" ปืนพระราม 6 (ปืนเสือป่า) หมายเลข 1 "

ปืนพระราม 6 เป็นอาวุธปืนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสั่งเข้ามาใช้ในกิจการเสือป่า ซึ่งเป็นองค์กรที่พระองค์ทรงจัดตั้ง ขึ้นเมื่OKอวันที่  1 พฤษภาคม พ.ศ.2454  โดยมีพระราชปรารภในการจัดตั้งองค์กรนี้ว่า เพื่อจะให้พลเรือนทั้งที่เป็นข้าราชการและไม่ได้เป็นข้าราชการทหารได้มี โอกาสฝึกหัดระเบียบวินัย มีการบังคับบัญชาเป็นหมู่เหล่า  ทั้งยังฝึกให้จงรักภักดียอมสละชีวิต  เพื่อป้องกันภัยอันตราย ที่จะมีแก่ชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์  พระองค์ทรงจัดตั้งองค์กรเสือป่าขึ้นในรูปของกองอาสาสมัครโดยใช้ชื่อว่า "กองเสือป่า" ซึ่งนำมาจากชื่อเรียกผู้สอดแนมในการสงครามของไทยที่มีมาแต่โบราณ

         

 

 

 ตรา เสือป่าจะพบได้ที่โคนดาบปลายปืน  และห่วงยึดโครงลูกเลื่อนกับพานท้ายด้านขวา
มีอักษรไทยเขียนว่า "แบบพระราม 6" และ "ปี พ.ศ. 2462"

 

 

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาจาก ประเทศอังกฤษ  โดยทรงสำเร็จวิชาทหารจาก โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ (Sandhurst Royal Military Academy) ต่อมาได้ทรง ศึกษาหลักสูตรปืนเล็ก และทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นนายทหารสังกัดในกรมทหารราบเบาเดอรัมรักษา
พระองค์ (Durham Light Infantry Regiment) ก่อนที่จะเสด็จนิวัตประเทศไทย จึงทรงมีความรู้ทางด้าน การทหารเป็นอย่างดี จนนำมาสู่การจัดตั้งองค์กรเสือป่าขึ้นซึ่งเป็นกองกำลังฝ่ายพลเรือน

องค์กร เสือป่าที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งขึ้นนี้มีสมาชิก รุ่นแรก 141 คน  ซึ่งได้เข้าพิธีถือน้ำสาบานตนที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 6  พฤษภาคม พ.ศ. 2454 โดย เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการประกอบพิธีและทรง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการเสือป่าด้วยสมาชิกของเสือป่า ในระยะแรกเป็นข้าราชการพลเรือนต่อมาจึงให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกวิสามัญได้โดยที่ไม่ ต้องมาฝึกหัดประจำ เพราะถือว่าได้รับการฝึกหัดเป็นปรกติจากทางทหาร แล้ว  องค์กรเสือป่าได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งมี
จำนวนถึง 10,000 คน ใน พ.ศ. 2467  และขยายไปตามมณฑลทั่วราชอาณาจักรมิใช่เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น

ตลอด ระยะเวลา 15 ปี แห่งการครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศพระ องค ให้กับกิจการเสือป่ามาโดยตลอด  ทรงทุ่มเททั้งกำลังพระวรกายกำลังพระสติปัญญาและพระราชทรัพย์ให้กับเสือ ป่าอย่างเต็มที่

แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว  กิจการของเสือป่าก็ยังอยู่จนถึงปัจจุบันไม่ได้ยกเลิก แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการรักษาดินแดน ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้รับพระราชกิจพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมาใน พ.ศ. 2505 กรมการรักษาดินแดนจึงได้สร้างพระบรมราชานุสรณ์ขึ้นในสวนเจ้าเชต

 

       

บนห่วงยึดโครงลูกเลื่อนกับพานท้ายด้านซ้ายเป็นชื่อของโรงงานที่ สร้างปืน
B.S.A.Co. (BIRMINGHAM SMALL ARMS COMPANY )

     

 ปืนพระราม 6 จัดแยกอยู่ในคลังเก็บอาวุธของกองเสือป่าต่างๆดังนี้
ปืนพระราม 6  อยู่ในคลังเก็บอาวุธสวนจิตรลดา   5,945  กระบอก
ปืนพระ ราม  6 อยู่ที่กองเสนากรุงเทพ ฯ                    500 กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาตะวันตก                    500  กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาปักษ์ใต้                       700 กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาภูเก็ต                         300  กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาอยุธยา                       100  กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาตะวันออก                   460 กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาอาคเนย์                      500 กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาอุบล                             300 กระบอก
ปืนพระราม  6 อยู่ที่กองเสนาอิสลาม                       250  กระบอก
         รวมปืนพระราม 6                   10,000   กระบอก

อย่างไรก็ดีกองเสือป่า มิได้ใช้ปืนชนิดนี้ตั้งแต่แรกเพราะได้มีการสั่งซื้อปืนพระราม 6 ในปี     พ.ศ.2463 ( ค.ศ.
1920 ) หรือหลังจากตั้งกองเสือป่าแล้วถึง 9 ปี ซึ่งไม่เป็นที่แน่ชัดว่าก่อนหน้านี้ใช้ปืนชนิดอะไรในการซ้อมรบ
ขณะนั้น บริษัท บีเอสเอ (BSA - Birmingham Small Arms Co.) เป็นเพียงบริษัทเดียวที่ผลิตปืนลีเอนฟิล์ด
ทั้งนี้เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นช่วงแห่งสันติภาพทุกชาติเข็ดต่อการสูญเสียในสงคราม
มีการลดอาวุธ ปิดโรงงานผลิตปืนต่างๆลงเป็นอันมาก  และเป็นเช่นนี้จนถึงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้
อังกฤษไม่ค่อยพร้อมรบนักในเวลาต่อมา

         

แผ่นทองเหลืองสันปืน (Buttplate) และจานบ่งหน่วยรบแกะลวดลายสวย งามเช่นกัน
 

     

ความในโทรเลขถึงโรงงาน บีเอสเอ  ในการสั่งซื้อปืนพระราม 6  พอจะสรุปได้ดังนี้
วันที่ 12  ม.ค. 2463ได้รับคำสั่งซื้อจากสยาม  ปืนลีเอ็นฟิล์ดสั้น (SMLE) พร้อมดาบปลายปืนและสายสะพาย ในราคา 76,625 ปอนด์ และกระทรวงการต่างประเทศ( อังกฤษ ) ไม่ขัดข้อง

วันที่ 12 ก.พ. 2463บริษัทได้ใบอนุญาติส่งออก และขอให้ผู้ซื้อทำการส่งชำระเงินงวดแรก 1/3 ของราคา  ส่วนที่เหลือชำระเมื่อส่ง มอบปืนครบแล้ว

วันที่ 11 มิ.ย. 2463พระองค์เจ้าอาภากร  ได้มาเยี่ยมชมการผลิต     และตรวจปืนรุ่นแรกที่จะส่งทางเรือ ( ปืนหมายเลข1 ได้ถูกมอบให้พร้อมกัน นี้ )

วันที่ 10 ธ.ค. 2463บริษัทส่งมอบครบทั้ง  10,000  กระบอกและขอเจรจาเพื่อเสนอขายเพิ่ม

ปืน พระราม 6 หมายเลข 1 กระบอกที่เสนอต่อผู้อ่านนี้ เป็นปืนประเภท Presentation Model คือแกะลวด
ลาย สวยงามมอบให้แก่บุคคลสำคัญหรือพิธีการสำคัญต่างๆ พบว่าบนตัวปืนแกะ ลายดอกไม้ (Floral Pattern)
สวย งามตั้งแต่แม็กกาซีน โครงปืน  แผ่นเหล็กบังศูนย์หน้า เหล็กรองพานท้าย รวมไปถึงน๊อตทุกตัว จากที่พบ
ในสภาพคลุกฝุ่นอยู่ใต้ถุนพระราชวังเพียงนำมาเช็ดถูเท่านั้นความงามก็ปรากฏ แก่สายตา

         

หมายเลขไทย "๑" ถูกล้อมโดยลายดอกไม้ข้างรังเพลิง และข้างของโคนลำ กล้อง  มีตรายี่ห้อ BSA (เครื่องหมายปืน 3 กระบอกพาดกัน) อยู่ด้านบน รังเพลิง

     

 ปัจจุบันเชิญท่านชมได้ที่พิพิธภัณฑ์อาวุธใต้พระที่นั่งจักรี ในพระบรมมหาราชวัง  ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่สำหรับเชิดหน้าชูตาแก่คนไทยและต่างประเทศ  ที่แวะมาชมวัดพระแก้ว  ปืนส่วนใหญ่เป็นของส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์หรือใช้ใน หน่วยทหารรักษาวัง  ซึ่งรวมไปถึงอาวุธมีคมทั้งหลายและปืนคาบศิลาเป็นต้น  จำไว้ว่าที่นี่เปิดให้ชมในวันและเวลาราชการเท่านั้น

       

ปืนพระราม 6 หมายเลข 1 มีการแกะลายเช็คเกอร์อย่างประณีต รวมทั้งที่กระโจมมือและด้ามของดาบปลายปืน ที่ซองและที่โคนของดาบปลายปืนมีหน้าเสือเป็นสัญลักษณ์
ส่วนปากกระบอกของปืน  ส่วนยื่นต่อจากลำกล้องและใต้ลำกล้องเป็นที่เสียบดาบปลายปืน และมีแผ่น เหล็ก 2 แผ่นซ้ายขวา (EARE) เป็นที่ป้องกันศูนย์หน้ามิให้ชำรุดก็แกะลวดลายสวยงามเช่นกันดาบปลายปืน ลีเอ็นฟิล์ด SMLE เรียกว่า  ดาบรุ่น 1907 เป็นดาบยาวตามสมัยนิยมยุคสงครามโลกครั้งแรกซึ่งแข่งกันในเรื่องความยาว เพื่อจะได้แทงถึงก่อนข้าศึก  ต่างจากปืนรุ่น  No4. Mk1 ซึ่งเป็นแบบสั้นเรียวเหมือนหลาว

ความเป็นมาของปืน ลีเอ็นฟิล์ด
กล่าวโดย ย่อ กองทัพอังกฤษได้เริ่มสรรหาปืนระบบลูกเลื่อนเพื่อใช้แทนปืน มาตินี่ เฮนรี่ (Martini Henry)
แบบบรรจุเดี่ยวซึ่งล้าสมัยในปี ค.ศ. 1880  โดยได้นำปืนระบบลูกเลื่อนที่ นาย เจมส์  พารีช ลี (James P.
Lee) ชาวอเมริกันออกแบบไว้แรกตั้งใจจะใช้กระสุนดินดำขนาดใหญ่ พอดีฝรั่งเศสนำปืนเลเบล (Lebel)
ใช้กระสุนไร้ควันเข้าประจำการ จึงหันมาใช้ดินแบบใหม่กับกระสุนขนาดเล็กได้แก่กระสุนขนาด .303 British
พร้อม กับลำกล้องแบบเมทฟอร์ดในปี ค.ศ. 1888 จึงเรียกว่าปืน ลีเมทฟอร์ด (Lee Metford) มีความยาว 
49.5 นิ้ว  จุกระสุนได้ถึง 8 นัด  จัดเป็นปืนลูกเลื่อนที่มีความคล่องตัวสูง และต่างกับปืนลูกเลื่อนเมาเซอร์ต
รงที่ขึ้นลำในจังหวะผลักลูกเลื่อนเข้าหารังเพลิง ( cock on closing )  ที่ต้องกล่าวถึงปืน ลีเมทฟอร์ด เพราะ
เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวโดยตรง  ในระหว่างที่ทรงประจำการในหน่วยทหารราบเบา
รักษาพระองค์เดอรัม ได้ทรงโปรดการยิงปืนมาก และโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลลายไทย ไว้กับหน่วยนี้ซึ่ง
วางโชว์ไว้ที่ หน่วยจนกระทั่งภายหลังได้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย ขณะเดียวกันก็ทรงไปเข้าโรงเรียนฝึกแม่น
ปืนที่ ไฮท์  (Musketry School at Hythe)  ทรงพระแสงปืน ลีเมทฟอร์ด มาร์ค 2 ขนาด .303  ได้อย่างเชี่ยว
ชาญจนได้รับประกาศนียบัตรแห่งความแม่นปืน

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์
ในเครื่อง ของหน่วยทหารราบเบารักษาพระองค์เดอรัม

     

 ปืนลีเมทฟอร์ด มาร์ค 2 (Lee Metford Mk. 2) .303 British แบบนี้ใช้แม็กกาซีน 10 นัด

 

 ต่อ มากองทัพอังกฤษได้มีแนวคิดทำปืนมาตราฐานใช้ได้ทั้งหน่วยราบ ปืนใหญ่ และยานเกราะให้กระทัดรัดมีความยาวเท่ากันหมด จึงลดความยาวของปืนเดิมลง 5 นิ้ว น้ำหนักเบาขึ้น 0.9 ปอนด์ ใช้ลำกล้องใหม่ตามแบบที่โรงงานสรรพวุธทหารที่เอ็นฟิล์ด (Enfield Lock) ดัดแปลง จึงเรียกย่อๆว่า SMLE หรือ Short Magazine Lee Enfield  No.1  Mk. 3

ปืนพระราม 6  ทั้งหมดเป็นปืนรุ่น SMLE ที่ดัดแปลงให้มีชิ้นส่วนน้อยลงและง่ายประหยัดในการผลิตช่วงสงคราม ซึ่งสัญลักษณ์ของกองทัพอังกฤษจะ ใช้ ดาว (*) ต่อท้าย ทราบโดยทั่วไปว่า SMLE No.1 Mk 3*(Star)
  ข้อสังเกตอีกอย่างคือ ปืนพระราม 6 ต่างจากปืนที่ผลิตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงที่ไม่มีอุปกรณ์ 2 ชนิด  ชนิดแรก คือ  ศูนย์พิเศษสำหรับยิงวอลเล่ย์ระยะไกล  ลักษณะเป็นจานมีก้านศูนย์หมุนลงได้อยู่บนด้านหน้าซ้ายของศูนย์หน้า ศูนย์วอลเล่ย์นี้เหมาะกับการรบกับทหารม้า  หรือชาวพื้นเมืองในสมัยล่าอาณานิคมที่มักจะวิ่งประจันหน้ามาเป็นแถว หน้ากระดานทีละพันๆคน อุปกรณ์ชนิดที่ 2 คือลิ้นกั้นกระสุนในแม็กกาซีนไม่ให้สปริงดันกระสุนป้อนเข้ารังเพลิง  ทำให้ทหารราบยิงแล้วบรรจุด้วยมือทีละนัดสำหรับยิงแบบวอลเล่ย์ดังกล่าว ต่อเมื่อข้าศึกบุกมาถึงแนวรับจึงจะระดมยิงด้วยกระสุนในแม็กกาซีนทั้ง 10 นัด

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ในเครื่อง
ของ นักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช ประเทศอังกฤษ  
เป็นพระมหา กษัตริย์ในราชวงศ์จักรีอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงคุ้นเคย
กับปืน ลีเอ็นฟิล์ดดังในภาพนี้

     

ศูนย์พิเศษสำหรับยิงวอลเล่ย์ระยะไกล เวลาใช้หมุนก้านลงตามมาตรระยะที่ต้องการเมื่อประทับมองจาก ศูนย์หลังปากลำกล้องจะเป็นมุมเงยเพื่อยิงให้วิถีโค้งหาทหารม้าหรือชาวพื้นเมืองในสมัยล่าอาณานิคมที่มักจะวิ่งประจันหน้ามาเป็นแถวหน้า กระดาน
ทีละพันๆคน

     

ลิ้นกั้นกระสุนในแม็กกาซีนไม่ให้สปริงดันป้อนกระสุนในตำแหน่งปิด ทำให้บรรจุด้วยมือทีละนัดสำหรับยิงแบบวอลเล่ย์ดังกล่าว เมื่อข้าศึกมาถึงแนวรับจึงจะระดมยิงด้วยกระสุนในแม็กกาซีนทั้ง 10 นัด

 

ทั้งหมดนี้คือความเป็นมาของปืนพระราม 6 จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ปืน ลีเอ็นฟิล์ด  แบบ SMLE No.1 Mk.3  เพียง 10,000 กระบอก ที่มีตราเสือป่า ผลิตให้แก่ประเทศในเอเชียที่ไม่เคยเสียเอกราชให้ชาติตะวันตกใด  จะกลายเป็นของสะสมที่หายากถ้าจะเปรียบกับ  ปืนชนิดเดียวกันนี้ที่ผลิตขึ้นหลายล้านกระบอก ปืนพระราม 6  จึงรู้จัก ในต่างประเทศว่า ปืน Wild Tiger เพราะทางราชการได้ขายทอดตลาดไปเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน
และไม่ต้องสงสัย ว่า ปืนพระราม 6  หมายเลข 1 กระบอกนี้จะเป็นสมบัติของชาติอันน่าหวงแหนเพียงใด

Credit: http://www.thailandoutdoor.com/GunStory/Rama6/rama6.html
#ปืน
Messenger56
เด็กกองถ่าย
สมาชิก VIP
18 พ.ค. 53 เวลา 22:28 4,007 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...