"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของ พระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชายพร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราชกรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"
"ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"
เมื่อใช้ความพินิจพิจารณาดูด้วยเหตุผลและเนื้อเรื่องนี้แล้ว จะเห็นว่า ตัวพระนางเองเมื่ออายุได้ 14 ปี และน้องชายคนโตคือ เจ้าองค์ดำอายุ 12 ปี เจ้าองค์ขาวอายุ 10 ปี ก็ถูกกวาดต้อนไปด้วย เหตุที่ตัวพระนางจะไป เพราะน้องชายทั้งสองไม่ยอมไปถ้าพี่สาวไม่ไปด้วย ก็ผิดกับพระตำนานและประวัติศาสตร์ว่า พระนเรศวรมีอายุ 3 ปี ส่วนพระเอกาทศรถก็คงปีกว่าๆเท่านั้น และเจ้าบุเรงนองจะเอาไปทำไมเพราะเล็กเหลือเกิน เดินไม่ไหวแถมยังเป็นภาระในการเลี้ยงดูอีก และจะเอาน้ำนมที่ไหนให้กินเพราะสมัยนั้นไม่มีนมเทียม นมสำเร็จรูป ที่จะให้เด็กเล็กๆดื่มได้อย่างสมัยนี้ ฟังดูแล้วมันไกลจากความเป็นจริง แต่นี้พระองค์ดำมีพระชนมายุถึง 10 ปี เดินได้สบาย
"ย้อนรอยอดีตต้นตระกูล ของ พระสุพรรณกัลยา"
ข้าพเจ้าผู้เขียนได้บันทึกเอาไว้เมื่อค่อนคืนของวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2491 ซึ่งเป็นวันเพ็ญ เดือนยี่ ในขณะที่นั่งฝันถึงเรื่องเก่าๆของพระพี่นางสุพรรณกัลยา ที่ท่านเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวที่ท่านทำและท่านได้บันทึก (ลิขิตเอาไว้) เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงความเป็นมาของท่านและต้นตระกูลของท่าน ที่พระราชบิดาคือ พระมหาธรรมราชา ตลอดทั้งพระประยูรญาติ ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าเชื้อสายต้นตระกูลของพระนางท่านนั้นมีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษผู้สูงศักดิ์ถึงสองตระกูล สายพระราชบิดามาจากวงศ์พระร่วง (วงศ์สุโขทัยสายเหนือ) ส่วนสายพระราชมารดานั้น มาจากสายวงศ์สุพรรณภูมิ สายภาคกลาง เท่าที่จำได้และได้บันทึกไว้มีดังนี้
เริ่มต้นก็มีสมเด็จพระนครอินทราธิราช เจ้าต้นตระกูลองค์นี้ ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1952 ถึง พ.ศ.1967 สมเด็จพระนครอินทราธิราช หรือเจ้านครอินทร์ เป็นโอรสของเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นอนุชาของพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้รับคำทูลเชิญ (เชื้อเชิญ) ให้เข้ามาครองราชสมบัติโดยการยินยอมจาก พระรามราชาธิราช พระราชโอรสของพระราเมศวร แต่โดยดี เมื่อปี พ.ศ. 1952 เจ้านครอินทร์ มีพระราชโอรสสามพระองค์คือ 1 เจ้าอ้าย ได้ครองเมืองสุพรรณบุรี องค์ที่ 2 พระเจ้ายี่ ได้ครองเมืองสวรรค์ (หรืออาจจะเป็นเมืองสรรคบุรี) หรือเมืองแพรก (บ้านแพรกในปัจจุบัน) พระราชโอรสองค์ที่สามชื่อ เจ้าสามพระยา ได้ครองเมืองชัยนาท ซึ่งต่อมา ได้สืบราชสมบัติจาก พระราชชนก อันพระอินทราธิราช ผู้เป็นพระบิดานั้น ได้ครองราช เมื่อพระชนมายุได้ 50 พรรษาแล้ว ครองราชอยู่ได้ 16 ปี อายุก็ 66 ปี ก็สวรรคต เมื่อปี 1967 และเรื่องเจ้าอ้ายผู้พี่ชาย กับเจ้ายี่ผู้น้องชายคนที่สอง ต่างก็ปองรักราชสมบัติของพ่อ ต่างก็ยกกองทัพเข้ามาจะตีกรุงศรีอยุธยาโดยจุดมุ่งหมายในราชสมบัติและอำนาจวาสนาอย่างเดียวกัน จึงได้เกิดปะทะชนช้างกันขึ้นที่บ้านป่าถ่าน
ต่างองค์ต่างก็ฟันกันด้วยพระของ้าวพร้อมกัน ตายไปพร้อมกัน (นั้นแหละกิเลสของมนุษย์ พวกบ้าสมบัติ) ตายได้ก็ดีแล้ว ก็เหลือแต่ เจ้าสามพระยา องค์ที่สาม ไม่ได้แย่งสมบัติกับใคร บุญหล่นทับ ได้รับราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยาต่อมา เมื่อเจ้าสามพระยา ได้ครองราชแล้ว 7 ปี คือเมื่อ พ.ศ. 1974 พระเจ้าธรรมโศก เจ้ากรุงกัมพูชายกกองทัพมากวาดต้อนเอาผู้คนเป็นจำนวนมากจากอยุธยาไปเป็นการใหญ่ เพื่อเป็นไพร่พลของอ้ายขะแม (เขมร) สมเด็จเจ้าสามพระยา ก็ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 1975 ตั้งค่ายล้อมนครธม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาในสมัยนั้น ตั้งมั่นต่อสู้อยู่ถึง 7 เดือน ในระยะที่เจ้าสามพระยาตั้งพลับพลาต่อสู้กับเขมรอยู่นี่เอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ทรงประสูติที่พลับพลานั้นเอง เมื่อตีเมืองเขมรแตกแล้วก็กวาดต้อนเอาไพร่พลและสิ่งของที่มีค่ากลับมากรุงศรีอยุธยา แล้วทรงตั้งให้พระอินทราชาครองเมืองกัมพูชาแทน พวกขอมในระยะนั้นเป็นเมืองขึ้นคือประเทศราชของไทยจึงย้ายเมืองหลวงจากนครธมไปตั้งอยู่พนมเปญตลอดทุกวันนี้ ส่วนพระอินทราธิราชก็อยู่ครองเขมรไม่นานนักก็ทรงพระประชวร สิ้นพระชนม์
ส่วนพระบรมไตรโลกนาถได้ครองราชอยู่ยืนยาวที่สุดถึง 40 ปี ระยะแรกก็ไม่มีทุกข์ภัย ไพร่ฟ้าหน้าใส สุขกายสุขใจกันทั่วหน้า พระองค์จึงเห็นว่า เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสงบและอยู่ในสายเดียวกับสุโขทัยสมัยก่อน พระองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่เมืองพิษณุโลกแล้วก็ได้รับการต้อนรับจากอาณาประชาราษฎร์อย่างสมพระเกียรติ และได้ทรงศึกษารอบรู้ในด้านอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และศาสนา ตลอดด้านยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี และเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ขึ้นไปปกครองราชอาณาเขตทางภาคเหนือ และเมื่อได้ไปประทับอยู่เมืองพิษณุโลกแล้ว พระองค์ทรงขวนขวายศึกษาพระประวัติและพระราชประเพณีของวีรบุรุษแบบกรุงสุโขทัยในอดีต และในเวลานั้นก็ยังมีเจ้านายเชื้อพระวงศ์และข้าราชการเก่าๆในเมืองเหนืออยู่มาก ได้ถวายคำแนะนำให้ความรู้เพิ่มเติมอีกและได้ทรงเลือกประเพณีเก่าๆและใหม่ๆมาปรับปรุงบ้านเมือง ใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูกอย่างพ่อขุนรามกำแหงมหาราชและทรงเลือกปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างบรรพบุรุษหลายประการ เช่น สร้างวัดในวังแบบสุโขทัย ไว้บรรจุพระอัฐิธาตุของบรรพบุรุษและเจ้านายผู้สูงศักดิ์ ตลอดวีรชนผู้ถวายชีวิต เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน
อันพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่สำคัญคือ ได้ปรับปรุงแก้ไขการปกครอง ให้มีกฎมณเฑียรบาล ระบบศักดินา ปรับปรุงการศึกษา ทางด้านอักษรศาสตร์ และวรรณคดีต่างๆ เช่น มหาชาติคำหลวง และลิลิตพระลอ ก็เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์ท่าน และในสมัยของพระองค์ท่านก็ได้เกิดศึกขึ้นทางตอนใต้ ทางมะละกา แหลมมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้น (เป็นประเทศราช ของสยามไทย) พระองค์ต้องตัดสินพระทัยยกเมืองให้เขาไป ดีกว่าจะเสียเลือดเนื้อและไพร่พลเมื่อปี พ.ศ. 1999 เมื่อปีนั้นเองพระองค์ก็ทรงเสด็จกลับเพื่อรับเป็นรัชทายาทไปครองกรุงศรีอยุธยา ตอนนี้เองก็เกิดยุ่งกันขึ้นทางเหนืออีกเพราะพระองค์ทรงปกครองแบบพ่อปกครองลูกมิได้ทรงแต่งตั้งให้ใครๆเป็นใหญ่ที่สูงสุดไว้แทน จึงปล่อยให้หัวเมืองต่างๆมีเจ้าเมืองปกครองกันเองแบบเจ้าเมืองเจ้าพระยาเท่านั้น คือ เมืองพิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ต่างก็มีอำนาจเสมอกัน จึงต่างคนต่างก็อยากเป็นใหญ่ แย่งไพร่พล แย่งอำนาจกันขึ้น ถึงกับรบราฆ่าฟันกันเพื่อสนองความอยาก อันเป็นกิเลสของมนุษย์
ส่วนพระยายุธิษฐิระ เจ้าครองเมืองสวรรคโลกก็...กระโหลกไปทำไมตรีสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราช ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ เพราะเวลานั้นเมืองเชียงใหม่มิได้ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาเพราะถือตัวว่า เป็นเจ้าใหญ่ทางเมืองเหนือ พระยายุธิษฐิระเป็นไส้ศึก นำพลจากเชียงใหม่พร้อมด้วยพระเจ้าติโลกราช ยาตราทัพลงมาตี ได้เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร แล้วลงไปกวาดต้อนเอาไพร่พล ถึงเมืองชัยนาท พระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพ ขึ้นไปป้องกันปราบปราม และเป็นจังหวะที่พระเจ้าติโลกราชจะยกทัพไปตีเมืองสุโขทัย แต่ยังไม่ได้ทันตี พอรู้ข่าวว่าทัพหลวงอันมหึมาของกรุงศรีอยุธยายกขึ้นมา ก็ล่าถอยกลับไป สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ขับไล่ไปถึงเมืองเถิน ก็หยุดกันแค่นั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็เห็นว่าหัวเมืองทางภาคเหนือมันยุ่งกันนัก จึงทรงเปลี่ยนพระราชโชบายย้ายพระองค์เองขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเสียเอง จึงทำให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี เมืองหลวงของไทยอยู่ถึง 25 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006 ถึง 2031 ส่วนกรุงศรีอยุธยา ก็มอบให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือพระบรมราชา ปกครองแทน
ในระหว่างบ้านเมืองสงบนี้เอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ คือทรงสร้างพระศรีรัตนมหาธาตุ คือพระปรางค์ที่สวยงามไว้ที่วัดไทร คือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระพุทธชินราช ที่เมืองพิษณุโลก สร้างวัดทอง วัดราชคฤห์ บูรณะวัดคูหาสวรรค์ วัดอรัญญิก ทางทิศตะวันออก และวัดอื่นๆอีกสิบเก้าวัดในเมือง บริเวณเมืองพิษณุโลก และได้ส่งทูตไปอาราธนานิมนต์พระผู้ทรงแตกฉานในพระไตรปิฏกจากทวีปลังกามาช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ส่วนพระองค์เองก็ทรงอุปสมบทประจำอยู่ที่วัดจุฬามณี เช่นเดียวกับพระมหาธรรมราชาที่ 1 ของกรุงสุโขทัย เมื่อลาผนวชแล้วก็ได้ช้างเผือกเชือกหนึ่งเป็นการเสริมพระบารมี เมื่อตอนปี 2016 พระเจ้าติโลกราช คู่อาฆาตของพระองค์ท่านผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ที่พระยายุธิษฐิระแตกวงไปสวามิภักดิ์ ได้เกิดสติฟั่นเฟือนถึงกับฆ่าใครต่อใคร ในที่สุดก็ฆ่าลูกชายของตนเอง สมเด็จพระบรมไตรโลนาถเห็นเป็นโอกาสดีจึงยกทัพขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชไม่มีทางสู้ ยอมแพ้ขอหย่าศึก แล้วจึงขอทำสัญญาเป็นไมตรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งประสูติจากพระมเหสีเชื้อสายของวงศ์พระร่วง มีพระนามว่า พระนางศรีสุดารัตน์ (ชื่อนี้ได้มาจากพม่า ส่วนในพงศาวดารไม่มีเลย) พระนางได้พระราชโอรส 3 พระองค์ คือ องค์ที่หนึ่ง พระอินทราชา พระองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์ในการรบที่เมืองเขลางค์ (เมืองลำปาง) องค์ที่สอง ชื่อพระบรมราชา ได้รับสถาปนาให้เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกไว้ก่อนแล้วให้ลงมาครอง กรุงศรีอยุธยาแทนพระราชบิดา ส่วนองค์ที่ 3 ชื่อพระเชษฐา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ก็ได้สถาปนาให้เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองเหนือคือเมืองพิษณุโลก ส่วนกรุงศรีอยุธยาก็กลับเป็นราชธานีอีกต่อมา และเมื่อพระบรมราชาสวรรคตแล้ว พระรามาธิบดี ผู้เป็นพระมหาอุปราช ก็ขึ้นครองราชแทน อันวีรกรรมผลงานของพระรามาธิบดีองค์นี้นับว่าเด่นดังหลายอย่างคือ ทางเมืองเหนือ สมัยที่พระเมืองแว ครองเมืองเชียงใหม่ แข็งข้อขึ้นอีกเมื่อปี 2050 พระบรมราชามหาอุปราช ขึ้นไปปราบเสียจนราบคาบและได้ทรงสร้างพระสถูปใหญ่ขึ้นในวัดสุทธาวาส เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระบรมไตรโลกนาถและพระประยูรญาติผู้ใหญ่ทุกพระองค์ และสร้างหล่อพระพุทธรูปใหญ่ ไว้ในวิหารหลวงวัดพุทธาวาส และทรงหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ไว้ในวิหารหลวง
วัดนี้ตั้งชื่อว่า พระศรีสรรเพ็ชญ์ ตลอดมา และหล่อพระพุทธรูปยืน 8 วา หุ้มด้วยทองคำหนัก 20880 บาท แต่ถูกพม่าเอาไฟเผาลอกเอาทองคำไปหมด (ขอบอกว่า พม่ามันกลัวบาปกรรม มันไม่ทำหรอก ก็คนไทยนี่เอง สร้างเองทำลายเอง) ขณะนี้ ทองคำทั้งหมด ยังถูกฝังอยู่เมืองไทยนี้เอง พม่ามันไม่เอาไปหรอก เพราะมันกลัวบาป เมื่อปี 2072 ก็เป็นอันสิ้นสุดอำนาจของสุโขทัยไปชั่วคราว อันเจ้าทั้งหลายต่างฝ่ายต่างก็มองหาช่องทางที่จะแสวงหาอำนาจความเป็นใหญ่ใส่ตัวและพวกของตัว ผู้ที่ใฝ่และมักใหญ่ใฝ่สูงที่สุด คือ ฝ่ายวงศ์สุพรรณภูมิ ท่านแรกที่ขึ้นครองราชย์คือ พระอาทิตยวงค์ ครองราชเมื่อปี พ.ศ. 2077 พระเจ้าไชยราชาธิราช ซึ่งเป็นพระเจ้าอา มาชิงเอาไป เมื่อปี 2077 อันพระเจ้าไชยราชาธิราชซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระรัษฎาธิราชกุมารนี้เอง ก็เป็นเชื้อพระวงศ์ทางสุโขทัย ได้ครองราชตั้งแต่ ปี 2077 ถึง 2086 ครองราชย์อยู่ 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ในระหว่างที่พระเจ้าไชยราชาธิราชได้ครองเมืองนี้เองได้สู้รบกับกองทัพพม่า เป็นครั้งแรกคือ รบกับเจัาตะเบ็งชะเวตี้ เจ้าเมืองตองอูสู้ไทยไม่ได้ ถอยกลับ เมื่อพระเจ้าไชยราชาธิราช สวรรคตแล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคทมิฬ ทุกท้องถิ่นเดือดร้อนที่เจ้าแม่นางศรีสุดาจันทร์ก่อเรื่องให้บ้านเมืองต้องเดือดร้อนไปทุกหัวระแหงเพราะความร้ายกาจของกิเลสตัณหา ความอยาก ความเห็นแก่ตัว ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความลืมตัว ไม่กลัวบาปกรรม ทำให้บ้านเมืองต้องเข้าสู่กลียุค เพราะตัณหาจัดของผู้หญิงแท้ๆ ดังท่านจะได้อ่านต่อไป
ความยุ่งยากในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2091-2148 เป็นเวลายาวนานถึง 57 ปี อันความยุ่งยาก วุ่นวายทั้งภายในและภายนอกนี้เอง ที่ทำให้คนไทยทั้งชาติประสบภัยอันใหญ่หลวงถึงกับต้องสูญเสียอิสระภาพ เสียบ้านเมือง เสียทุกสิ่งทุกอย่าง ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าถึง 15 ปี เรื่องนี้เพราะ เจ้าตัวกาลีศรีสุดาจันทร์แท้ๆ เมื่อพระไชยราชาธิราช ผู้ครองราชอยู่ก่อนและเป็นผู้กอบกู้ชาติไทยให้พ้นภัยจากศึกพม่าครั้งแรก คือเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตองอูได้แล้ว ท่านก็สิ้นพระชนม์ ตามภาวะสังขารของพระองค์ท่าน แล้วแทนที่จะสถาปนาแต่งตั้งให้พระเฑียรราชา ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาให้ขึ้นครองราชแทน แต่เจ้าศรีสุดาจันทร์ซึ่งถือตัวเองว่าเป็นพระพันปีหลวง ทั้งๆที่ตัวเองมีฐานะเพียงพระสนมเอกเท่านั้น กลับเอาลูกชายตัวเองชื่อพระเจ้าแก้วฟ้า ซึ่งมีอายุเพียง 11 พรรษาเท่านั้น ขึ้นครองราชย์แทนแล้วยังกลัววิตกว่า ถ้าให้ลูกชายครองราชย์ต่อไป อันชายชู้ที่เธอหลงใหลคือ ขุนวรวงศา ก็จะไม่ได้เป็นผู้นั่งเมือง จึงวางแผนฆ่าลูกชายในไส้ของตัวเองด้วยให้กินยาพิษเมื่อปี 2092 จึงเป็นอันว่า สมเด็จพระแก้วฟ้าครองราชย์อยู่ในวัยทรงพระเยาว์ได้เพียง 2 ปี แล้วแต่งตั้งพระศรีศิลป์ ผู้เป็นน้องชายของเจ้าแก้วฟ้าแทน
ซึ่งท้าวศรีสุดาจันทร์ จึงได้แต่งตั้งชายชู้ คือขุนวรวงศา ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อได้อำนาจแล้วกลับลืมตัว บ้ายศ บ้าอำนาจ ใช้ความเด็ดขาด แบบใครขัดขวาง ตายลูกเดียว และถ้าไม่พอใจกับใครที่เป็นข้าราชการผู้ใหญ่ก็สั่งปลดทิ้ง ฆ่าเสีย จึงเกิดมีไพร่ฟ้าข้าราชการทั้งภายในและภายนอก ไม่พอใจในพฤติกรรมของขุนวรวงศา จึงหาอุบายกำจัด โดยขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้ากรมตำรวจและท่านก็ได้สหายคู่ใจคือ ขุนอินทรเทพ ร่วมกันวางแผนทูลเชิญเจ้าเหนือหัวคือเจ้าแม่ศรีสุดาจันทร์ กับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคือ ไอ้เจ้าขุนวรวงศา ออกเยี่ยมประชาชน ให้อาณาประชาราษฎร์ได้ยลโฉมอภิวาทกราบไหว้ ให้ทวยราษฎร์ได้ชื่นใจ พอเสด็จด้วยขบวนช้างออกพ้นนอกกำแพงเมืองถึงตรงคลองสระบัว ไพร่พลที่เตรียมพร้อมคอยอยู่แล้ว มิใช่คอยกราบไหว้วันทา แต่คอยกำจัด จะเด็ดชีวา เจ้าแม่กาลีให้ม้วยมรณ์ จึงร่วมกันจับเจ้าแม่ศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงศาฆ่าทิ้ง ตรงคลองสระบัว จึงเป็นอันว่า ชาวประชาร่วมกันกำจัดศัตรูเสี้ยนหนามของแผ่นดินให้ด่าวดิ้นสิ้นไปได้สำเร็จ ด้วยกลเม็ดของท่านขุนพิเรนทรเทพ กับท่านขุนอินทรเทพ ทั้งสองท่านร่วมกับผู้รักชาติรักบ้านเมือง เรื่องนี้จึงเป็นเครื่องเตือนใจในผู้มีอำนาจ วาสนาบารมีมากๆว่า อำนาจมันไม่อยู่ค้ำฟ้าหรอก ผู้มีอำนาจทั้งหลาย อย่าหยิ่งยโสนัก รู้จักตัวเสียบ้าง อันอำนาจก็ดี ศักดิ์ศรีบารมีก็ดี ถ้าคิดให้ดีแล้ว เป็นของตัวเองเสียเมื่อไหร่ มันเกิดมีขึ้นมา เพราะผู้อื่นเขาอุปโหลกให้ เขาสมมุติให้ทั้งนั้น มันเป็นตัวสมุทัย เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น ถ้ายึดมั่นถือมั่นจนเกินไปบรรลัยลูกเดียว
เมื่อชาวกรุงศรีอยุธยาช่วยกันกำจัดตัวเสี้ยนหนามของชาติ คือเจ้าขุนวรวงศา กับศรีสุดาจันทร์ได้สำเร็จแล้ว ก็พร้อมกันไปทูลเชิญ หลวงพ่อพระเฑียรราชา ให้ลาผนวช (คือให้สึก ลาเพศจากสมณะ ให้ขึ้นครองราชเมื่อ พ.ศ. 2091 เหตุที่ท่านจะหนีบวชเพื่อพึ่งผ้ากาสาวพัสตร์ก็เพราะทนการปองร้าย การจองล้างจองผลาญ พาลหาเรื่องใส่ความ จากพี่สะใภ้คืออีแม่นางศรีสุดาจันทร์ไม่ไหว จึงไม่สนใจรับราชสมบัติใดๆทั้งนั้น แต่คราวนี้พระองค์ท่านต้องรับหน้าที่ไม่มีทางปฏิเสธได้เพราะเหตุที่ชาวประชาข้าราชการทั้งหมดในเมืองสยามไทยฝากความหวังไว้กับท่านให้ครองราช จึงได้อภิเษกให้เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และได้อภิเษกสมรสกับพระศรีสุริโยทัย เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เสวยราชแล้วก็ปูนบำเหน็จให้ผู้ทำความดีช่วยเหลือบ้านเมือง ผู้กำจัดเสี้ยนหนามของแผ่นดินทุกคน คือ ท่านขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งอดีตเป็นเจ้ากรมตำรวจ ผู้รักษากฏหมายของบ้านเมือง และพื้นเพเดิม ตระกูลเดิมของท่าน ก็เป็นรัชทายาท เชื้อสายของวงศ์พระร่วง และเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดกับพระไชยราชาธิราช ผู้เป็นพระบิดาของเจ้าแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) ผู้เป็นพี่ยาเธอของพระเฑียรราชา จึงสถาปนาให้เป็น พระมหาอุปราช แล้วเลื่อนเป็น พระมหาธรรมราชา แล้วทรงมอบพระราชธิดาองค์ใหญ่ คือ พระวิสุทธิกษัตรี ให้ไปเป็นพระชายา แล้วให้ไปครองเมืองพิษณุโลก ก็ทั้งสองท่านนี้เองเป็นผู้ให้กำเนิด คือพระราชบิดา และราชมารดา ของพระนางสุพรรณกัลยา กับเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว แล้วต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเข้ากลียุค พม่าบุกทำลาย พระเจ้าตาของพระนางคือพระมหาจักรพรรดิ จึงทรงเรียกตัว กรีฑาทัพลงมาช่วยที่อยุธยา
อันพระเจ้าตาของท่านคือ พระมหาจักรพรรดิ กับพระเจ้ายาย คือ พระศรีสุริโยทัย ได้ให้กำเนิด พระราชโอรสสองพระองค์ พระราชธิดาสามพระองค์ ซึ่งมีรายนามดังนี้คือ
1. พระราเมศวร ซึ่งเป็นองค์รัชทายาท
2. พระวิสุทธิกษัตริย์ คือ พระมารดาของพระนางเอง กับเจ้าองค์ดำ และองค์ขาว
3. พระบรมดิลก
4. พระเทพกษัตรี
5. พระมหินทราธิราช ซึ่งได้ครองราช แทนพระจักรพรรดิ
องค์ที่หนึ่ง พระองค์แรกเป็นชาย ชื่อพระราเมศวรเป็นผู้เข้มแข็ง กล้าหาญชาญชัย มีความรักชาติ รักพี่รักน้อง รักแผ่นดิน รักเกียรติภูมิ ได้ตำแหน่งรัชทายาท มีความองอาจ คู่พระทัยในพระมหาจักรพรรดิ เมื่อแพ้สงครามก็ถูกจับเอาไปเป็นตัวประกัน พร้อมด้วยพระเจ้าองค์ดำ และองค์ขาว เมื่อแพ้สงคราม เราทั้งสาม ก็ถูกพระเจ้าบุเรงนอง ขอเอาไปเป็นบุตรบุญธรรม เขานำไปไว้ที่เมืองหงสาวดีเช่นกัน องค์ที่สามคือ พระบรมดิลก ที่สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง เหมือนพระมารดาคือ พระศรีสุริโยทัย แต่พงศาวดารไทยไม่ได้กล่าวถึงเลย เท่ากับเป็นวีรสตรีที่สาบสูญไปอีกองค์ ขาดจากความทรงจำของไทยไม่ผิดกับฉัน องค์ที่สี่คือ พระเทพกษัตรี ท่านองค์นี้นับว่า เป็นราชธิดาที่น่าสงสาร ในชีวิตของท่านต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนรอนแรมไปอยู่ต่างแดน เพราะในการเสียกรุงครั้งนั้น เจ้าศรีสัตนาคนหุต ฉุดเอาไปทำเมียเสียเอาดื้อๆ องค์ที่ห้าคือ พระมหินทราธิราช ผู้ครองอำนาจต่อจากพระมหาจักรพรรดิ แล้วเมื่อเสียกรุงครั้งแรกปี พ.ศ. 2112 เจ้าบุเรงนองจับเอาไปเป็นเชลยและให้อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา พอเดินทางไปถึงเมืองสระถุงใกล้กับเมืองอังวะ พระมหินทราเกิดความไม่ยำเกรงต่อบุเรงนอง เจ้ากรุงหงสาวดี บุเรงนองเกิดพิโรธ โกรธแค้นจึงสั่งประหารด้วยดาบแล้วโยนศพลงแม่น้ำสะโตง ก็พระคุณท่านยังลงไปงมเอาศพขึ้นมาทำฌาปนกิจให้ท่าน ฝังไว้ตรงไหนท่านรู้เองตอนท่านกลับ ก็อย่าลืมขุดเอาอัฐิธาตุกลับไปด้วยนะ ส่วนขบวนของพระเจ้าลุงของฉันคือ พระราเมศวรนั้น เขาไล่เอาไปเป็นทัพหน้าอยู่ทางเหนือ เมื่อท่านกลับ กรุณาไปเชิญเอางาช้างเผือกไปด้วยเพราะช้างเผือกนั้นมีงาแฝดข้างหนึ่ง เป็นสีดำ หรืองาช้างดำ เล่มเล็กๆ ใครมีไว้เป็นมงคลแก่ตัว
ส่วนฉันเองพร้อมด้วยน้อง พอเห็นเขาประหารพระเจ้าอา คือพระมหินทราธิราช ต่อหน้าต่อตาก็พากันเกิดปริวิตกอย่างมากว่าสักวันหนึ่ง เรื่องตายแบบนี้ก็ต้องถึงเราแน่ แต่ก็มีท่านเป็นปราการด่านสุดท้ายที่จะเป็นผู้ทัดทานเอาไว้ในคราวที่พวกฉันจะถูกรังแก แต่ไม่รู้ว่าท่านมีอะไรดีอยู่ในตัวทำให้บุเรงนองต้องกลัวและเกรงใจท่านเอามากๆ คงจะเป็นเพราะท่านเป็นหมอ หมอยาสมุนไพร ได้ช่วยรักษาให้บุเรงนองหายจากโรค พ้นจากความตายได้หลายครั้ง และบุเรงนองเป็นโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เนื้อตัวเกรอะกรัง ด้วยน้ำหนองไหลไม่ขาด ท่านฉลาด หายาตามป่ามาอาบ ทา ให้หายทุกครั้ง และเขาถูกช้างเหยียบจะตายเอา ท่านชี้มือบอกให้ช้างหยุด ช้างก็หยุด เขาไม่ตายเพราะท่าน ดังนั้นเจ้าบุเรงนองจึงเกรงใจท่าน และรักท่าน
และท่านก็ได้กราบทูลเขาว่า กุมารทั้งสองคนพร้อมด้วยกุมารีอีกคนหนึ่ง คือตัวฉันกับน้องๆ นั้น เจ้าเหนือหัวทรงขอกับพระมหาธรรมราชา มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เจ้าเหนือหัวต้องรักษาสัจจะให้รักเขาเหมือนลูกและทะนุถนอมเขาเหมือนลูกในไส้ ถ้าหากไม่แล้วข้าพเจ้าจะยอมตาย แล้วปล่อยให้ท่านทรมานด้วยโรคตลอดไปและจะตายเอาเร็วด้วยนะ ดังนั้นเขาจึงรักฉันกับน้องๆเหมือนลูกจริงๆ แต่ก็ไม่ขาดจากสายตาท่านที่จะต้องดูแลทุกข์สุขในการเดินทาง บุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วย ห้อยโหนปีนเหว ใช้เวลารวมเดือนกว่าๆ พวกเราทรมานมาก ไม่รู้ว่ามีกรรมมีเวรอะไรแต่ชาติปางก่อน มันจึงย้อนมาสนองเราเอาชาตินี้ ขอให้ท่านจงช่วยแก้กรรมให้ด้วยหรืออาจจะเป็นเวรกรรมที่พระบิดาของฉันทำกับแม่นางศรีสุดาจันทร์ก็ได้ อันการที่ฉันได้เล่าเรื่องราวถึงสกุลรุนชาติสายญาติต้นตระกูลเดิมของฉันก็มีเท่านี้
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสวยราชย์ได้ 6 เดือน พระเจ้าหงสาวดีก็ยกกองทัพเข้ามารุกรานด้วยได้ระแคะระคายว่า กรุงศรีอยุธยา เกิดการแย่งราชสมบัติกันขึ้น พระเจ้าหงสาวดีจึงให้เกณฑ์พม่า สมทบกับมอญและไทยใหญ่ ให้มาชุมนุมทัพพร้อมกันที่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงยกมากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2091 อันที่จริงกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่ว่าไม่เคยสงคราม แต่สงครามที่ได้ทำมาในครั้งก่อนๆนั้น นอกพระราชอาณาเขต ไม่เหมือนกับครั้งนี้ เพราะในสมัยก่อน พระไชยราชาธิราชก็ได้ต่อสู้ฟาดฟันกับพม่าคือพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ให้ป่นปี้หนีหายไปไม่เป็นขบวนมาแล้ว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีศึกใหญ่เข้ามาประชิดประเทศ ยึดดินแดนส่วนสำคัญของไทยเป็นสมรภูมิ แต่เนื่องด้วยกำลังรี้พลและเสบียงอาหารของไทยในระหว่างนั้นยังสมบูรณ์อยู่
ด้วยเมื่อกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ แต่นั้นมาบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบมิได้เกิดการจราจลถึงกับรบราฆ่าฟันกันมากมาย เมื่อได้ข่าวพระเจ้าหงสาวดียกกองทัพใหญ่เข้ามาประชิดพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ทรงมีบัญชาให้พระมหาธรรมราชา ยกกองทัพเมืองเหนือลงมาช่วย และทรงส่งกองทัพใหญ่ออกไปตั้งรักษาเมืองสุพรรณบุรี เป็นที่มั่นคอยรับหน้าข้าศึก และเตรียมการป้องกันพระนครศรีอยุธยาไว้ก่อน แต่กองทัพของพระเจ้าหงสาวดีมีกำลังใหญ่หลวง กองทัพไทยที่ยกออกไปตั้งรับรักษาเมืองสุพรรณบุรีจึงสู้ไม่ได้ จำต้องทิ้งเมือง ถอยกลับมายังกรุงศรีอยุธยา การถอยในครั้งนี้เป็นการถอยแบบถอยท่าเดียว มิใช่เป็นการถอยพลางสู้พลางหรือหาที่มั่นแห่งใดแห่งหนึ่งรับข้าศึกเป็นระยะๆไป แต่เป็นการกลับถอยหนีเข้ากำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาอย่างเดียว
ส่วนทางกรุงศรีอยุธยาเล่า แทนที่จะส่งกองทัพออกไปช่วยกองทัพสุพรรณบุรี กลับเฉยเสีย ปล่อยให้กองทัพของเจ้าหงสาวดีรุกไล่ถึงชานพระนคร ขณะนั้นถ้าหากกองทัพไทยจะยกกองทัพออกไปต่อต้านข้าศึกก็อาจจะได้เปรียบกว่าทหารพม่าอยู่บ้าง เพราะกองทัพไทยในกรุง ยังสดชื่นอยู่ ส่วนกองทัพพม่า ยกกองทัพรอนแรมมาย่อมจะเป็นฝ่ายเหน็ดเหนื่อยอยู่บ้าง ถ้าหากทางกรุงศรีอยุธยาจะยกเข้าโจมตีทันทีเมื่อกองทัพพม่ามาถึง ก็คงจะได้ชัยชนะบ้าง แต่ทางกรุงศรีอยุธยากับนิ่งเฉยเสียเพราะยังไม่ได้ฤกษ์จากโหร ปล่อยเวลาให้ข้าศึกได้พักผ่อนและกินอาหารให้อิ่มมีกำลังก่อน จึงได้ฤกษ์จากโหร
และในช่วงนี้เองที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องบันทึกการสูญเสีย สมเด็จพระศรีสุริโยทัย อัครมเหสี ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไป อย่างน่าเศร้าสลด กล่าวคือ กองทัพพม่ายกทัพเข้ามาตั้งค่ายที่ชานพระนครเป็นที่มั่น เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 แล้วพอรุ่งขึ้น วันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ใคร่จะทรงทราบกำลังของกองทัพข้าศึกว่าจะเข้มแข็งประการใด จึงลอบเสด็จยกกองทัพหลวงออกไป ครั้งนั้นสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหมสีขอเสด็จตามไปด้วย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็โปรดอนุญาตให้แต่งพระองค์เป็นชายอย่างมหาอุปราช ต่างองค์ต่างทรงพระคชาธารหรือช้างศึก ออกไปพร้อมกันกับพระราชโอรสทั้งสองคือ พระราเมศวร และ พระมหินทราธิราช กองทัพของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงออกไปปะทะกับ กองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นกองทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ความตั้งพระทัยเดิมว่าจะออกไปดูลาดเลาข้าศึกนั้นกลายเป็นการทำยุทธหัตถีเข้าโดยฉับพลัน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เข้าชนช้างกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที ก็แล่นหนีข้าศึก เจัาแปรได้ทีก็ขับช้างไล่ตามมาไม่ยับยั้ง
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหสีที่ตามเสด็จมา ทรงเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จะเป็นอันตราย ก็ไสช้างทรงตรงเข้ามาขวางกั้นพระสวามี พระเจ้าแปรสำคัญว่าเป็นชาย ก็ฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระอังศาขาด ซบพระเศียรทิวงคตอยู่บนคอช้าง ขณะนั้น พระราเมศวร กับพระมหินทราทรงเห็นเหตุการณ์ ก็ขับช้างทรงเข้าช่วย ขวางกั้นข้าศึกไว้อย่างหนักหน่วง จนข้าศึกถอยทัพ จึงได้พระศพสมเด็จพระชนนีมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ถอยทัพกลับคืนเข้าในพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อทรงถอยทัพกลับคืนเข้าพระนครแล้วก็ใหัรักษาพระนครไว้ให้มั่น คอยกองทัพเมืองเหนือของพระมหาธรรมราชาที่จะยกมาถึง จึงจะตีทัพข้าศึก กระหนาบทั้งสองด้านให้พร้อมกัน ส่วนพระศพของส่วนพระศพของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยนั้น ให้เชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวง ภายหลังได้ทรงมีบัญชาให้สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงศพที่ในสวนหลวงต่อเขต
12 พ.ค. 58 เวลา 11:03 2,100
กรุณา
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ