ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทำจากแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการล้างน้ำ นึ่งด้วยไอน้ำ อบให้หมาดแล้วนำไปตัดเป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ
โดยทั่วไปเห็นขายตามท้องตลาดมีทั้งเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่ กวยจั๊บ และเซี่ยงไฮ้ หากทำเสร็จแล้วขายเลยเรียกว่าเส้นสด ซึ่งเก็บไว้ได้ไม่นานเพราะมีความชื้นสูง ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 4-5 วัน
เมื่อเก็บได้ไม่นาน การกระจายสินค้าก็ไปได้ไม่ไกล ผลกำไรที่ได้ก็ไม่มาก สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งสารเคมีเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา หากรับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวเหล่านี้เข้าไป ผู้บริโภคอย่างเราอาจกลายเป็นถุงใส่สารเคมีเคลื่อนที่ได้
สารกันบูด หากใส่เกินมาตรฐานอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น สารกันบูดชื่อ กรดเบนโซอิก หากใน 1 วัน เรารับประทานอาหารอะไรที่มีสารชนิดนี้อยู่ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ตับ และไตสามารถกำจัดออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าเกิน 500 มิลลิกรัม ทุกวัน ตับและไตจะทำงานหนัก และถ้ากำจัดออกไม่หมดก็จะสะสมในร่างกาย เสี่ยงต่อไตพิการได้
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ใช้สารกันบูดทุกชนิดรวมกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวแต่ละชนิดเพื่อตรวจหาสารกันบูดตกค้าง 2 ชนิด ผลวิเคราะห์เป็นอย่างไร พิจารณากันเองดังในตาราง
ทางที่ดีอย่ารับประทานบ่อยนัก และหลีกเลี่ยงการซื้อก๋วยเตี๋ยวเส้นสดที่ขายไม่หมดในวันต่อวัน เพื่อความปลอดภัย
(ทุกวันนี้จะกินอะไรที่ปลอดภัยได้ละเนี้ยะ ...ถ้ามันเกินมาตรฐาน แล้วทำไมไม่ทำอะไรให้มันดีก่านี้ละคะ ต้องให้ประชาชนรับผิดชอบตัวเอง ด้วยการ มองด้วยตาป่าว แล้วสันนิฐานว่า น่าจะปลอดภัย หรือไม่น่าปลอดภัยงั้นหรอ !)<<< ผู้โพส