เห็ดพารวย....ง่ายๆกับวิธีการเพาะเห็ดฟางในตระกล้าพลาสติก

 เห็ดฟางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มของผู้บริโภค และเกษตรกรเอง เพราะราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันราคาเห็ดฟางอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60-80 บาท
 
วันนี้ ใครที่ต้องการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดฟางขาย เรามีเรื่องราว และเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาฝาก
 
วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพื่อศึกษาแล้วต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขาย เพราะการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติกช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งยังสามารถเก็บผลิตได้ง่าย ทำประมาณแค่ภายในหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว
 
เทคนิควิธีการเพาะเห็ดฟาง ที่น่าสนใจ
 
วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก
 
1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง
 
2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น
 
3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง
 
วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง
 
-ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
-หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
-ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
-อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
-โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
-ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
-ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง
 
การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า
 
-สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
-ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
-รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
-คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
-ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
-ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
-อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้
 
 
การเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย โดย ชมรมเกษตรอินทรีย์ธรรมศาสตร์ 
 
 
1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด
 
 
2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า
 
 
3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ
 
 
4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1
 
 
5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า 
 
 
6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง
 
 
7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย
 
8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น
 
 
 
9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า
 
 
การดูแลตะกร้าเพาะเห็ดภายในโรงเรือน และการให้ผลผลิต
 
1.ในช่วง 1-4 วัน (ฤดูร้อนและฝน) ส่วนฤดูหนาว ช่วง 1-7 หรือ 8 วัน แรก ต้องควบคุม อุณหภูมิ ภายในกระโจมหรือโรงเรือน ให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
 
* ติดเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือนหรือกระโจม ระดับสูงจากพื้นดินประมาณของความสูงของโรงเรือนหรือกระโจม เพื่อตรวจดูอุณหภูมิให้ได้ระดับที่กำหนดไว้เสมอ
 
* หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนหรือใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบกระโจมเพื่อลดอุณหภูมิ
 
*หากอุณหภูมิต่ำกว่ากำหนดต้องปิดช่องระบายอากาศให้มิดชิด หรือใช้หลอดไฟ 100 วัตต์วางไว้ในโรงเรือนเพาะเห็ด ห่างจากตะกร้า ประมาณ 1 คืบ หรือ 10 นิ้ว เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเกิดความร้อนเกินไป ในกรณี นี้ต้องยกตะกร้าเพาะเห็ด ให้สูงขึ้นโดยวางตะกร้า เพาะไว้บนชั้นโครงเหล็กจะสะดวกต่อการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ภายในกระโจม หรือโรงเรือน ให้อยู่ในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปโดยใช้ ไฮโดยมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือน ระดับเดียวกันกับเทอร์โมมิเตอร์
 
2.เมื่อถึงวันที่ 4 ในฤดูร้อนและฝน หรือวัน ที่ 5 ในฤดูหนาว ให้เปิดพลาสติกคลุมหรือปิดประตูโรงเรือน อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศให้ใยเห็ดสร้างจุดกำเนิดดอกถ้าวัสดุเพาะแห้งเกินไปให้รดน้ำตามสมควร ปกติรดน้ำเพียงเล็กน้อยจะเป็นการตัดเส้นใยเชื้อเห็ดซึ่งการตัดเชื้อใยเห็ดนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างดอกเห็ดได้ โดยอาจใช้น้ำตาลกลูโคส 1 ช้อนกาแฟ ละลายกับน้ำ 1 ลิตร รดน้ำให้วัสดุเพาะ ด้วยก็ได้ ถ้าไม่แห้ง ก็ไม่ต้องรด หลังจากเปิดประตูเพื่อถ่ายเทอากาศแล้วต้องปิดพลาสติกหรือประตูไว้เช่นเดิม
 
3.ระหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุม อุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส โดยในช่วง 6-7 วัน จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆจำนวนมากมาย ช่วงนี้ห้ามเปิดพลาสติกหรือโรงเรือนบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้
 
4.การเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อน หรือ 12-15 วันในฤดูหนาว
 
 
(ขอบคุณข้อมูลจาก www.tu.ac.th)

 

Credit: http://www.siam55.com/news26124.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...