ช่วงนี้เห็นภาพการประกวด Miss Universe 2009 โผล่มาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะชุดว่ายน้ำของสาวงามนา นาชาติ ที่ชาว men.mthai.com ได้ชื่นชมไปเมื่อสัปดาห์ก่อน และอีกชุดหนึ่งที่ร้อนแรงไม่แพ้กันก็คือการประกวด ชุดประจำชาติ
วิวัฒนาการเปลี่ยนไปตามยุคสมัยจากชุดไทยแบบอ่อนช้อยประณีตไปประชันบนเวที ซึ่งชุดนี้ก็สร้างประวัติศาสตร์ เพราะได้รับตำแหน่ง ชุดแต่งกายประจำชาติยอดเยี่ยม มาฝากคนไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งสาวไทยที่เป็นตัวแทน คือ แสงเดือน แม้นวงศ์ ปี 1969 ที่สหรัฐอเมริกา(ภาพซ้าย)
ภาพขวา : นางงามจากญี่ปุ่น ผู้ปลุกกระแสแฟชั่นบนเวทีมิสยูนิเวิร์ส แม้แต่ชุดราตรีเธอยังแหวกแนวเป็นคนแรกของสาวเอเชียที่สร้างกระแส ของการนำไอเดียแปลกใหม่มาผสมผสานในชุดประจำชาติ จนเป็นที่กล่าวขานมาถึงปีล่าสุด โดยที่ญี่ปุ่นยังไม่ละทิ้งความแรง ลองติดตามอ่านกันดูนะครับ
ขอเกริ่นที่ไทยเราก่อน ในปี 1988 ที่ประเทศไต้หวัน ''ปุ๋ย'' ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ที่นอกจากจะทำให้คนไทยได้สมหวังกับ Miss Universe คนที่ 2 ของไทย แล้วยังเอารางวัล ''ชุดแต่งกายประจำชาติยอดเยี่ยม'' จากชุดไทยประยุกต์ที่ดัดแปลงมาจากชุดฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กลับมาอีกตำแหน่ง ซึ่งมีลักษณะคำนึงถึงวิธีไทยในแบบที่สวยสง่า
แต่เมื่อล่วงเลยข้ามสหัศวรรษใหม่มานี้ โโดยเฉพาะช่วง 5 - ุ6 ปีที่ผ่านมา ชุดประจำชาติของสาวงามถูกออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ที่นำแนวคิดแบบแฟชั่นดีไซน์ บวกกับวัฒนธรรม เป็นแนวทางในการนำเสนอจึงมักจะทำให้เกิดข้อสงสัยกันอยู่บ่อยๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่
เมื่อครั้งปีที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพ 2005 ชุดไทยประยุกต์ของน้องน็อต ได้รับเสียงวิพากวิจารณ์อย่างหนัก หลังจากที่ได้ประกาศได้ ตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นเรื่องดี แต่ในฐานะประเทศเจ้าภาพ จึงทำให้เราตกเป็นจำเลยไปซะงั้น อันนี้ก็ต้องทำใจ
และในปีเดียวกันนั้นเองชุดประจำชาติ ที่แหวกแนวจนเป็น Talk of the town ก็คือนางงามญี่ปุ่นที่ชุดเธอคล้ายเซล่ามูน ในคอนเซ็ป "มังงะ การ์ตูนญี่ปุน" ผิดคาดที่ทุกคนคิดว่าเธอจะใส่กิโมโนแล้วคาดแถบโอบิ ข่าวจากญี่ปุ่นว่าดีไซน์เนอร์ห้องเสื้อที่ออกแบบให้นางงามญี่ปุ่นปีนั้นโด่งดังไขึ้นมาทันที
หลังจากนั้นปีต่อมา 2006 ญี่ปุ่นยังเดินหน้าแหวกแนวโดยใส่ชุดซามูไรสาวเซ็กซี่ ประยุกต์กับชุดคอสเพลย์ ถือดาบซามูไรชี้หน้าคณะกรรมการจนได้ตำแหน่งชุดประจำชาติสมใจไปครอง
ปีต่อมา 2007 พี่ไทยไม่น้อยหน้า ให้ young designer ระดับอาจารย์และมือรางวัลออกแบบชุด "ธิดาดอย" โดยประยุกต์มาจาก "ชุดชาวเขา" ซึ่งตัดเย็บจากผ้าทอพื้นเมือง 20 ชนิด แน่นอนครับเกิดเสียงวิพากวิจารณ์ ว่า ชุดชาวเขาใช่ชุดไทยหรือ?
ในขณะที่ปีนั้น ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นจากภาพยนตร์ "เกอิชา" และตามที่คาดไว้ ชุดกิโมโน แนวกราฟฟิก แต่แหวกต้นขาเซ็กซี่ เน้นย้ำวัฒนธรรม "เกอิชา" ประยุกต์ แหวกกิโมโนเดือดให้โลกรู้
น้องแก้ม-กวินตรา กับการประกวดชุดประจำชาติในมิสยูนิเวิร์ส2008 - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่
ปี 2008 ไทยเราได้จัดการประกวดชุดประจำชาติจากนักออกแบบทั่วประเทศ เพื่อต่อยอดความคิด และครั้งนี้ก็ไม่ผิดหวัง Spirit of Fighting ที่น้องแก้มสวมใส่พร้อมลีลามวยคาดเชือกสร้างกระแสใน youtube ชนะผลการโหวตขาดลอยทั้งเสียงปรบมือ และความอื้ออึงในวัฒนธรรมที่ไทยเรากล้านำเสนอในมุมที่ดุดัน จนลืมไปว่าสาวไทยห่มสไบเอิงเอยอ่อนช้อย เป็นสาว Thai Boxing จนชนะใจชาวต่างชาติ แต่อีกกระแสหนึ่งก็บอกว่าเราเอาสไตล์มาจาก ชุดเกราะซามูไรที่ชนะเมื่อสองปีที่แล้ว
2009 ปีนี้ นางงามญี่ปุ่น กลับมาสร้างกระแสในชุดประจำชาติอีกครั้ง กับชุด ปีศาจ คาบุกิ ที่มีกิโมโนท่อนล่างสั้นแค่คืบแข่งกับน้องกิ๊บซี่ และใส่หน้ากากปีศาจตามคอนเซ็ป เข้าใจว่าสร้างสรรค์มากไปจนเกิดกระแสลบ เพราะถูกเปรียบเป็นชุด เด็กดริ๊ง บ้างล่ะ ชุด นางเอกหนัง AV บ้างล่ะ กลบข่าวชุดไทย สไตล์ กระเหรี่ยงคอยาว ประยุกต์จากคอลเล็กชั่น คริสเตียนดิออร์ แต่ไม่ทิ้งลวด ลายช้างปักสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และผ้าไทยที่เป็นเอกลักษณ์ ผมอธิบายเองยัง งง ๆ อยู่นิดๆ ถึงอย่างไรก็เชียร์ครับทั้งคนทั้งชุด เชื่อฝีมือคนไทยอยู่แล้ว แต่อย่าไปเมาท์ว่าเป็นชุด ฝาชี อีกล่ะ จะโกรธธธธธธธธมาก!!!
แต่อย่าคิดว่านี่แปลกแล้ว!!! ขอให้ลืมไปเลย เพราะสิ่งที่อึ้งยิ่งกว่าสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้เกิดขึ้นแล้ว ในเมื่อกำแพงเมืองจีนยังอุบัติขึ้นได้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น!!!
ไม่ขอวิพากวิจารณ์นะครับ ไปดู ควันหลงของชุดประจำชาติแนว Fighting ที่โผล่มาให้เห็นอีก 2 ชุดในปีนี้ก็คือ นางงามจาก อินโดนีเซีย ซึ่งไปจ๊ะเอ๋ ยิงธนูใส่กันซะงั้นกับสาวงามประเทศ ปารากวัยไอเดียอยู่กันคนละซีกโลก ยังมาป๊ะกันได้เน้อ...อิอิ