ใครเชื่อเรื่อง "ศุกร์ 13" กันมากน้อยแค่ไหนค๊ะ คนที่เป็นโรค Friggatriskaidekaphobia หรือโรคกลัววันศุกร์ที่ 13 น่าจะร้อนๆ หนาวๆบ้างแล้วแหละ ส่วนวันนี้มีเรื่องโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 มาฝากค่ะ ลองพิจารณากันว่ามันเป็นเพราะวันนั้นหรือไม่ที่ทำให้เกิดเรื่องพวกนี้
ศุกร์ที่ 13 พฤศจิกาายน 1829
เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่ความเชื่อร้ายๆ ของวันศุกร์ที่ 13 ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเลยค่ะ เป็นเรื่องของ แซม แพทช์ นักกระโดดท้ามฤตยูที่โชว์การกระโดดลงมาจากหน้าผาของน้ำตกไนแองการ่ามาแล้วเป็นสิบๆ ครั้ง แต่ครั้งนี้หลายคนว่ากันว่าเขาเมามาก่อนที่จะมาแสดง ทำให้ตอนที่กระโดดลงมานั้นผิดท่าและลงผิดจุดจากปกติ ส่งผลให้เขาเสียชีวิตจากการแสดงในครั้งนี้
ศุกร์ที่ 13 มกราคม 1939
ในวันนั้นเกิดเหตุไฟไหม้ป่าทั่วรัฐวิคตอเรียของประเทศออสเตรเลีย มีผู้เสียชีวิตมากถึง 36 คนในวันนั้นเพียงวันเดียว (แต่ถ้านับทั้งเดือนจะมากถึง 71 ราย) นอกจากนี้ไฟยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ 75% ของรัฐอีกด้วย อาคารบ้านเรือนกว่า 1,300 หลังถูกทำลายจนหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากชาวไร่ที่ขาดความรอบคอบคิดจะเผาทำลายพืชผักที่ไม่โตในฤดูแล้งนั้นนั่นเอง
ศุกร์ที่ 13 กันยายน 1940
เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่ะ ตอนนั้นฝ่ายนาซีกำลังขยันทิ้งระเบิดใส่กรุงลอนดอน โดยเฉพาะที่พระราชวังบัคกิ้งแฮมที่โดนระเบิดไปถึง 16 ครั้ง แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนั้นเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 เมื่อระเบิด 5 ลูกถูกทิ้งใส่พระราชวัง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ โชคดีที่พระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระราชินีอลิธซาเบธทรงปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระเบิดอีกหลายลูกตามมาแต่พ้นระยะสร้างความเสียหายให้แก่พระราชวังบัคกิ้งแฮมไปแล้ว
ศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 1951
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคมแล้ว ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นทั่วและหลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง จนกระทั่งวันศุกร์ที่ 13 นั้นระดับน้ำในแม่น้ำสูงถึง 12.4 เมตร ย่านธุรกิจในเมืองต้องจมอยู่ใต้น้ำสูง 2.4 เมตร มีผู้เสียชีวิต 28 รายและผู้คนอีกกว่า 5 แสนคนต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นจนกว่าระดับน้ำจะลดลง ความเสียหายคิดเป็นเงิน 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นวิกฤตน้ำท่วมที่ร้ายแรงที่สุดของย่านมิดเวสต์ในยุคนั้นเลย
ศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 1952
ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 1964
ศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 1970
วันนั้นคือวันที่บังคลาเทศถูกพายุไซโคลนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศพัดเข้าถล่ม พายุไซโคลนโพลาคร่าชีวิตคนไปกว่า 3 แสนคน พายุดันน้ำสูง 5 เมตรเข้าท่วมทั้งบังคลาเทศ ผู้คนต้องปีนต้นไม้เพื่อหนีน้ำ ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จึงเหลือเพียงผู้ชายร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์อายุ 15-49 ปี ส่วนเด็ก สตรี คนชรา และผู้ป่วยส่วนมากโดนน้ำพัดหายไป
ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 1972
ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 1972
ในวันเดียวกันนี้อีกด้านหนึ่งของโลกก็เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกเช่นเดียวกัน เมื่อเครื่องบินจากปารีสมายังมอสโคว์ตกใกล้สนามบินในมอสโคว์ขณะเตรียมนำเครื่องลง ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 174 คนเสียชีวิตทันที ส่วนสาเหตุนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นเครื่องยนต์ทำงานผิดพลาด หรือนักบินอาจเสียการควบคุมเครื่องหลังเครื่องโดนฟ้าผ่า
ศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 1993
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรานี่เองค่ะ เป็น 1 ในโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงมากๆ ของประเทศเลย นั่นคือเหตุการณ์ที่โรงแรมเจ้าพระยาพลาซ่าในจังหวัดนครราชสีมาถล่มลงมาค่ะ โรงแรมนี้ถือว่าหรูสุดๆ ในโคราชยุคนั้นเลย แต่การต่อเติม 3 ชั้นบนในปี 1990 นั้นทำโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สุดท้ายก็ถล่มลงมาในวันนั้นนั่นเอง ซึ่งวันนั้นมีงานประชุมครูและงานของบริษัทน้ำมันด้วย มีผู้เสียชีวิต 137 ราย และผู้บาดเจ็บอีก 227 คน
ศุกร์ที่ 13 กันยายน 1996
Tupac (ทูแพ็ค) แร็ปเปอร์ชื่อดังของอเมริกาในยุคนั้นถูกยิงในวันที่ 7 กันยายน ก่อนที่จะเสียชีวิตที่โรงพยาบาลลาสเวกัสในวันศุกร์ 13 ทุกวันนี้ยังปิดคดีไม่ได้ มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับแรงจูงใจในการฆ่า บ้างก็ว่าทูแพ็คยังไม่ตาย และแอบไปใช้ชีวิตสันโดษที่ไหนซักแห่งอยู่
ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2006
ปกติรัฐนิวยอร์กก็เจออากาศหนาวและกองหิมะหนาๆ ทุกฤดูหนาวอยู่แล้ว แต่ในปีนั้นหลายเมืองในนิวยอร์กมีหิมะตกจนสูงถึง 56 เซนติเมตรในเดือนตุลาคม บางเมืองสูงถึง 61 เซนติเมตรด้วยซ้ำ ผู้คนกว่า 1 ล้านคนในเมืองบัฟฟาโล่ไม่มีไฟฟ้าใช้หลายสัปดาห์ แถมตอนนั้นพายุหิมะนี้ยังยากต่อการพยากรณ์ความรุนแรงด้วย กรมอุตุฯ สหรัฐถึงกับบอกว่าไม่มีคำพูดใดที่จะใช้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้เห็นภาพชัดเจนพอ
ศุกร์ที่ 13 มกราคม 2012