ่มขึ้นในปี 2538 ผู้พิพากษาตัดสินว่า
ตายโดยไม่ทราบว่าเป็นกระสุนของฝ่ายใด (ไม่มีใครควรได้รับการตำหนิ/หรือตัดสินว่าผิด)
แต่ในปี 2542  Brian Mkhize  คนของกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ
ได้บอกกับ Greg Marinovich กับ  Silva ว่า เขาเชื่อว่า
กระสุนมาจากฝ่ายของตนในการยิงถูก Ken Oosterbroek

ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 Kevin Carter ฆ่าตัวตาย

ที่ 23 ตุลาคม 2553 Silva เหยียบกับระเบิด
ขณะถ่ายภาพช่วงลาดตระเวนร่วมกับทหารสหรัฐ
ใน คันธาระ (กันดาฮาร์) ของอัฟกานิสถาน
และสูญเสียขาทั้งสอง(บริเวณข้างใต้เข่า)
เป็นการบาดเจ็บครั้งที่สองของเขาในสมรภูมิสู้รบ
การบาดเจ็บครั้งแรกของเขา  ถูกยิงด้วยกระสุนที่ใบหน้า

ช่างภาพสองรายในกลุ่ม Bang Bang Club ได้รับรางวัลภาพถ่าย Pulitzer
Greg Marinovich ชนะจากภาพถ่ายข่าวกีฬา (the Pulitzer for Spot News Photography)
ในปี 2534 จากข่าวการฆาตกรรม  Lindsaye Tshabalala ในปี 2534
Kevin Carter ชนะจากภาพถ่ายสารคดี (the Pulitzer for Featured Photography)
ในปี 2537 จากภาพอีแร้งปรากฎตัวอยู่ด้านหลังเด็กที่อดอยากหิวโหยเขตตอนใต้ซูดาน

 

 



เรียบเรียงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Bang-Bang_Club
ข้อมูล ณ 24 สิงหาคม 2556

เรียงเรียงจาก

http://goo.gl/9LmniO
http://en.wikipedia.org/
http://www.longdo.com/
http://google.com

ผิดพลาดขออภัย/โปรดชี้แนะ จะกลับมาแก้ไข ขอบคุณครับ

Credit: http://www.oknation.net/blog/ravio/2013/08/22/entry-1
24 มิ.ย. 58 เวลา 12:15 3,812 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...