“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ดีที่สุดในอาเซียน/ปิ่น บุตรี

พิพิธภัณฑ์สิรินธร หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่น่าสนใจยิ่งของเมืองไทย         เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ 60 พรรษา คอลัมน์นี้จึงขอร่วมเฉลิมพระเกียรติ ด้วยการชวนไปสัมผัสกับหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพฯ นั่นก็คือ "พิพิธภัณฑ์สิรินธร" หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่น่าสนใจยิ่งของเมืองไทย
       
       ย้อนรอยพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สุดเจ๋ง
       
       พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ตั้งอยู่บริเวณวัดสักกะวัน ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 
  หลุมขุดค้นภูกุ้มข้าวที่พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน เป็นผู้ค้นพบค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์         ต้นกำเนิดของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มาจากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในปี พ.ศ. 2537 โดยท่านพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน
       
       ต่อมาในปลายปีเดียวกัน ทางคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณีได้เริ่มเข้าไปทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่าที่ภูกุ้มข้าวเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย โดยนักวิชาการได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ในสมัยดึกดำบรรพ์บริเวณภูกุ้มข้าวเป็นธารน้ำแข็งโบราณที่มีเหล่าไดโนเสาร์มาดื่มกินน้ำ แต่ว่าเกิดภัยพิบัติเฉียบพลันขึ้น ทำให้ไดโนเสาร์ล้มตายบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก 
  ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ยังคงความสมบูรณ์มากแห่งภูกุ้มข้าว         จากนั้นทีมสำรวจก็ได้ลงมือขุดค้น พบกระดูกและซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่นี่ ทางกรมทรัพฯจึงได้ตั้งเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้นในปี 2538 โดยในวันที่ 24 พ.ย. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์และจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น มีการจัดสร้างอาคารหลุมขุดค้นขึ้นชั่วคราว เพื่อใช้ป้องกันซากกระดูกและบังแดดฝน ให้ร่มเงาแก่ทีมสำรวจ 
  การจัดแสดงกระดูกไดโนเสาร์และภาพการขุดค้นที่หลุมขุดค้นภูกุ้มข้าว         ปี 2542 กรมทรัพฯสร้าง“อาคารพระญาณวิสาลเถร”ที่ตั้งชื่อตามสมณศักดิ์ของท่านเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ให้เป็นอาคารหลุมขุดค้นถาวร พร้อมกับเปิดตัวแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ให้คนทั่วไปได้รับรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
       
       ปี 2544 อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธรส่วนแรกสร้างแล้วเสร็จ ก่อนจะทำการทดลองเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. 2550 จากนั้นได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปีถัดมา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดในวันที่ 9 ธ.ค. 2551 
  หุ่นไดโนเสาร์จำลองชูคอต้อนรับ ณ ทางเข้าสู่อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธร         ท่องโลกไดโนเสาร์
       
       พิพิธภัณฑ์สิรินธรเป็นอาคารขนาดใหญ่ มีการออกแบบเลียนแบบชั้นหินให้กลมกลืนกับภูมิประเทศภูกุ้มข้าว ภายนอกอาคารมีการจัดทำหุ่นจำลองไดโนเสาร์หลายพันธุ์จัดแสดงไว้ได้อย่างน่าดูชม
       
       ขณะที่ภายในอาคารนั้นจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวร นำเสนอเรื่องราวของไดโนเสาร์อย่างครบเครื่อง น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเมื่อก้าวเข้าสู่ภายในโถงต้อนรับของพิพิธภัณฑ์ เราก็จะได้พบกับ(หุ่นจำลอง)“สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” ที่ยืนเด่นกลางโถงอ้าปากแยกเขี้ยวทำหน้าถมึงทึง ซึ่งเจ้าตัวนี้ถือเป็นไฮไลท์ของภูกุ้มข้าว เพราะมันเป็นบรรพบุรุษของ“ไทรันโนซอรัส เร็กซ์” หรือ เจ้า“ที-เร็กซ์” จอมโหดแห่งเรื่อง“จูราสสิกพาร์ก” ที่ใครเคยดูหนังเรื่องนี้คงจะคุ้นเคยกันดี 
  โถงทางเข้ากับหุ่นจำลอง สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส         สำหรับการจัดแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์ มีการแบ่งพื้นที่เป็น 8 โซนหลักๆ โดยก่อนจะเข้าสู่ในโซนแรกได้มีข้อความชวนคิดติดไว้ให้อ่านว่า...ผู้อยู่รอด คือผู้ที่รู้จักปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม ไม่ใช่ปรับสภาพแวดล้อมไปตามความต้องการที่ไม่สิ้นสุด... 
  เด็กๆให้ความสนใจต่อหุ่นจำลองไดโนเสาร์บริเวณโซน 4,5 ไม่น้อย         จากนั้นก็จะเป็นเส้นทางเดินชมในโซนต่างๆไปตามเส้นทางที่พิพิธภัณฑ์กำหนดไว้ ไล่เรียงลำดับแต่ละโซนไปดังนี้
       
       โซนที่ 1 คือ “จักรวาลและโลก” ว่าด้วยเรื่องราวการระเบิดครั้งใหญ่หรือ“บิ๊กแบง” อันนำมาสู่กำเนิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลกของเรา 
  บนพื้นทางเดินก็มีสิ่งน่าสนใจให้สังเกต         ส่วนโซนที่ 2 “เมื่อชีวิตแรกปรากฏ” บอกเล่าสภาพของโลก ซึ่งแรกที่ถือกำเนิดยังเป็นดาวเคราะห์ร้อนจัด จากนั้นเมื่อโลกเย็นตัวลง ด้วยสภาพบรรยากาศและน้ำที่เหมาะสม นำไปสู่พัฒนาการของการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าผู้ครองโลกในยุคแรกเมื่อราว 3,400 ล้านปีก่อนคือ สิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่มีบุญคุณต่อโลกอย่างใหญ่หลวง เพราะพวกมันได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลกให้เต็มไปด้วยออกซิเจนอันเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในยุคต่อๆมา 
  การจัดแสดงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในเรื่องราวต่างๆ         โซนที่ 3 “พาลีโอโซอิก : มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณ” มหายุคพาลีโอโซอิกคือเมื่อราว 590-250 ล้านปีที่แล้ว โซนนี้มีการแบ่งย่อยเป็นยุคต่างๆ แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ ไล่ไปตั้งแต่ การเกิดของสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว สัตว์ต้นตระกูลปลา ยุคของปลา เฟิน และเริ่มมีแมลงปีกแข็ง โดยโซนนี้จะมีฟอสซิลน่าสนใจจากแหล่งต่างๆ ให้ชมกัน 
  ส่วนจัดแสดงหุ่นจำลองไดโนเสาร์ ณ บริเวณโถงไฮไลท์         จากนั้นจะเป็นบริเวณไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ ในโซน 4 และ 5 โดยโซน 4 แบ่งเป็น 2 โซนย่อย ได้แก่
       
       โซนที่ 4.1 : “มีโซโซอิก : มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์” ว่าด้วยเรื่องราวของไดโนเสาร์ในยุคต่างๆ ไล่ไปตั้งแต่ยุคกำเนิดสัตว์เลื้อยคลานและกำเนิดไดโนเสาร์(ยุคไทรแอสซิก 250-203 ล้านปี )อันเป็นส่วนหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก(250-65 ล้านปี)ที่หลังจากนี้ไปไดโนเสาร์ได้เริ่มเข้าครอบครองโลกและนำมาสู่ยุคทองของมันในยุคจูแรสสิก(203-135 ล้านปี) ก่อนไปถึงยุคสุดท้ายของมันในช่วงปลายของยุคครีเทเซียส(135-65 ล้านปี) 
  อีกหนึ่งมุมของหุ่นจำลองไดโนเสาร์ ณ บริเวณโถงไฮไลท์         โซน 4.2 “ไดโนเสาร์ไทย” กับ โซนที่ 5 “วิถีชีวิตไดโนเสาร์ไทย” สองโซนที่มีความเกี่ยวพันกัน ถือเป็นแหล่งรวมไดโนเสาร์ดาวเด่นต่างๆในบ้านเรา มีจุดสนใจหลักอยู่บริเวณโถงไดโนเสาร์ที่จัดแสดงอย่างอลังการงานสร้างน่าตื่นตาตื่นใจ ประกอบด้วย ไดโนเสาร์ที่พบในเมืองไทยสายพันธุ์ต่างๆ นำโดยไดโนเสาร์ 8 สายพันธุ์ที่พบเฉพาะในเมืองไทย ซึ่งผมขอไล่เรียงลำดับตามยุคไปดังนี้ 
  หุ่นจำลองซากกะโหลกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ         -ยุคไทรแอสสิก ได้แก่ "อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชชิ" ไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
       
       -ยุคจูแรสสิก ได้แก่ "สเตโกซอร์” ไดโนเสาร์กินพืช มีแผ่นกระดูกขนาดใหญ่เรียงเป็นแถวอยู่บนหลัง ดูต่างจากชนิดอื่นๆ "ฮิปซิโลโฟดอน"ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กของไทย 
  หุ่นจำลองไดโนเสาร์พันธุ์มีเขา         -ยุคครีเทเซียส ได้แก่ "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน" ไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกที่พบในไทย มีขนาดความยาวประมาณ 15 เมตร ความสูงประมาณ 3 เมตร "กินรีมิมัส" ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ มีขนาดราว 1-2 เมตร "สยามโมซอรัส สุธีธรนี" ไดโนเสาร์ที่มีการศึกษาวิจัยเป็นชนิดแรกของไทย "สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส" ไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บรรพบุรุษเจ้าที-เร็กซ์ "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ" ไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดแรกที่พบในไทย 
  ส่วนจัดแสดงที่มีทั้งหุ่นจำลองและวาดประกอบละะภา         นอกจากนี้ยังมีการแสดงเกี่ยวกับไดโนเสาร์พันธ์แปลกๆ(สำหรับผม) อย่างไดโนเสาร์ตัวจิ๋ว ไดโนเสาร์นักวิ่ง ไดโนเสาร์ปากจะงอย ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ไดโนเสาร์หัวเกราะ และไดโนเสาร์พันธุ์อื่นๆอีกหลากหลาย 
  การคืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ในห้องปฏิบัติการที่ทำเป็นผนังเปิดโล่งให้ชม         ส่วนโซนที่ 6 “คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์” โซนนี้ว่าด้วย เหตุใดไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปจากโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานไว้หลายแนวทาง อาทิ ภูเขาไฟระเบิด การคุกคามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนทิศทาง และที่มีน้ำหนักและได้รับการยอมรับมากที่สุดก็คือความเชื่อที่ว่า มีอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกจนเป็นเหตุนำมาสู่การสิ้นยุคไดโนเสาร์ ก่อนจะนำมาสู่การขุดค้นเพื่อคืนชีวิตให้กับไดโนเสาร์ดังในยุคปัจจุบัน ในโซนนี้ทางพิพิธภัณฑ์ทำเป็นผนังกระจกใส เผยให้เห็นถึงการทำงานอันน่าทึ่งของเหล่านักวิชาการ นักโบราณคดี ที่น่าสนใจไม่น้อย 
  ไดโนเสาร์สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ที่แม้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เรื่องราวของพวกมันยังคงอยู่ในมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้ากัน         โซนที่ 7 “ซีโนโซอิก : มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” หลังสิ้นยุคไดโนเสาร์ก็เข้าสู่มหายุคซีโนโซอิกอันเป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีการขยายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว และพากันเข้ายึดครองภูมิประเทศอันหลากหลาย ซึ่งเข้ายึดครองโลกในช่วง 65 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน 
  การจัดแสดงในส่วนวิวัฒนาการของมนุษย์         จากนั้นเข้าสู่โซนสุดท้ายคือโซนที่ 8 “เรื่องของมนุษย์” เป็นโซนที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ เริ่มจาก“ไพรเมต” หรือสัตว์ในตระกูลลิงที่อาศัยบนต้นไม้ ก่อนพัฒนาเป็นผู้เดิน 2 ขา ไล่มาจนถึงยุค“โฮโมเซเปียนส์” (หรือ โฮโมเซเปียนส์ เซเปียนส์) ที่ก็คือมนุษย์ในยุคปัจจุบัน 
  อีกหนึ่งประเภทของไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์         และนี่ก็คือสิ่งน่าสนใจต่างๆของ“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับพระราชทานนาม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าหญิงอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทย
       
       พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นอกจากจะเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่มีการนำเสนอได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ยังได้รับการยกย่องให้เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ดีที่สุดในอาเซียนอีกด้วย 
  ไดโนเสาร์เคยยิ่งใหญ่ ครองโลกก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ไปพร้อมๆกับหลากหลายทฤษฎี         ขณะที่การได้เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งนี้ของผม นอกจากจะได้รับรู้ เรียนรู้ เรื่องราวของวิวัฒนาการโลก เรื่องราวของไดโนเสาร์แล้ว ยังมีสิ่งให้ชวนฉุกคิดจากการมองไดโนเสาร์แล้วย้อนมองมนุษย์ด้วยกันเองว่า หากเปรียบเทียบยุคไดโนเสาร์ครองโลกกับยุคที่มนุษย์ครองโลกจากอดีตมาจนถึงทุกปัจจุบัน มันช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะไดโนเสาร์ได้เคยครอบครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 165 ล้านปี ส่วนมนุษย์เรานั้นเพิ่งจะครองโลกมาได้แค่ 10,000 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น 
  ซากฟอสซิลปลากินพืชโบราณ         แต่กระนั้นมันก็มีเรื่องอันชวนคิดว่า
       
       -มนุษย์เราจะครองโลกต่อไปได้นานแค่ไหน?
       -อะไรจะเป็นผู้ทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้สูญสิ้น?
       -หรือเป็นมนุษย์ที่ทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง?
       -และมนุษย์เราจะช่วยกันรักษาโลกนี้ไว้ได้แค่ไหน??? 
  ไข่ไดโนเสาร์(จำลอง)ใบโตที่เด็กๆชื่นชอบกันเป็นจำนวนมาก
Credit: http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036385
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...