เรียบเรียงโดย Clipmass.com
คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนว่า...องค์การ NASA มีสถานีวิจัยใต้ทะเลชื่อว่า "NASA Extreme Environment Mission Operations" หรือ "NEEMO" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการฝึกนักบินอวกาศให้อยู่ในสภาวะอวกาศโดยที่ไม่ต้องเดินทางออกไปนอกโลก เนื่องจากใต้น้ำมีสภาพอากาศคล้ายกับอวกาศมากที่สุดนั่นเอง
โดยสถานีวิจัยนี้เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2001 ตั้งอยู่ห่างจากรัฐฟลอริด้าประมาณ 6 กิโลเมตร และอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า 62 ฟุต (ประมาณ 19 เมตร) เลยทีเดียว
นี่คือส่วนอาคารหลักของสถานีวิจัยชื่อ Aquarius
ซึ่งภายในจะมีพื้นที่มากพอสำหรับนักบินอวกาศ 7 คน และจะใช้เวลาในการฝึกแต่ละครั้งไม่เกิน 3 สัปดาห์ และนี่คือภาพของผู้ฝึก NEEMO รุ่น 10 ที่เข้ามาอยู่ในสถานีระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2006
โดยในการดำน้ำจะเป็นการฝึกดำน้ำแบบ Saturation diving หรือดำลงไปแล้วปรับลดความดันน้อยครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคน้ำหนีบ หรือโรคเมาความกดอากาศ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้
และแม้ว่าสภาพภายนอกอาคารจะดูเก่าและเต็มไปด้วยสาหร่าย แต่ภายในอาคารกลับดูสะอาดตามากเลยทีเดียว
โดยสถานีวิจัยนี้มีสภาพคล้ายกับสภาวะในอวกาศ ดังนั้นการลงไปอยู่ที่สถานีนี้จึงมีสภาพคล้ายกับดวงจันทร์ เพราะมีแรงโน้มถ่วงต่ำกว่าพื้นโลก
ดังนั้นถังออกซิเจนจึงเป็นเสมือนอวัยวะหนึ่งของร่างกายนักบินที่ลงไปใช้ชีวิตในสถานีนี้
นี่คือสภาพเตียงนอนซึ่งคับแคบมากเลยทีเดียว
นักบินกำลังฝึกเดินขึ้นทางลาด
ประตูทางเข้า - ออกในอาคาร
นี่คือการฝึกเดินโดยวางสมอไปด้วย เพื่อรับมือกับการไปสำรวจดาวที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำมาก
นอกจากฝึกมนุษย์แล้ว NASA ยังทำการฝึกความแข็งแรงและมั่นคงของ Scuttle ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่จะไปสำรวจอวกาศ
วิธีการปรับน้ำหนักในสถานีคือ การยึดน้ำหนักกับชุดดำน้ำ ถ้ายิ่งหนักมากก็เหมือนกับสภาพแรงโน้มถ่วงยิ่งมากตาม
นักบินอวกาศกำลังทดสอบการใช้พลั่ว เพราะการเดินทางไปสำรวจดาวต่างๆ จะต้องทำการขุดหาทรัพยากรด้วย
นี่คือการฝึกสภาพความคล่องตัวของนักบินอวกาศ
การฝึกทดลองขึ้นยานอวกาศเพื่อกลับสู่โลก
นอกจากนี้พื้นที่บริเวณรอบๆ สถานียังเป็นพื้นที่ศึกษาอนุักษ์ระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกของมหาวิทยาลัย Florida International University อีกด้วย
และนอกจากนักบินอวกาศจะต้องฝึกการใช้ชีวิตในอวกาศแล้ว ยังต้องฝึกการรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้เสมออีกด้วย เนื่องจากในปี 2011 ได้เกิดพายุเฮอร์ริเคน Rina ขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อการฝึกมากทำให้การฝึกของรุ่นที่ 15 ต้องจบก่อนกำหนด
โดยตั้งแต่เปิดสถานีวิจัยมามีนักบินอวกาศทั้งหมด 19 รุ่นที่มาฝึกใช้ชีวิตที่นี่ และไม่ได้มีเฉพาะนักบินอวกาศเท่านั้น แต่มีทั้งวิศวกร และนักชีววิทยาทางทะเลจากทั่วโลกอีกด้วย
ข้อมูลและภาพประกอบจาก