10 แฟชั่นการแต่งตัวญี่ปุ่นที่ประหลาดไม่เหมือนใครบนโลกใบนี้

    พูด ถึงแฟชั่นญี่ปุ่นเราก็ต้องนึกถึงกิโมโน ยูกาตะ หรือไม่ก็ชุดนักเรียนหญิงทหารเรือ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าญี่ปุ่นยังมีแฟชั่นอีกมากมายที่โลกต้องตึกตะลึง ในความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าและการแสดงออกของวัยหนุ่มสาว ในความแปลกเหล่านั้น แม้แฟชั่นหลายอย่างจะได้รับความนิยมในสังคมย่อยๆ แต่กระนั้นบางชนิดก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้น และนี้คือ 10 อันดับที่ว่านั้น

(ปล.ไม่รู้ทำไมผมเขียนบทความนี้แล้วเกิดความคิดว่าอยากจับคนแต่งตัวแบบนี้ส่งโรงพยาบาลบ้า)

 

 10.Decora

 

เด คอร่า เป็นรูปแบบการแต่งตัวที่แปลกประหลาดเต็มไปด้วยอุปกรณ์ของจุกจิ๊กเต็มตัวที่ พบเห็นทั่วไปในท้องถนนฮาราจูกุ ย่านชื่อดังของประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มนิยมในปี 1997  ต่อมาช่างภาพชื่ออากิโอ อาโออิ ได้ฝ่ายภาพแฟชั่นนี้บนท้องถนนลงในนิตยสารผลไม้(Fruits) 2001 และ 2005 จนโด่งดังทั่วโลก โดยเขาเขียนในนิตยสารว่าการแต่งกายดังกล่าวมีข้อดีคือมันไม่ซ้ำแบบใคร(แน่ นอนล่ะ) การแต่งตัวเดดอร่านั้นจะแตกต่างจากการแต่งคอสเพลย์ คือเน้นสโลแกรนว่า ”มีอะไรใส่มาให้หมด” เช่น มีกิ๊ปติดผม ที่คาดผม มงกุฎเท่าไหร่ ใส่บนหัวให้หมด ยิ่งเยอะยิ่งดี เสื้อผ้าแต่งกายใส่เยอะเข้าไว้ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ๊คเก็ท เสื้อยืด กระโปรง ลายดอก กระเป๋า เครื่องประดับต่างๆ ตุ๊กตา ใส่จนรุมราม ถุงเท้าสองข้างก็สีต่างกัน และสีชุดและเครื่องประดับส่วนใหญ่เป็นสีแสบตา เด่น ส่วนมากเป็นชมพูและแดง และเมื่อแต่งออกมาจะเหมือนร้านกิ๊ฟช็อปเคลื่อนที่ก็ว่าได้

 

 9.Lolita

 


โล ลิต้าเป็นหนึ่งในแฟชั่นที่ได้รับความนิยมญี่ปุ่นและโด่งดังไปทั่วโลก จนถึงขนาดมีเสื้อผ้ายี่ห้อโลลิต้าวางจำหน่าย โดยแฟชั่นดังกล่าวเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 โดยชุดเริ่มต้นมาจาก ค่ายเพลงในประเทศญี่ปุ่นที่นำเพลงมาสร้างแรงบันดาลใจแก่เสื้อผ้าโกธิค และนักร้องเพลงก็แต่งตัวแนวโกธิคจนเป็นที่นิยมแก่เหล่าแฟนๆ เช่น มานะ จากวง Malice Mizer kei) ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว การแต่งตัวดังกล่าวมีอิทธิพลมาจากเสื้อผ้าเด็กในยุควิคตอเรียโดยแต่งเติมให้ เป็นแฟชั่นที่มีเอกลักษณ์โดยเพิ่มลุคแบบโกสิธมีลูกไม้, ระบาย, โบว์ มาประดับ ชุดกระโปรงบานน่ารักๆ เสื้อโค้ทยาวเนื้อนุ่มมีฮู้ด ถุงเท้ายาวหรือถุงน่องสีเข้ากับชุด และรองเท้าสไตล์รองเท้านักเรียน , ส่วนสีที่ใช้ขึ้นอยู่กับสไตล์ที่มีอยู่มากมายหลายแบบ

 

8.Nagomu Gal

            

นา โกมุ เกล เป็นแฟชั่นที่มีต้นแบบมาจากค่ายเพลงอินดี้ในปี 1983 ซึ่งมีฐานแฟนเพลงขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแฟชั่นนี้ขึ้น โดยแฟชั่นดังกล่าวเปิดครั้งแรกในนิตยสาร Takarajima โดยแฟชั่นดังกล่าวจะเป็นแนววินเทจ พวกเขามักจะใส่เสื้อยืดแขนยาว รองเท้ายางหน้า และถุงเท้ายาวถึงเข่า แฟชั่นดังกล่าวได้รับความนิยมช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะยุติลงในปี 989

 

 7.Kigurumin

          

 

คิกุรุมิ หรือ Kigurumi เป็น ชื่อแฟชั่นที่หมายถึงการแต่งกายของตัวละครจากการ์ตูน แต่งจากคอสเพลย์ตรงที่เป็นผู้แต่งจะเป็นทั้งตัวและตัวละครส่วนใหญ่จะเป็น สัตว์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการนักแสดงที่แต่งตัวเป็นตัวละครการ์ตูนสัตว์จาก เรื่องดีสนีย์แลนด์ทั้งตัวในห้างสรรพสินค้า, สวนสนุก หรือมาสคอท เท่าที่เห็นตามแฟชั่นญี่ปุ่นมีรูปแบบ 2 แบบ(เท่าที่เห็น) แบบแรกเป็นรูปเป็นแฟชั่นๆ ในช่วง สั้น 2003-2004 คือผู้หญิงจะสวมชุดสัตว์น่ารักที่พบเห็นในการ์ตูนและภาพยนต์ที่นิยม เช่นหมีพู ปิกาจู แมวคริสตี้ คลุมเหมือนชุดหมี หรือเรียกว่าชุดนอนปลอมเพราะวัสดุที่ใส่นั่นบางและสอดคล้องกับร่างกายเหมือน เสื้อผ้าปกติ(แบบที่เห็นในภาพ) และแบบที่ 2 แบบหน้ากากการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งจะเหมือนสาขาย่อยคอสเพลย์ เพียงแต่จะมีหน้ากากของตัวละครนั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวละครผู้หญิง มาให้สวมด้วย(หน้ากากดังกล่าวมีทรงผม)ส่วนมากนิยมแต่งตามในงานโดจินต่างๆ และปัจจุบันยังคงมีอยู่(แต่ไม่รับอนุญาตให้แต่งในที่สาธารณะ)

 

6.Manba

 

 

สไตล์มัมบะนั้น จะมีส่วนคล้ายคลึงกับกังคุโระ(อันดับล่าง) หากใครดูการ์ตูนเรื่องรักนี้ต้องเหมียว(Nyan Koi!) จะเห็นพระเอกพูดล้อตัวละครหญิง(เพื่อนสมัยเด็ก)ที่ทาสีผิวแทนว่า “ยัยผีภูเขา” ซึ่งความจริงแล้ว มัมบะ มาจากคำว่า  ยา มัมบะเป็นชื่อแม่มดน่าเกลียดในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่อาศัยในภูเขา(และ ยามัมบะ ยังสื่อความหมายเดียวกันกับกังคุโระด้วย ) การแต่งตัว(หรือทาผิวและหน้าสีดำ)นั้นมีความเหมือนกับกังคุโระแต่จะต่างกัน ตรงที่มัมบะนั้นมักย้อมผมสีขาว แต่งขอบตา ขอบปากให้เป็นสีขาวมากๆ และจะไม่แต่งตัวเน้นความเท่ แต่จะเน้นความน่ารักแทน โดยส่วนมากนิยามสีชมพู และมักมี ของน่ารักติดตัวเสมอ(จำพวกตุ๊กตาสัตว์ กำไรยักษ์) มักพูดลงท้ายด้วยคำว่า เนี๊ยว(nyan) คล้ายเสียงแมวร้อง พูดง่ายแอ๊บไว้ก่อนแม่สอนไว้ แต่กระนั้นผู้นิยมแต่งกายลักษณะดังกล่าวต้องกล้ามาก และมีเงินพอที่จะซื้อเครื่องสำอางมาทาหน้าด้วย

 

5.Ganguro

 

 

  กังคุโระ มีความหมายอีกอย่างว่า "Black Face"  เป็น แฟชั่นที่นิยมเฉพาะกลุ่มในกลุ่มสาวๆ ที่นิยมทาหน้าทาตัวให้ดำ ย้อมผมสีทอง(สีสมหรือสีบลอนด์) ส่วนรอบตาอาจทาสีฟ้าหรือคอนซิลเลอร์สีขาวที่ใช้สำหรับลิปสติก ใส่ขนตาปลอม ตกแต่งด้วยกากเพชรหรือผงไข่มุก การแต่งตัวก็ใส่ไมโครสเกิร์ตและรองเท้าบูต ตอนแรกปรากฏเป็นกลุ่มเล็กในปี 1990  แล้วเริ่มได้รับ ความนิยมในปี 2000 ที่ชิบูย่า(และหมดความนิยมอย่างรวดเร็วในปี 2001 เมื่อนัมบะมาแทน) ต่อมากังคุโระได้กลายเป็นศัพท์แสลง(gyaru)ที่ หมายถึงเด็กวัยรุ่นที่กระด้างกระเดื่องสุดเหวี่ยงของญี่ปุ่น นักติควิทยาเชื่อว่ากังคุโระนั้นเป็นรูปแบบการแสดงออกของวัยรุ่นที่แก้แค้น สังคมญี่ปุ่นเนื่องจากคิดว่าพวกตนถูกละเลย แปลกแยก โดยพวกเขาจึงพยายามแสดงออกดังกล่าว

(ปล. หารูป กังคุโระ และมัมบะยากมาก เพราะไม่รู้ว่ามันต่างตรงไหน เพราะบางเว็บว่ารูปนี้นัมบะ แต่ในขณะเดียวกันอีกเว็บก็บอกว่ารูปนี้คือกังคุโระ รูปเดียวกันแท้ๆ ตามความเข้าใจผมคือนัมบะจะออกแนวบ้ามากกว่า และสีสันของจุ๊กจิกมากกว่า เลยตามนี้แหละครับ)

 

4.Ko Gal

 

เป็น แฟชั่นที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น และการ์ตูนญี่ปุ่นก็ปรากฏแฟชั่นดังกล่าว จนเราแทบไม่ได้สังเกตเพราะมันเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว โดยจุดเริ่มต้นของแฟชั่นนี้คือการเลียนแบบแฟชั่นตะวันตก ของญี่ปุ่นระหว่างกลางศตวรรษที่ 19 การแต่งตัวแบบโคเกลนั้นจะเป็นการแต่งตัวโดยมีส่วนผสมกับแฟชั่นท้องถิ่นกับ โลกตะวันตก กล่าวคือ การผสมระหว่างเครื่องแต่งกายนักเรียนหญิงกับสินค้าชื่อดังราคาแพง โดยผู้แต่งต้องสวมเสื้อนักเรียนหญิง(แน่นอนคนสวมชุดดังกล่าวต้องเป็น ผู้หญิง) แต่กระโปรงสั้นจู๋จนเกือบเห็นกางเกงใน(จนมีคลิปแอบถ่ายซะให้พวกหื่นได้ดูกัน ตลอด) ถุงเท้าหลวม และมักย้อมผมสีน้ำตาล และสวมเสื้อพันคอ เพื่อให้ดูน่ารัก แฟชั่นดังกล่าวมักพบเห็นในฮาราจูกุ และชิบูยะ ซึ่งแฟชั่นดังกล่าวนักวิจารณ์ทางสังคมออกมาต่อต้านอย่างมาก เนื่องจากค่านิยมแฟชั่นดังกล่าวคือชอบของแบรนด์เนมราคาแพงหลงใหลในวัตถุ  เช่น มือถือ กระเป๋า เสื้อผ้า โดยทำตัวเหมือนปรสิตพ่อแม่กิน(ในกรณีพ่อแม่รวย) ซึ่งพ่อแม่ดังกล่าวสนับสนุน เพราะถือว่าเป็นการสื่อถึงความมั่งคั่งตนเองผ่านลูกสาว และที่น่ากลัวที่สุดคือค่านิยมที่สาวๆ เหล่านี้ชอบทำตัวโสเภณีมือสมัครเล่น มักเกาะชายวัยกลางคน เรียกเงินแพงๆ เพื่อซื้อของแบรด์เนม ยกตัวอย่างตัวละครตัวหนึ่งเช่นการ์ตูนลางสังหาร เป็นต้น จนนักวิจารณ์บ่างคนใช้คำรุนแรงผู้หญิงประเภทนี้ว่า “สำส่อน โลภ และโง่เขลา” ไปเลยก็มี หากแต่มองในแง่ดีแล้วก็มีสาวบางคนแต่งชุดดังกล่าวเพียงแค่แฟชั่น ไม่ได้หลงใหลแบรนด์เนมดังกล่าว(พูดง่ายๆ ผมชอบถุงเท้าหลวมครับ โมเอะดี)

 

3.Yanki and Bosozoku

 

นักเลง ญี่ปุ่นและแก๊งซิ่งมอเตอร์ไซต์ญี่ปุ่นนั้นปรากฏออกมาในการ์ตูนญี่ปุ่นหลาย เรื่องมาก (ปล.สู้นักเลงและแก๊งซิ่งบ้านเราไม่ได้ เถื่อนกว่า เม่งเอามีดสปาด้าไล่ฟันชาวบ้านอยู่บ่อยๆ)

 เริ่ม จากนักเลงญี่ปุ่น หรือบ้านเราเรียกว่า แยงกี้ โดยแยงกี้นั้นความหมายคือพวกอเมริกันกันฝ่ายเหนือในสงครามกลางเมืองอเมริกา นอกจากนี้ยังหมายถึงคนที่อยู่ที่ นิว อิงแลนด์ หากแต่ความหมายของญี่ปุ่นแยงกี้นั่นจะหมายถึง ไอ้บ้า นักเลงมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม มีเรื่องคนอื่นเขาไปทั่ว โดยมักแต่งทรงผมทรงรีเจ้นท์(สมัย นี้ใครทำเชยสุด) ผมตั้ง ผมทอง(แต่เดี๋ยวนี้ย้อมกันหมดแล้ว) ใส่เครื่องประดับให้ดูน่ากลัว จำพวกหัวกระโหลก โซ่ แว่นดำ และเสื้อคลุมยาวจนติดพื้น สูบบุหรี่ และแยงกี้ส่วนมากมักทำกิจกรรมแก๊งมอเตอร์ไซต์ ซึ่งได้รับความนิยมในยุค 60 ซึ่งเรารู้จักในชื่อสาวสปีด หรือโบโซะโซคุ ซึ่งเป็นแก๊งมอเตอร์ไซต์ซิ่งกวนเมืองอย่างผิดกฎหมาย ชอบฝ่าฝื่นกฎจราจร ไม่สวมหมวกกันน็อก ชอบฝ่าไฟแดง และชอบแข่งรถบนท้องถนน ส่วนรถก็ตกแต่งชนิดเรียกว่ามีเท่าไหร่ใส่กันไม่ยั้ง ขอให้เท่หรือเป็นจุดเด่นไว้ก่อน ทำให้รูปร่างของรถแปลกๆ เพราะส่วนหน้ายกสูงขึ้น ท่อไอเสียใหญ่ และสีสันสะดุดตา ที่มาของค่านิยมดังกล่าวไม่ทราบ อาจมาจากการเลียนแบบแก๊งซิ่งอเมริกาจากภาพยนตร์ หรืออาจเป็นเพราะความรักชาติลัทธิจักรวรรดิญี่ปุ่นรุนแรง(สังเกตได้จากพวก แก๊งดังกล่าวชอบโบกธงจักรวรรดิญี่ปุ่น) ส่วนการแต่งตัว พวกเขาจะสวมชุดแต่งกายคล้ายหน่วยรบพิเศษญี่ปุ่น เสื้อคลุมยาว มีตัวอักษรติดบนเสื้อ อาจเป็นชื่อแก๊ง คำขวัญ ข้อความปลุกใจ มีหน้ากากผ้าปิด ส่วนผู้หญิงจะมีผ้าพันรอบอกโชว์ให้เห็น ชอบถือไม้เบสบอล ท่อโลหะ ขวดเหล้า ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี  ใน ยุคสมัยก่อนนั้นแก๊งดังกล่าวไม่ได้มีพฤติกรรมที่เลวร้ายนัก และบางคนเห็นว่าพวกเขาคือลูกผู้ชาย หากแต่เมื่อผ่านไปหลายยุคหลายสมัย แก็งก็เริ่มพฤติกรรมเลวร้าย ไม่ว่าอิทธิพล กินเหล่า เสพยาเสพติด รุมโทรมหญิง ทำตัวเหมือนพวกนักเลงตามบ่อน จนไม่มีเค้าโครงความเป็นลูกผู้ชายเหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว

 

 2.Takenokozoku

 

มิเคะโนะโกะ โซคุ เป็นประเภทกลุ่มที่ออกมาแสดงออกโดยการเต้นรำในฮาราจูกุ โดยมักเต้นกลางถนน เพลงก็ใช้เพลงดังๆ ในช่วงนั้น  ที่ นิยมในช่วงปี 1970-1980 ส่วนมากมักเป็นผู้หญิงโดยมักแต่งชุดเหมือนเสื้อผู้หญิงดั้งเดิม หลวม ถุงเท้าสีชมพูหรือสีฟ้าสดใสหรือสีม่วง สวมเสื้อคลุมที่มีตัวอักษรคันจิปักอยู่ และรองเท้าเป็นรองเท้าแตะเพื่อเหมาะในการเต้นรำและอาจมีอุปกรณ์มาประกอบการ เต้นเช่นหลอดไฟนีออน ลูกปัดประดับ คันธนู นกหวีด ป้ายบอร์ด ปัจจุบันการเต้นรำบนฮาราจูกุยังคงมีอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะแก่ยุคสมัย

 

1.Sukeban

 

Sukeban หมายถึงผู้หญิงที่เป็นนักเลงที่ทำผิดกฎหมายหรือเจ้าแม่หญิงหัวหน้าแก๊งค์ ในพจนานุกรมของญี่ปุ่นเป็นคำแสลงซึ่งหมายถึงผู้หญิงที่เจ้าแม่ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกแก๊งค์ใดๆ  พวกเธอมักปรากฏในยุค 60 โดยพวกเธอมักทำผิดกฎหมายเช่น ใช้ความรุนแรง ขโมยของตามร้าน ดมกาว ขายบริการทางเพศ  โดย ทั่วไปพวกเธอมักทำผิดเล็กน้อย (ตามคำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นในปี 1980) บอกว่าพวกเธอจะดัดผมย้อมผมสีดำ สวมชุดสีดำ เสื้อเครื่องแบบทหารเรือ และกระโปรงจีบสีดำยาวถึงเท้าของเธอ ส่วนมากอาศัยอยู่ทั่วคันโต และมีคนกว่า 200,000 รายที่แต่งกายดังกล่าว

Sukeban นั่นปรากฏในสื่อต่างๆ มากมาย เช่นในมังงะญี่ปุ่นแนวโชเน็น เช่นเรื่อง Sukeban Deka, Hana no Asuka-gumi!(ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์)

 

 

 

อ้างอิงจาก

http://listverse.com/2009/04/20/10-unusual-japanese-fashions-and-subcultures/

Credit: http://writer.dek-d.com/cammy/story/viewlongc.php?id=486572&chapter=337
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...