คำว่า "ขังวังหลวง" นั้น มี ความหมายว่า การเชิญไปประทับที่ตำหนักฝ่ายใน ภายในพระบรมมหาราชวัง แต่แต่เจ้านายองค์นั้นก็ยังสามารถที่จะเสด็จพระดำเนินไปยังสถานที่อื่นๆได้ ไม่ได้จำกัดอิสรภาพเช่นผู้ที่ถูกคุมขังทั่วไป เพียงแต่จำกัดอิสรภาพในเรื่องของคู่ครอง เพราะถือว่าท่านองค์นั้นได้ถวายตัวเป็นคนของหลวงแล้ว จะไม่สามารถไปเสกสมรสกับชายอื่นได้ตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะได้รับพระบรมราชานุญาต
ดังเรื่องที่จะนำมาเป็น ประเด็นศึกษาของวันนี้คือ ในสมัย รัชกาลที่ 6 มีหม่อมเจ้าหญิงอยู่หนึ่งองค์ พระนามว่า หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล วรวรรณภาย หลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ก็ทรงถูกขังหลวงเช่นกัน เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งนั้นหม่อมเจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6เป็นครั้งแรก ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท หลังจากนั้นพระองค์ทรงเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมากจึงทรง สถาปนา หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล ขึ้นเป็น "พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" ในฐานะพระคู่หมั้น พร้อมพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้า โดยมีพระบรมราชโองการตอนหนึ่งว่า
"จะ กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายหน้า และเวลานี้จึงได้ทำพระราชพิธีหมั้นแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงพระองค์นี้ขึ้นเป็นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ตั้งแต่นี้สืบไป"
ขณะที่ได้รับ สถาปนาเป็นพระคู่หมั้นนั้น พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมีพระชันษา 28 ชันษา พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ทรงมีความคิดที่ล้ำสมัยสตรีไทยในยุคนั้น ทรงเขียนบทความชื่อ "ดำริหญิง" ในหนังสือ รายสัปดาห์ มีทำนองเนื้อหาประมาณว่าส่งเสริมให้สตรีมีความเท่าเทียมกับบุรุษ เพราะสตรีก็มีความสามารถ และจะอุ้มชูหรือชักบุรุษให้ต่ำลงก็ทำได้ จนทำให้พระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระทัย
ส่วนเรื่องที่คาดเดากันว่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ล้นเกล้ารัชกาล ที่ 6 ไม่ทรงพอพระทัยนั้น คือ เรื่องที่แสดงพระกริยาไม่เหมาะสมต่อมหาดเล็กคนสนิทของพระเจ้าอยู่หัว(เจ้า พระยารามฯ) สืบเนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยรถพระที่นั้นพร้อมกับพระวรกัญญา เมื่อถึงที่หมายเจ้าพระยารามฯ ลงไปรอรับเสด็จที่ประตูรถตามหน้าที่ เมื่อพระวรกัญญาปทานจะเสด็จลงจากรถพระที่นั่ง เจ้าพระยารามฯ ได้ยื่นมือไปรอรับเสด็จเพื่ออำนวยความสะดวกตามอย่างธรรมเนียมราชสำนักยุโรบ ทันใดนั้น!..พระวรกัญญาปทานทรงชักพระหัตถ์หนีพร้อมมีรับสั่งตำหนิเจ้าพระยา รามฯ ด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมถึงธรรมเนียม เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในไม่สมควรที่ชายสามัญชนจะแตะต้องพระ วรกายตามกฏมณเฑียรบาล เมื่อเป็นเช่นนั้นพระเจ้าอยู่หัวจึงกริ้ว เป็นเหตุให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพิโรธ(โมโห) พระวรกัญญาปทาน
หลังจากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการให้ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และทรง ให้ท้าวนางจ่าโขลนนำโซ่ทองคำใส่ไว้บนพานทองไปเชิญเสด็จพระองค์เจ้าวัลลภา เทวีมายังพระบรมมหาราชวัง(ไม่ได้จับกุมใส่กุญแจมือแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นกฎที่ใช้กับพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทำผิด)
แต่ด้วยความเป็นหญิง แกร่งเป็นตัวของตัวเองมีทิฐิมานะ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีจึงไม่ทรงทูลขอพระราชทานอภัยโทษแต่อย่างใด และไม่ยอมให้ใครผู้ใดไปขอพระราชทานอภัยโทษให้ด้วยเหตุนี้ จึงทรงอยู่ในพระบรมมหาราชวังแต่นั้นจนพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
เมื่อ ถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล7 จึงมีพระบรมราชโองการให้ปลดปล่อยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ออกจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานวังที่ประทับให้อยู่บริเวณสี่แยก ประทานชื่อว่า พระกรุณานิเวศน์ ขณะทรงได้รับการปล่อยออกมานั้น พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี มีพระชนม์ 33 พรรษา ทรงครองพระองค์เป็นโสดอย่างสมพระเกียรติในฐานะ"นางห้าม ร.6" ตราบสิ้นพระชนม์
ขอบคุณที่มา :: facebook ::คลังประวัติศาสตร์ไทย
โพสโดย :Nu-Bird (ทีมงาน TeeNee.Com)
ข่าวดาราบน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
Credit:
ที่นี่ดอดคอม