ป้อมมาซาดา (Masada)
ปีคริสต์ศักราช 73 เป็น ยุคที่โรมันเรืองอำนาจ กอง ทัพอันเกรียงไกรของโรมันสามารถครอบครองอาณาจักรชนชาติอื่นเป็นพื้นที่กว้าง ใหญ่ไพศาล ชาวยิวก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่ต้องสยบภายใต้คมดาบของจักรพรรดิโรมัน
แต่ เมื่อชาวยิวถูกบีบคั่นจากทหารโรมันจนสุดทน ชาวยิวเริ่มลุกฮือขึ้นก่อการกบฏ เข่นฆ่าทหารโรมันล้มตายเหลือคณา กองทัพโรมันจึงเคลื่อนพลมาปราบปรามฝ่ายกบฏด้วยความแค้น นักรบยิวปักหลักสู้อย่างถวายชีวิตตามที่มั่นต่างๆ แต่ไม่สามารถสู้ทหารโรมันผู้เจนศึกได้ ชาวยิวที่รอดพ้นจากการถูกสังหารต้องถอยแตกซ่านไม่มีผู้อยู่ กระทั้งเหลือชาวยิวกลุ่มหนึ่งประมาณพันกว่าคนยึดป้อมโบราณบนยอดเขามาซาดา เป็นที่มั่นสุดท้าย
ป้อม ปราการบนยอดเขามาซาดาเป็นป้อมที่มั่งคงและแข็งแกร่งที่สุด ตั้งอยู่บนยอดเขา มีเนื้อที่ถึง 23 เอเคอร์ ผู้สร้างป้อมแห่งนี้ คือพระเจ้าอีร็อค (ก่อนพระ เยซูจะประสูติ) วังและที่อยู่ของข้าราชบริพารจะเจาะเข้าไปในหน้าผา มีพื้นที่เก็บกักหน้าได้ถึงเก้าล้านแกลลอน สามารถมีน้ำใช้ได้ตลอดแม้ศัตรูจะปิดล้อมป้อมก็ตาม
กอง ทหารโรมันกรมที่ 10 ภายใต้การนำของ แม่ทัพฟลาวีอุส เข้าล้อมเขามาซาดาไว้ และส่งทหารขึ้นไปโจมตีป้องนี้หลายครั้ง แต่ถูกนักรบยิวโต้กลับทุกครั้งโดยอาศัยภูมิประเทศ แม้ทหารโรมันกรมที่ 10 จะ เป็นกองเข้มแข็งที่สุด แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้
ฟลา วีอุสจึงบัญชาสร้างกำแพงล้อมรอบภูเขาเพื่อไม่ให้ยิวที่อยู่บนป้อมหลบหนีออก จากวงล้อมได้ จุดประสงค์ของ แม่ทัพโรมันต้องการปลิดชีพยิวทุกคนบนป้อมไม่ให้เหลือ ไม่ว่าจะเป็นนักรบ ผู้หญิง และเด็ก
หลัง จากสร้างกำแพงล้อมปิดทางหนีเสร็จแล้ว ฟลาวีอุสได้สำรวจช่องเขาและส่งทหารไปโจมตีป้อมที่มั่นให้แหลกยับให้ได้จนมอง เห็นผาสูงด้านรทิสตะวันตกที่ยื่นออกมา จึงระดมกำลังทหารสร้างหอสูงถึง 90 ฟุต ตรงยอดหอคอยให้สร้างสะพานขนาดใหญ่พาดไปยังหน้าผาเพื่อที่จะให้เป็นทางส่ง ทหารบุกเข้าไปพิชิตกำแพงป้อม
แม้ จะสร้างสะพานใช้เป็นทางส่งทหารข้ามไปโจมตีป้อมที่มั่นได้แล้ว แต่ฟลาวีอุสก็ยังไม่สั่งให้โจมตี หากปิดล้อมเอาไว้ทุกด้านด้วยเจตนาให้พวกยิวในป้อมขาดแคลนเสบียงอาหารจนถึง ที่สุด จนแทบพยุงร่างไม่ไหวจึงจะบุกไปฆ่าอย่างง่ายดาย
กอง ทัพโรมันล้อมชาวยิวในป้อมบนยอดเขามาซาดานานถึงปีเศษ แต่พวกยิวก็สามารถปลักหลักอยู่ได้เพราะสะสมเสบียงอาหารอย่างมากมาย แต่หลังจากเห็นทหารโรมันสร้างสะพานเชื่อมต่อกับหน้าผา นักรบยิวเริ่มตระหนักดีว่าทหารโรมันตั้งใจฆ่าพวกตนไม่ให้เหลือแม้แต่คนเดียว
อี เลซาร์ เบน ยาลีร์ ผู้นำกลุ่มนักรบชาวยิว จึงเรียกประชุมคนในป้อมทั้งหมดแล้วประกาศถ้อยคำอันเด็ดเดี่ยวว่า
“บัด นี้ ถึงเวลาที่พวกเราจะถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด จะถูกใช้งานอย่างทาส ถูกกดขี่บังคับและได้รับทัณฑ์ทรมานต่างๆ นาๆ จนกว่าตายในที่สุด พวกเราคือผู้ประการตนเป็นอิสระต่ออำนาจทรราชของพวกโรมัน เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่จะตายจงตายอย่างคนมีอิสรเสรีเถิด ตายท่ามกลางลูกเมียและญาติของเรา ตายพร้อมกับเพื่อนนักรบทุกคน อย่าให้ทหารโรมันมีโอกาสภาคภูมิใจที่ได้ชัยชนะเหนือเรา อย่าให้มันเหลือความหยิ่งทะนงอย่างเด็ดขาด เมื่อมันยึดป้อมได้แล้วมันจะได้แต่ศพเราทุกคนที่ประกาศถึงความกล้าหาญและ ความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราจงมาตายพร้อมกันเถิด”
ชาว ยิวทุกคนในป้อมมาซาดาตกลงยินดีฆ่าตัวตายดีกว่าที่จะตกเป็นทาสของพวกโรมัน เริ่มจากผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องฆ่าลูกเมียตายหมดก่อนที่จะฆ่าตัวเองตาย ตาม ส่วนคนที่เหลือคัดเลือกออกมาสิบคนทำการฆ่านักรบคนอื่นๆ จนหมดและในจำนวนสิบคนสุดท้ายได้กำหนดให้คนหนึ่งคนฆ่าอีกเก้าคนแล้วคนสุดท้าย ก็ฆ่าตัวตาย
ก่อน ลงมือประหัตประหารพวกเดียวกัน ชาวยิวได้เผาอาคารทั้งหมดในป้อมไม่เว้นแม้แต่ยุ้งฉางที่เก็บเสบียงเพื่อให้ ทหารโรมันรู้ว่านี้ไม่ใช้การฆ่าตัวตายเพราะความอดอยากหรือหมดทางเลือก หากแต่ยอมตายโดยไม่ยอมแพ้ ยอมตายเพราะไม่ยอมอยู่อย่างผู้แพ้
เมื่อ ทหารโรมันเห็นเปลวไฟลุกไหม้ อาคารภายในป้อมบนยอดเขามาซาดา ซี่งนักรบยิวจุดไฟเผาก่อนฆ่าคนในครอบครัวและฆ่าตัวตายหมดทุกคน(ประมาณพันกว่าคน) แม่ทัพฟลาวีอุสจึงสั่งให้ทหารบุกเข้าในป้อม ซึ่งทหารโรมันก็พบกับสภาพที่คิดไม่ถึง เมื่อพบศพชาวยิวชายหญิงและเด็กๆ นอนตายเกลื่อนไม่มีนักรบยิวเหลือแม้แต่สักคนเดียว ฟลาวีอุสเข้าใจเลยทันทีเลยว่าพวกเขาพร้อมใจกันตายดีกว่าอยู่อย่างผู้แพ้
มีผู้รอด ชีวิต 2 คนเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง และเด็กคนหนึ่งซึ่งบาดเจ็บสาหัสให้ เป็นผู้เล่าเรื่องเมื่อทหารโรมันที่บุกเข้ามาได้รับฟัง
ทหาร โรมันทั้งหมดไม่เกิดความรู้สึกยินดีที่เห็นศัตรูตายหมดแม้แต่น้อย อาวุธของพวกเขาไม่มีโอกาสปลิดชีพใครแม้แต่คนเดียว ฟลาวีอุสและทหารโรมันพร้อมใจกันถอดหมวกแสดงความเคารพในความกล้าหาญและเด็ด เดี่ยวของชาวยิว....ที่ยอมตายดีกว่าอยู่อย่างผู้แพ้
จน กระทั้งเวลาล่วงมาเกือบ 200 ปี นักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งจึงเปิดฉากค้นหาและค้นคว้าหลักฐานต่างๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของเหตุการณ์ครั้งนั้น จากการค้นค้นพบคลังเสบียงที่ไม่ไหม้ไฟ พบเหรียญสำริดกองหนึ่งที่ผุกร่อนที่ใช้แทนบัตรแลกเสบียง พบแผ่นบันทึกเรื่องราวทั้งหมด 14 ม้วน และเสื้อเกราะนักรบและเหยือกกองอยู่สิบกว่าใบแต่ละใบสลักชื่อเจ้าของและอีก เหยือกหนึ่งจารึกชื่อ อีเลซาร์ เบน ยาลีร์ ผู้บัญชาการป้อมไว้ด้วย
ทุกวันนี้ป้อมมาซาดาถูกขึ้นเป็น มรดกโลกของประเทศอิสราเอลใน ปี ค.ศ.1972 และถูกทางการอิสราเอลรักษาไว้เป็นอย่างดีในบานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทหารเกณฑ์ทุกคนจะต้องเข้าประจำการและต้องสาบานตนที่เทือกเขามาซาดานี้ว่า
“มาซาดาจะไม่มีวันพ่าย แพ้ต่อไป”
จากนิตยสารแปลก 1618
ก่อนจบ
มาซาดาเป็นป้อมปราการโบราณในกลางทะเลทรายยูเดียที่แห้งแล้งบนยอดเขาสูงเหนือ ทะเลสาบ DEAD SEA ใช้ เวลาสร้างถึง 7 ปี(ก่อน ค.ศ.31-37) โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยของเฮรอดมหาราชเพื่อควบคุมเส้นทางการติดต่อกันในราช อาณาจักร ตามประวัติบอกว่ากษัตริย์องค์นี้สืบทอดเชื้อสายมาจากคนเอโดม พระคัมภีร์ปฐมกาลบอกว่า เอโดมคือเอซาวซึ่งเป็นพี่ชายของยาโคบ ผู้เป็นบรรพบุรุษนั้นเอง
มาซา ดาได้รับการสร้างอย่างสวยงามและมั่นคงบนยอดเขาสูง เพื่อเป็นพระราชวังฤดูหนาวของเฮรอด มีโรงอาบน้ำที่มีส่วนอบซาวน่า , แช่ น้ำร้อน , อาบน้ำเย็นที่ต้องทึ่งกับวิธีการออกแบบของสถาปนิก โบราณ ...ทาง เดินน้ำรอบเขาที่พึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ และการออกแบบที่ชาญฉลาดที่สุด โบสถไบเซนทีนที่ปูพื้นด้วยกระเบื้องโมเสคที่หลงเหลือหลักฐานจากเมื่อนับ พันปีให้เราได้ชมในวันี้ยังงดงามอ่อนช้อยเสียจนถ่ายรูปอย่างไรก็เก็บเสน่ห์ ของบรรยากาศ ณ ที่นั้นไม่ได้อยู่ดี ... และสถานประชุมนมัสการของชาวยิว (Synagogoue ) ที่เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของสถานนมัสการในยุคต่อมา