ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น
สีที่เราเคยได้เรียนรู้เเละจำกันนั้น มีอยู่ 12 สี คือ สี ขาว ดำ เเดง เหลือง น้ำเงิน ชมพู ฟ้า เขียว เทา น้ำตาล ม่วง ส้ม เเต่ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีเเละวิทยาศาตร์ ได้พัฒนาสี มากกว่า หมื่นสีในยุคปัจจุบัน การพัฒนาสีนั้นก็เพื่อความหลากหลาย ในการใช้งาน การใชสอย เเละสีสันของการนำมาใช้
สีนั้นเเบ่งออกเป็น โทน หรือ วรรณะ ออกเป็น 2 วรรณะ ด้วยกัน คือ วรรณะร้อน เละวรรณะเย็น ตามภาพ
เเล้วสี ทำไมถึง นำมาใช้เเบ่งฝักเเบ่งฝ่ายในสังคมไทย?
การนำสีมาใช้เเทนกลุ่มหรือสัญลักษณ์มีมาตั้งเเต่บรรบุรุษของเราเเล้วเมื่อ เกิดสงคราม เวลาที่จะยกทัพไปสู้รบกับศัตรู สีก็จะถูกนำมา ใช้ในการเเบ่งกลุม เพื่อเป็สัญลักษณ์ของเเต่ละกลุ่ม เเต่สมัยนี้สีก็ยังถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็น สีประจำวันเกิด สี ประจำ สถานศึกษา(ของข้าพเจ้าเองก็ใช้สี ชมพู) สีประจำ สัญญาณไฟ จราจร สีประจำเครื่องเเบบ เช่น ทหารบก สีเขียว ทหารเรือ สีขาว ทหารอากาศสี ฟ้า เป็นต้น
เเต่สีก็ถูกน้ำมาใช้ทางการเมือง เช่นกัน เช่นสี เหลือง ถูกใช้โดย กลุ่มพันธมิตร สีเเดง ถูกใช้โดยกลุ่ม นปช เเต่ ประเทศไทย มีธงอยู่ 3 สี 5 แถบ เเต่ทำไมปัจจุบันนั้น กลุ่มเเต่ละกลุ่ม ใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ประจำกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น สีเหลือง สีเเดง สีเขียว สีขาว เเละสีน้ำเงิน
การเเบ่งฝักเเบ่งฝ่ายนั้นสีไม่ได้เป็นเเค่สัญลักษณ์เท่านั้นเเต่สีก็ถูกนำมา ใช้เพื่อบอกเจตนารมณ์ ของ กลุ่มเช่นกัน
จริงหรือไม่ที่สีนั้นจะมีอิธิพล มากไปกว่าเจตนารมที่เเท้จริงของผู้ที่ออกมาเรียกร้องของอุดมการณ์ ของเเต่ล่ะกลุ่ม เช่น
กลุ่มเสื้อ สีเหลือง มีเเนวคิดเเละอุดมการณ์ เพื่อเรียกร้อง ความถูกต้อง อุดมการณ์ ที่อยากเห็นประเทศชาติตั้งอยู่บนความถูกต้อง ไม่คอรัปชั่น เรียกร้องการเมืองใหม่ที่ดี เเละการได้มาของคนที่มีความซื่อสัตย์ ปกป้องสถาบัน เเละ อุดมการณ์ที่อยากให้ประเทศชาติ หมดเรื่องของนักการเมืองที่ทำลายชาติ
กลุ่ม เสื้อสีเเดง มีเเนวคิดอุดมณ์อุดมการณ์ ที่เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการทหาร เรียกร้องความถูกต้องของสังคม เเละการได้มาของรัฐธรรมมนูญที่พวกเสื้อเเดง คิดว่ารัฐธรรมมนูญฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย พอ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มาจากรัฐประหาร เมื่อ 19 กย 49 เเละเรียกร้องความถูกต้องให้กับ อดีตนายก ที่ต้องพำนักอยู่ต่างประเทศ
เสื้อสีน้ำเงิน เป็นกลุ่มที่พึ่งเกิดมาไม่นานนี้เอง กลุ่มนี้หลายๆๆสื่อให้น้ำหนักว่าเป็นกลุ่มของ ภูมิใจไทย เเละเป็นการตั้งของนายเนวิน ผมเขียนตามสื่อนะคับ เเละพยายามในการที่จะตั้งขั่วการเมืองใหม่โดยการจับระหว่างกลุ่มเนวินเเละ ทหารบางคน อันนี้ก็เขียนตามการรายงานของสื่อเช่นกันคับ
กลุ่มสีเขียว คือกลุ่มที่เป็นพวกทหารบางคนที่ต้องการพลิกการเมืองให้ได้รัฐบาลใหม่ หรือสื่อให้น้ำหนักว่าเป็นกลุ่มที่มีอำนาจ อิธิพลในการจัดตั้งรัฐบาล เเละมีอำนาจเหมือนลมพัด ที่จะทำให้ การเมือง ลอยไปตามลมได้เช่นกัน
กลุ่ม สีขาว คือกลุ่ม องกรภาครัฐ เเละเอกชนที่ เรียกร้อง การหยุดทำร้ายประเทศไทย เพื่อต้องการให้เเต่ละกลุ่ม ปรองดองกัน ออกมารณรงค์ให้ ประชาชนรักกัน สามัคคีกัน ไม่ทำร้ายกัน เพราะกลุ่มนี้มีเเนวคิดว่า ประชนมาทำร้ายกันเองคงมีเเต่จะให้ ประเทศชาติ เศษรฐกิจ ถดกอยลง เหมือนกับยิ่ง ซ่ำเติม แผล เก่าที่ยังไม่หายดี จากภาวะการเมือง เศษรฐกิจ เเละสังคมในปัจจุบัน
อย่าง ไรก็ตาม อุดมการณ์เป็นเรื่องที่ดี อุดมการณ์เป็นเรื่องของเเนวคิดเพื่อประเทศชาติ ประชาชน เเละ สัมคม อันนี้ย่อมที่จะยอมรับได้ เเต่ถ้าเมื่อไหร่เเล้วการนำเอาอุดมการณ์ มาเป้นเครื่องมือในการเรียกร้องเพื่อส่วนกลุ่ม หรือบุคคลใดเเล้ว อุดมการณ์ก็คงไม่ต่างกับ ความคิด ที่กลั่นมาจากสมอง ผ่านทางปากที่เต็มไปด้วยขี้ฟัน น้ำลายที่เต็มไปด้วย เเบคทีเรีย พ่นออกจากปากไปก็มีเเต่ของเสียๆๆออกมาอยู่วันยังค่ำ
( credit : ข้อมูลธงชาติไทยจาก www.th.wikipedia.org ภาพ เรื่อง สี จาก www.google.com )
โดย จันทร์ราตรี