ความแตกต่างระหว่างการทำนาในอดีตกับปัจจุบัน

การทำนา

 

อดีต

 

จุดเด่น -แรงงานจากควายและคนไม่สิ้นเปลืองมาก -มีความสามัคคีสูงในกลุ่มเกษตรกร -ชีวิตไม่ดิ้นรนมากเกินเหตุ มีเวลาว่างมาก จุดด้อย - แรงงานคนและควายทำงานได้ช้า -เกษตรกรขาดความภาคภูมิใจในอาชีพของตน -เกษตรกรขาดความรู้ ไม่มีความมั่นใจในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพตน

โอกาส -พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง -ฝนตกตามฤดูกาลคาดการณ์ได้ -เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านสูง อุปสรรค์ -มีการสนับสนุนจากภาครัฐน้อย -ดินมีความเค็มสูง -เกษตรกรถูกมองว่าเป็นคนชั้นต่ำ ปัจจุบัน

 

จุดเด่น -แรงงานจากเครื่องจักรทำงานได้เร็ว -สารเคมีที่ใช้ในการทำนาให้ผลต่อข้าวเร็ว -มีแหล่งน้ำที่ขุดลอกเพื่อเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จุดด้อย -มีการลงทุนสูง ไม่คุ้มค่าลงทุนในการทำนา -ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และมีสารพิษสูง -ดินมีความเค็มสูง -ที่ดินทำกินถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของนายทุน -ไม่มีความภาพภูมิใจในอาชีพตน -เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพ -มีอัตราการย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินต่างถิ่นสูง -วิถีชีวิตมีการดิ้นรนสูงขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น

 

โอกาส -ได้รับความรู้จากภาครัฐเพิ่มขึ้น -การคมนาคมสะดวกขึ้น อุปสรรค์ -ฝนไม่ตกตามฤดูกาล คาดการได้ยาก -รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย -แหล่งเงินทุนนอกระบบมีอัตราดอกเบี้ยสูง -มีนายทุนผู้มีที่ดินส่วนจำนวนมาก เข้ามาอาศัยเป็นประชากรแฝงที่ไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมใดๆ ของหมู่บ้าน -เกษตรกรถูกมองว่าเป็นคนชั้นต่ำ สรุป การทำนาของเกษตรกรบ้านหัวถนนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังเป็นอาชีพที่เกษตรกรยังไม่ภาคภูมิใจในอาชีพของตนเอง การทำนายังทำกันแบบขาดการพัฒนาความรู้ การให้การสนับสนุนจากภาครัฐไม่ต่อเนื่องและไม่แสดงผลชัดเจนทำให้เกษตรกรเกิดความรู้สึกขาดที่พึ่ง ยิ่งเงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพทำนาสูงขึ้น และต้องใช้จำนวนมากขึ้น ผลผลิตที่ได้ไม่เคยพอเพียงกับรายจ่าย ทำให้เกษตรกรเบื่อหน่ายต่อการทำนา ที่ยังทำกันอยู่ส่วนใหญ่เพราะไม่มีอาชีพอื่น เทคโนโลยีใหม่ที่เกษตรกรใช้ในการทำนา แม้จะทำให้เกษตรได้รับความสะดวกมากขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น รายได้ที่ได้สูงขึ้นก็เป็นเพียงแค่จำนวนเงินมากขึ้น แต่ข้าวของก็ราคาสูงขึ้นไปตามรายได้

 

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากอยู่อย่างพอเพียงในอดีตกลายเป็นดิ้นรน เอาเงินเป็นมาตรฐานในการตัดสินความเจริญของแต่ละคนทำให้เกิดการขาดความสามัคคีในหมู่บ้าน มีการคอรัปชั่นตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับผู้บริหาร ประชาชนในหมู่บ้านแบ่งเป็นพรรคพวกไม่ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน คนที่ด้อยโอกาศส่วนใหญ่จะไม่ขวนขวายกลับเป็นคนติดเหล้า เป็นคนเกียจคร้าน แม้คนที่เคยมีโอกาสก็หลงไปกับการพัฒนาที่รวดเร็ว ต้องการมีรถมอเตอร์ไซต์ มีรถปิ๊คอัพโดยไม่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพรองรับ จึงขายทีดินทำกินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้แล้วบริหารไม่ได้กลายเป็นหนี้สิน หมดที่ทำกิน

 

 

 

 

Credit: http://board.postjung.com/884261.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...