จง ภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทยเพราะ*กองทัพเรือไทยเราติดอันดับโลก*

จงภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทยเพราะ

กองทัพเรือไทยเราติดอันดับโลก

จงภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทยเพราะ กองทัพเรือ ไทย เราติดอันดับโลก แล้วอีกทั้ง Class ของเรืออันดับต้นๆของโลกไทยเราก็มี แถมไทยเรายังมีเรือบรรทุกเครื่องบิน ด้วยนะ





Naresuan

421 Naresuan 1994
458 Taksin 1995





Knox

461 Phuttha Yotfa Chulaok 1974
462 Phittha Loetia Naphalai 1970



Pattaniแวะฮ่องกง ก่อนกลับไทยหลังจากการต่อเสร็จที่จีนครับ เพราะเรือชุดนี้สั่งต่อที่ประเทศจีน

511 Pattani 2006
512 Naratiwat 2006






Jianghu

455 Chao Phraya 1991
456 Bangpa-Kong 1991
457 Kraburi* 1992
458 Saiburi* 1992







Rattanakosin
441 Rattanakosin 1986
442 Sukhothai 1987



Khamronsin
531 Khamronsin 1992
532 Thayanchon 1992
533 Longlom 1992



Huahin
541 Huahin 2000
542 Klaeng 2000
543 Si Racha 2001



Ratcharit
เรือประจำ การโจมตี321 - 323.
เข้าประจำการเมื่อปี1979 1980



Prabparapak

เรือ ประจำการโจมตี311 - 313.
เข้าประจำการเมื่อปี1976 1977




Chon Buri

เรือ ประจำการโจมตี: 331 - 333.
เข้าประจำการเมื่อปี1983 - 1984.



แล้วยังมีเรือ อื่นๆเช่น...ตรวจการณ์ชายฝั่ง ตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเป็นต้น



ไม่ได้เอา ความลับของทางราชการมาเปิดเผย  แต่ตั้งใจประกาศให้ก้อง โลกว่า....กอง ทัพเรือไทย ติดอันดับโลก*   

                     

                     

เพิ่มเติมครับ

 

 

   

การฝึกความพร้อมเรือหลวงจักรีนฤเบศร   
     “ลับดาบไว้พลาง ช้างบนยอดกาฟฟ์จะนำ” วรรคหนึ่งจาก ดอกประดู่ บทเพลงพระนิพนธ์ใน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย เปรียบเสมือนคำสอนสั่งผ่านบทเพลงจากรุ่นสู่รุ่น ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการหมั่นฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการงานหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นการการเตรียมความพร้อมทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี สำหรับการออกปฏิบัติภารกิจในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ของเรือรบไทย
     หมวดเรือฝึกความพร้อม ร.ล.จักรีนฤเบศร และอากาศยานประจำเรือ เป็นชื่อที่คุ้นเคยของการฝึกความพร้อมหรือการออกเรือฝึกในทะเลของ ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง และจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เนื่องด้วยความที่เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีกำลังพลประจำเรือจำนวน มากถึง 500 นาย และมีการปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน และเรือผิวน้ำในกระบวนเรือในตลอดห้วงเวลาที่ออกปฏิบัติภารกิจ จึงจำต้องมีหลักการปฏิบัติงาน และรายละเอียดของการปฏิบัติงานร่วมกันที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านเป็น พิเศษ ประการต่อมากำลังพลประจำเรือจำต้องมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ที่ตนรับผิดชอบ และสามารถทำงานประสานสอดคล้องกันกับส่วนต่างๆ ของเรือ ซึ่งได้สั่งสมมาจากการฝึก ศึกษา และจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยในแต่ละปีงบประมาณจะมีการออกเรือฝึกเฉลี่ยแล้วสองเดือนหนึ่งครั้ง โดยมีรูปแบบการฝึกที่แตกต่างกันไป โดยรูปแบบการฝึกในต้นปีงบประมาณ จะมีกำลังพลส่วนหนึ่งซึ่งได้รับการบรรจุลงเรือเป็นครั้งแรก และยังไม่มีความคุ้นเคยในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการฝึกความพร้อมของเรือและอากาศยานประจำเรือจะมีความมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบความพร้อมในด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี รวมไปถึงบรรณสารคู่มือที่ใช้ประกอบการปฏิบัติต่างๆ จากนั้นห้วงต่อไปจะเป็นขั้นการเพิ่มระดับการฝึกที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน มากขึ้น โดยเป็นการฝึกร่วมในระดับกองเรือ ซึ่งมีเรือต่างประเภทเข้ามาฝึกร่วม ระดับกองทัพเรือเป็นการฝึกทดสอบแผนตามที่กองทัพได้จัดทำขึ้น และกองทัพไทยเป็นการฝึกร่วมระหว่างเหล่าทัพ รวมทั้งในบางครั้งอาจจะมีการฝึกร่วมกับเรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือมิตรประเทศ
 
 
     การออกเรือทำการฝึกในทะเลแต่ละครั้งนั้น ฝ่ายอำนวยการของกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ในทุกสายงาน ทั้งด้านกำลังพล ยุทธการ การข่าว การส่งกำลังบำรุง และการสื่อสาร จะร่วมประชุมเพื่อวางแผนทำการฝึก และเสนอขออนุมัติผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จัดตั้งหมู่เรือฝึกความพร้อมของเรือและอากาศยานประจำเรือขึ้น และประสานขอรับการสนับสนุนเรือ/อากาศยานที่ออกปฏิบัติราชการต่างๆเข้าร่วม สมทบในบางหัวข้อการฝึก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการฝึก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะกำหนดพื้นที่ฝึกในบริเวณอ่าวไทย โดยมีห้วงเวลาในการฝึกประมาณ 3-4 วัน และมีหัวข้อการฝึก หรือการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

การเตรียมการก่อนการออกเรือ ทุกๆแผนกภายในเรือจะต้องเตรียมการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปตามแผนการฝึก และจะมีการจัดการประชุมก่อนการออกเรือ เพื่อตรวจสอบความพร้อมในทุกๆด้าน และซักซ้อมความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติทุกขั้นตอนเป็นครั้งสุดท้ายก่อน การออกเรือจริง
การจัดโครงสร้างในการฝึก เมื่อมีการออกเรือปฏิบัติการ หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศรจะเคลื่อนย้ายกำลังมาสู่เรือ โดยจำนวนของอากาศยานจะขึ้นอยู่กับความต้องการจากการฝึก รวมทั้งมีเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งมาร่วมในการฝึกด้วย ทั้งเรือและอากาศยานจะประกอบกำลังเป็นหมวดเรือเฉพาะกิจ ซึ่งมีผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เป็น ผู้บัญชาการหมวดเรือ รวมทั้งจะมีนายทหารฝ่ายอำนวยการในสาขาต่างๆ เช่น นายทหารกำลังพล นายทหารยุทธการ นายทหารการข่าว นายทหารส่งกำลังบำรุง และนายทหารสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะมีหน้าที่ในการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติของหมวดเรือให้เป็นตามแผนการ ฝึกที่กำหนดไว้
รูปแบบการปฏิบัติงานของ กำลังพล จะจัดเป็นยามเรือเดิน 2 ผลัด ผลัดละ 6 ชม.สลับกันไปตลอดเวลา ซึ่งยามแต่ละผลัดนั้นสามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุมสถานการณ์เดินเรือตามปกติ ได้ เพื่อให้เรือสามารถปฏิบัติงานได้ตามขีดความสามารถตลอดเวลา 24 ชม. แต่ในกรณีที่มีสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้ยามเรือเดินปกติปฏิบัติได้ จะให้กำลังพลประจำสถานีการปฏิบัติทั้งหมด  เช่น สถานีออก-จอดเรือ สถานีรบ เป็นต้น 
การประจำสถานีออก-จอดเรือ เปรียบเสมือนการขับรถยนต์ขนาดใหญ่เข้าจอดในช่องที่กำหนดซึ่งมีรถจอดอยู่ทั้ง ข้างหน้าและข้างหลัง จะต้องมีประสบการณ์ในการขับรถที่ชำนาญจึงจะเข้าจอดได้อย่างเรียบร้อย ซึ่งในการขับรถนี้ไม่มีอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม แต่ในการออก-จอดเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร มีอุปสรรคต่างๆ ค่อนข้างมาก ทั้งจากกระแสน้ำขึ้น-ลง และกระแสลมที่พัดเข้า-ออกจากท่า เชือกจำนวน 8 เส้นขนาดใหญ่ถึง 7นิ้วในการยึดตรึงเรือให้เทียบกับท่าเรือ ซึ่งจะต้องใช้แรงงานไม่น้อยกว่า 4 คน ในการดึง การสื่อสารกับเรือทักซึ่งใช้ในการดันหรือดึงเรือให้เข้า-ออกจากท่า ในส่วนของจุดเทียบเรือจะมีเรือขนาดใหญ่ทั้งหัวและท้ายท่าจอดเทียบอยู่ และช่องทางเดินเรือมีความคับแคบของร่องน้ำ ส่วนสุดท้ายคือจะต้องใช้ความชำนาญจากกำลังพลประจำเรือจากส่วนต่างๆ ทำงานประสานสอดคล้องกันให้เรือได้เข้า-ออกจากท่าตามที่ต้องการ         

 
  ส่วนการฝึกสถานการณ์การรบ ต่างๆ จะมีการสมมุติสถานการณ์ต่างๆ ขึ้น เพื่อฝึกการประจำสถานีรบ ซึ่งเป็นขั้นความพร้อมในการรับสถานการณ์ที่สูงสุดของเรือ กำลังพลทั้งหมดจะเข้าประจำตำแหน่งหน้าที่ของตน พร้อมที่จะใช้อาวุธและอากาศยานประจำเรือในทันที และอาจสมมุติสถานการณ์ว่าเรือถูกโจมตี และได้รับความเสียหาย เพื่อตรวจสอบความพร้อมและการปฏิบัติของหน่วยซ่อม(Repair Party) ในการป้องกันความเสียหาย ทั้งการดับเพลิง และการอุดปะค้ำจุนเมื่อเกิดรูทะลุขึ้น  ตรวจสอบการปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บของส่วนแพทย์ รวมทั้งตรวจสอบการค้นหาอะไหล่เรือจากระบบการจัดเก็บอะไหล่เรือเพื่อซ่อมทำ อุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย
การเดินเรือ ตลอดช่วงเวลาที่เรือเดินทางนั้น นอกเหนือจากการควบคุมการเดินทางให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ในแผนที่แล้ว เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสะพานเดินเรือจะทำการฝึกหาตำบลที่ของเรือ โดยใช้ที่หมายชายฝั่ง เรดาร์ GPS และวิธีการอื่นๆ ตลอดจนฝึกการเดินในร่องน้ำหรือน่านน้ำจำกัด การเดินเรือในทะเลเปิด การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสบการณ์ ความชำนาญของชุดนำเรือ ในขณะเดียวกันผู้นำเรือก็จะหมั่นตรวจสอบและสังเกตคุณลักษณะอาการของเรือ เช่น วงหันเรือ โมเมนตัม และความเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในการนำเรือ ซึ่งในสถานการณ์ฉุกเฉินผู้นำเรือจะต้องนำเรือให้ตอบสนองต่อความต้องการทาง ยุทธการได้
การบรรยายสรุป ก่อนการบิน ก่อนการขึ้นปฏิบัติการของอากาศยานในทุกภารกิจ จะต้องมีการบรรยายสรุปข้อมูลให้กับนักบินและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ หัวข้อที่บรรยายจะมีอยู่สามส่วน ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับ สภาพอากาศ คลื่นลม ทัศนวิสัย ในพื้นที่ปฏิบัติการ เนื่องจากขีดความสามารถของอากาศยานจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ส่วนที่สองข้อมูลการปฏิบัติการการบิน (Flight Operation) เกี่ยวกับขั้นตอนทางธุรการทั้งหมดในการนำอากาศยานขึ้นและรับกลับ เช่น การเคลื่อนย้ายอากาศยาน การเติมน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน รวมไปทั้งเรื่องนิรภัยการบิน ส่วนสุดท้ายคือข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางอากาศ (Air Operation) นักบินจะต้องทราบข้อมูลที่สำคัญ เช่น นามเรียกขาน แผนการปฏิบัติ กำลังฝ่ายเดียวกันหรือข้าศึก ข้อกำหนดในการใช้อาวุธ จุดอ้างอิง ความถี่ที่ใช้ติดต่อ สนามบินสำรอง เป็นต้น
การฝึกขึ้น-ลงของอากาศยาน (Deck Landing Qualification) เป็นการฝึกความชำนาญของนักบิน เนื่องจากขึ้น-ลงของอากาศยานบนเรือแตกต่างจากการขึ้น-ลง บนบก เนื่องจากเรือมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา มีอุปสรรคจากคลื่น และลม รวมทั้งนักบินมีข้อกำหนดช่วงระยะเวลาการฝึกบินขึ้น-ลง เช่น ภายใน 2 เดือน จะต้องมีการฝึกขึ้น-ลง 5 ครั้ง เป็นต้น ถ้านักบินไม่ทำตามกำหนดเวลาจะขาดวัฎภาคการบินจะต้องไปเริ่มกระบวนการฝึกหลัก ปฏิบัติในการขึ้น-ลงเรือใหม่ การฝึกปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ในส่วนควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control) ในการควบคุมอากาศเข้า-ออกจากเรือ ฝึกเจ้าหน้าที่ของหอบังคับการบิน(Tower) ในการควบคุมอากาศยานขึ้น-ลงเรือ รวมถึงเจ้าหน้าที่ดาดฟ้าบิน (Flight Deck) ซึ่งเป็นการสนับสนุนอากาศยานให้สามารถการปฏิบัติการการบินได้ตามที่ต้องการ  
  การฝึกค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (Search and Rescue) รูปแบบในการฝึกนั้นอาจจะเริ่มจากการทิ้งผู้ประสบภัยสมมุติลงในทะเล จากนั้นจะทำการวางแผนในการค้นหาโดยคำนวณกระแสน้ำ กระแสลม และกำหนดพื้นที่และรูปแบบการค้นหา ต่อมาเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือจะขึ้นทำการค้นหา เมื่อพบผู้ประสบภัยนักประดาน้ำลงไปลำเลียงผู้ประสบภัย หรืออาจจะเป็นการประสานฝึกกับเรือประมง โดยสมมุติเหตุการณ์ในการลำเลียงผู้ป่วยจากเรือประมงขึ้นสู่เฮลิคอปเตอร์  อุปสรรคในการปฏิบัติเกิดจาก คลื่นและลมของสภาพแวดล้อม
การฝึกรับ-ส่งสิ่งของในทะเล เป็นการฝึกเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงในทะเล เนื่องจากเมื่อเรือปฏิบัติการในทะเลเป็นเวลานานอาจจะต้องมีการรับ-ส่ง น้ำ น้ำมันหรือสิ่งของต่างๆ การรับ-ส่ง สิ่งของมีทั้งระหว่างเรือกับเรือ ด้วยการนำแล่นขนานในระยะใกล้ประมาณ 90 – 120 ฟุต เพื่อทำการรับ-ส่ง น้ำ น้ำมัน ผ่านท่อรับ-ส่ง หรือของแข็ง ผ่านเชือกรอกลำเลียง ซึ่งผู้นำเรือจะต้องมีความชำนาญในการนำเรือที่มีขนาดใหญ่เข้าใกล้กับเรือ ขนาดเดียวกันในระยะเพียง 30 เมตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่รับ-ส่งจะต้องจัดการเคลื่อนย้ายกับเชือกขนาดใหญ่หรือ ท่อน้ำมันขนาดใหญ่ในขณะที่เรือมีความเร็วและมีอุปสรรคทั้งคลื่นและลม การรับ-ส่งสิ่งของระหว่างเฮลิคอปเตอร์กับเรือ เป็นการรับ-ส่งสิ่งของที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่มีความยากตรงนักบินจะต้องควบคุมเฮลิคอปเตอร์ให้ตรงกับตำบลที่ที่ต้องการ แต่มีสิ่งท้าทายจากความเร็วเรือ คลื่นและลม
การฝึกการรบใน สาขาต่างๆ  ในสถานการณ์ของสงครามหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ กำลังทางเรือจะใช้ในการควบคุมทะเล รักษาเส้นทางการคมนาคมทางทะเล ให้เราสามารถใช้ทะเลได้ในการขนส่งสินค้นเข้า-ออกจากประเทศ การขนส่งสินค้ายุทธปัจจัย ฝ่ายตรงข้ามพยายามจะค้นหาว่าเรือบรรทุกเฮลิคอปตอร์อยู่ที่ไหนและกำลัง ปฏิบัติอะไร ซึ่งภัยคุกคามที่มีต่อกองกำลังทางเรือที่สำคัญจะมาจากทั้งสามมิติ คือ ทางอากาศจากเครื่องบินและอาวุธปล่อยต่างๆ จากเรือผิวน้ำ และจากใต้น้ำ โดยมีการฝึก
-การป้องกันภัยทางอากาศ สมมุติให้อากาศยานฝ่ายตรงข้ามต้องการค้นหาและเข้ามาโจมตีกระบวนเรือ ฝ่ายเราจะมีการควบคุมอากาศยานในการค้นหาและเข้าขัดขวาง รวมทั้งใช้อาวุธประเภทต่างๆ จากเรือในกระบวนในการต่อต้านภัย รวมทั้งมีการฝึกการนำเรือทางยุทธวิธีในการหลบหลีกการโจมตีของอากาศยาน
-การป้องกันภัยผิวน้ำ โดยสมมุติให้เรือฝ่ายตรงข้ามต้องการมาขัดขวางการใช้ทะเล ฝ่ายเราจะต้องมีการใช้ยานต่างๆ ในการตรวจจับ ควบคุมอากาศยานในการค้นหา เมื่อ พิสูจน์ทราบได้ อาจจะมีแจ้งตำบลเป้าเพื่อให้เรือในกองกำลังใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อตีเป้า หมาย  ในระยะไกล
-การป้องกันภัยจากเรือดำน้ำ สมมุติ เรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ ฝ่ายเราจะต้องมีการใช้ยานต่างๆ ในการค้นหาและตรวจจับ ฝึกการควบคุมอากาศยานค้นหาตำบลที่ของเรือดำน้ำโดยใช้โซนาร์ชักหย่อน และประสานกับเรือผิวน้ำในการใช้โซนาร์ตรวจจับเป้าหมาย เมื่อตรวจพบมีการฝึกการควบคุมอากาศยานเข้าทิ้งตอร์ปิโดในตำบลที่ของเรือดำ น้ำ  หรือแยกเรือผิวน้ำเข้าไปต่อตีเป้าเรือดำน้ำนั้น
การประชุมสรุปผลการปฏิบัติประจำวัน  ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกทั้งหมด จะรวบรวมผลการปฎิบัติ ปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อสังเกตต่างๆ เข้าร่วมชี้แจงและหารือในที่ประชุม ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขในการฝึก และเป็นประโยชน์ในการปฎิบัติจริงต่อไป     
 

     การฝึกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า ทุกภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องเอกราชและอธิปไตยของชาติ การดำรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของราชนาวีไทย การคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และการบรรเทาทุกภัยให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทย  เรา เรือหลวงจักรีนฤเบศร มีความพร้อมอ






Credit: กองทัพเรือไทย
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...