เปิดประวัติศาสตร์ กับ"รัฐประหาร" ครั้งแรก

การรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่1เมษายน พ.ศ.2476 โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ด้วยเหตุสืบเนื่องมาจากการที่นายปรีดี พนมยงค์นำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจที่เข้าข่ายหรือคล้ายคลึงการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ จึงก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่ของคณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่งนำโดย 3 ใน4 ทหารเสือประกอบไปด้วย 1 พระยาทรงสุรเดช 2 พระยาฤทธิอัคเนย์ และ 3 พระประศาสน์พิทยายุทธ เข้าสนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ 

โดยความตอนหนึ่งในคำแถลงการณ์ปิดสภาฯของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ความว่า

...ในคณะรัฐมนตรีเกิดการแตกแยกเป็น 2 พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจที่มีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นจักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ... จากนั้นจึงยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ”รัฐประหารเงียบ” พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย 

ต่อไปเรามาทำความเข้าใจความหมายของการรัฐประหารกันนะครับ รัฐประหารก็คือการล้มล้างรัฐบาลหรือผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่ไม่ใช่เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองและไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงจนก่อให้เกิดเหตุการนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารเห็นว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นบริหารประเทศชาติผิดพลาดสร้างความเสียหาย ประชาชนในประเทศได้รับความเดือนร้อน ผู้ก่อการจึงจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจโดยการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาที่กำหนด

ดังนั้นการที่ทหารออกมาในครั้งนี้ก็เพื่อรักษาความสงบสุขของบ้านเมืองขจัดความขัดแย้ง โดยเข้ามาเปลี่ยนตัวหัวหน้ารัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ จากนั้นจึงจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้การรัฐประหารขึ้นมา โดยที่รูปแบบการปกครองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด มีแต่ตัวผู้นำและคณะผู้นำเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะที่เราเป็นประชาชนควรทำหน้าที่ประจำวันตามปรกติ งดการชุมนุมหลีกเลี่ยงการปลุกระดมจนนำไปสู่การเผชิญหน้า"เพื่อความสงบสุขของราชอาณาจักรไทย"
Credit: http://variety.teenee.com/world/67073.html
23 มี.ค. 58 เวลา 19:57 1,457 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...