คุณอาจเคยได้ยินเรื่องราวของ Oskar Schindler ที่เป็นคนต้นเรื่องของภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง “Schindler’s List,” ที่เขาสามารถช่วยชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถึง 1,200 คน แต่น้อยคนนักคงได้ยินเรื่องของฮีโร่อีกคนที่เขาสามารถช่วยชาวจีนจากการถูกคร่าชีวิตได้ถึง 6,000 คนเลยทีเดียว
ชายคนนี้ชื่อ “Chiune Sugihara”
Wikimedia Commons
ในตอนนั้น เป็นปี 1939 สงครามโลกครั้งที่สองกำลังเริ่มต้นขึ้น เยอรมนี บุกยึดเช็กโกสโลวาเกีย และบุกโปแลนด์ ผู้อพยพชาวยิวจากโปแลนด์ แผ่กระสานซ่านเซ็น ออกไปยังประเทศต่างๆ รอบด้าน ในเวลานั้น 1/3 ของประชาชนในเมืองใหญ่ของ Lithuania เป็นชาวยิว
ซึ่งในปี 1940 นั้น นาย Sugihara เป็นรองกงสุลญี่ปุ่นประจำประเทศ Lithuania คนหลายร้อยคน เดินทางมาที่ออฟฟิศของเขา กราบกราน อ้อนวอนขอวีซ่า เพื่อเป็นใบเบิกทางให้พวกเขา หนีตาย หนีการทรมานจาก นาซี หนีประเทศที่กำลังจะระเบิดเป็นสงครามไปพำนักยังประเทศญี่ปุ่น
และเขาก็รู้วิธีที่จะช่วยคนพวกนี้ได้อย่างไร ก็วีซ่านั่นเอง
เขารู้ว่ากฏระเบียบในการออกวีซ่านั้นเข้มงวดมาก และเจ้านายของเขาที่เดินทางกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว สั่งกำชับว่าให้เขาปฏบัติตามกฏระเบียบการออกวีซ่าอย่างเคร่งครัด ห้ามผ่อนปรนเด็ดขาด แต่เขารู้อยู่เต็มอกว่า หากทำตามกฏจริงๆ คงไม่มีใครรอดตายไปที่ญี่ปุ่นได้แน่ๆ เพราะคงไม่มีใครวีซ่าผ่านในเวลาเช่นนี้
หนทางในการช่วยคนของเขายากขึ้นไปอีก เพราะสถานทูตญี่ปุ่นถูกสั่งปิด แต่เขาก็พยายามขออนุญาตไปทางกระทรวงการต่างประเทศที่ญี่ปุ่น เพื่อขอแค่ได้ออกวีซ่าให้คนเหล่านี้ ซึ่งเขาใช้ความพยายามในการขออนุญาตถึง 3 ครั้ง ก็ไม่เป็นผล ทางกระทรวงสั่งห้าม
แต่หลังจากที่เขาได้ปรึกษากับครอบครัวแล้ว เขารู้ว่านี่คือสิ่งที่เขาต้องทำ และเพิกเฉยไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และกฏที่ออกไว้ ตัดสินใจออกวีซ่าให้คนที่ร้องขอความช่วยเหลือเหล่านั้น และนี่คือคำพูดของเขา
“คนในโตเกียวไม่สามัคคีกัน มันรู้สึกเหนื่อยที่จะคุยกับพวกเขา ผมรู้ว่า สิ่งที่ผมทำจะมีคนไม่เห็นด้วยในอนาคต แต่ผมรู้สึกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้องที่จะทำ มันไม่มีความผิดเลย ในการช่วยคน ช่วยชีวิตคน” ตัดตอนจากหนังสือ “Hitler, Stalin and the Destruction of Poland: Explaining History” เขียนโดย Nick Shepley
ดังนั้น สิ่งที่เขาทำคือ การออกวีซ่าด้วยการเขียนมัน “ด้วยมือ”
Wikimedia Commons
เล่มแล้วเล่มเล่า ที่เขาลงมือเขียนมันด้วยมือ จากร้อยเล่ม เป็นพันเล่ม จากพันเล่ม เป็นหลายพันเล่ม ที่เขาช่วยคนเหล่านี้ให้เดินทางหนีตายไปยังประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าการเดินทางมันจะไม่ง่ายอย่างนั้น คนพวกนั้นต้องเดินทาง ผ่านไปทาง Curaçao และ Dutch Guiana ซึ่งตอนนี้คือ Suriname และต้องผ่านไปทาง Soviet Union กว่าจะถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนสิงหาคม ที่เขานั่งเขียนวีซ่า จนกว่าสถานกงสุลจะถูกปิดในเดือนกันยายนอย่างเป็นทางการ เขาไม่สนใจกฏระเบียบใดๆ ทั้งสิ้น ตราบเท่าที่เขาสามารถช่วยชาวยิวเหล่านั้นได้
45 ปีให้หลัง มีคนถามเขาว่า ทำไมเขาถึงตัดสินใจทำเช่นนั้น เขาให้เหตุผลมา 2 ข้อ ข้อแรก “พวกเขาเป็นมนุษย์ พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ” และข้อสอง “ผมดีใจมาก ที่มองย้อนไปตอนนั้น ผมมีความแข็งแกร่งมากพอ ที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่ผมทำลงไป”
อย่างไรก็ตาม เขาตัดสินใจไม่ทำงานข้องเกี่ยวกับรัฐบาล หลังสงครามสิ้นสุดลง
เขาตัดสินใจทำงานล่าม งานแปล เป็นเซลส์แมนขายหลอดไฟตามบ้าน เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และจบลงด้วยการบริหารบริษัทส่งออกในช่วง 20 ปีสุดท้ายของชีวิตของเขา
ชายคนนี้คือคนที่ทำงานด้วยจิตใจที่ยิ่งใหญ่จริงๆ หากคุณต้องการชมที่ระลึกเรื่องราวเกี่ยวกับเขา ที่ Little Tokyo ที่ L.A. มีรูปปั้นของเขานั่งอยู่บนม้านั่ง ถือวีซ่าอยู่
Joseph Brent
ซึ่งมีคำพูดของ Talmud ที่ถูกสลักไว้เคียงข้างรูปปั้นของเขา มันเขียนว่า
“He who saves one life, saves the entire world.”
“เขาผู้ช่วยหนึ่งชีวิต ได้ช่วยทั้งโลกไว้แล้ว”
และถึงแม้ยังไม่มีใครนำเรื่องราวของเขามาทำเป็นภาพยนตร์ แต่เรื่องราวของเขามันน่าทึ่ง และน่าเคารพจริงๆ…