ประวัติ ของเรือนจำ Tihar
แต่เดิมเรือนจำ Tihar เป็นเพียงคุกธรรมดาที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐปัญจาบ ด้วยระบบความปลอดภัยที่เข้มข้น ต่อมาในปี 1966 ก็เปลี่ยนการควบคุมมาสู่มณฑลนครแห่งชาติ นิวเดลี และได้มีการต่อเติมก่อสร้างและเพิ่มเติม โครงสร้างของตัวอาคารที่ซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นเรือนจำขนาดยักษ์ Tihar ภายใต้การดูแลของหัวหน้าผู้คุม Kiran Bedi ได้มีการปฏิรูปภายในเรือนจำใหม่มากมายในเวลาต่อมา เช่น การมีหมายเลขประจำตัวนักโทษ การจัดระเบียบของทั้งผู้คุมและนักโทษ จัดให้มีการนั่งสมาธิเป็นเวลา มีการเรียนการสอนและให้การศึกษาแก่นักโทษ ตลอดจนไปถึงการให้บริการประชาชนชาวอินเดียที่เข้ามาเยี่ยมญาติและใช้บริการจากเรือนจำแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ที่ตั้งของเรือนจำ
เรือนจำ Tihar ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และขึ้นชื่อว่าเป็นเรือนจำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ ซึ่งเรือนจำแห่งนี้มีพื้นที่ 400 เอเคอร์ ประกอบด้วยเรือนจำย่อยอีก 9 แห่ง โดยมีนักโทษประมาณ 11,827 ราย โดยเรือนจำนี้มุ่งมั่นที่จะเป็นสถานกักันอันปลอดภัยและแน่นหนา อีกทั้งยังให้โอกาสแก่สังคมสงเคราะห์ในการปฏิรูป และฟื้นฟูความเป็นอยู่ให้กับนักโทษทั้งหมด
วัตถุประสงค์หลักของเรือนจำติฮาร์
ทางเรือนจำมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงนักโทษให้กลับคืนสู่สังคมในฐานะสามัญชนคนหนึ่งให้ได้ โดยภายในเรือนจำจะเน้นการให้ศึกษาแก่นักโทษและการให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและให้ความเคารพกฎหมายบ้านเมืองเมื่อพ้นโทษออกไปแล้วทั้งนี้ยังมีการบำบัดด้วยเสียงดนตรีและการสอนอาชีพเสริมด้านอุตสาหกรรมต่างๆให้แก่เหล่าบรรดานักโทษอีกด้วย
ระบบรักษาความปลอดภัย Security System
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา นักโทษในเรือนจำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มความกดดันอย่างใหญ่หลวงให้แก่ในแง่ความสามารถในการรองรับนักโทษ มาตรฐานการใช้ชีวิตพื้นฐาน และการดูแลนักโทษระหว่างพิจารณาคดี การรักษาความปลอดภัยและการสอดส่องตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดที่มีประสิทธิภาพคือหลักสำคัญของเรื่องนี้
นอกจากระบบของกำลังผู้คุมที่มีเวรยามเป็นระเบียบแน่นหนาแล้ว เรือนจำ Tihar ยังมีระบบโทรทัศน์กล้องวงจรปิดแบบ IP ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบไปด้วยกล้อง Auto Dome PTZ (VGA Series) จำนวน 280 ตัว พร้อมห้องควบคุมกลางที่ล้ำสมัยที่ถูกสร้างขึ้นในสำนักงานใหญ่ที่อยู่ภายในเรือนจำ โดยห้องควบคุมจะมีซอฟแวร์ไคลเอต์การจัดการวีดีโอ 14 สถานี โดยมีเซิฟเวอร์ 2 ตัวคอยสนับสนุน และมีตัวสำรองข้อมูลเสมอ หากตัวหลักมีปัญหาขึ้นมา
ไม่แค่สำนักงานใหญ่เพียงเท่านั้นที่มีห้องควบคุม แต่เรือนจำย่อยภายในทั้ง 9 แห่งก็ยังมีห้องควบคุมย่อยยในแต่ละเรือนจำอีกด้วยโดยที่ผู้ดูและระบบสามารถสร้างทิกเกอร์การเตือนภัยในรูปแบบต่างๆรวมถึงอินพุตการเตือนภัย การตรวจจับความเคลื่อนไหวสัญญานภาพขาดหาย และความเปรียบต่างๆของวีดีโอได้โดยการใช้การเตือนภัยให้ทำงานเมื่อจำเป็นเท่านั้น เช่นเมื่อมีการตรวจจับพบความเคลื่อนไหวในตอนกลางคืนในกรณีที่ได้รับสัญญาณเตือนภัย ระบบได้กำหนดค่าให้สลับกล้องที่ถูกกำหนดไปยังเวริ์คสเตชั่นและทริกเกอร์ให้เครื่องบันทึกวีดีโอเครือข่าย (NVR) เริ่มทำงาน
ด้วยระบบเหล่านี้การควบคุมกิจกรรมของนักโทษจึงเป็นไปด้วยความราบเรียบขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การปฏิบัตติตามกฎระเบียบวินัยของนักโทษในเรือนจำเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากด้วย
การจลาจลในเรือนจำ
การจลาจลภายในเรือนจำ เคยมีเกิดขึ้นบ้าง ถึงแม้จะไม่บ่อยนัก แต่ทุกครั้งก็เกิดการเสียชีวิตกันเกิดขึ้นเสมอ และมักจะเป็นจำนวนมากเสียด้วย อย่างเช่น การจลาจลที่เกิดขึ้นในปี 1990 โดยเหตุเกิดขึ้นในแดน 7 ของเรือนจำ มีนักโทษก่อจลาจลทั้งหมด 2500 คน และมีนักโทษที่อาศัยช่วงเวลนี้หลบหนีออกจากเรือนจำทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียด เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องงัดมาตรการสูงสุดออกมาใช้โดยการยิงสังหารนักโทษแกนนำ 7 คน แถมมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเป้นจำนวน 107 คน จึงจะสามารถยุติการจลาจลครั้งนั้นไว้ได้ สาเหตุส่วนใหญ่หลักๆ ของการจลาจลมีอยู่หลายประการด้วยกัน อาจจะมาจากความกดดันของตัวนักโทษเองโดนผู้คุมรังแก หรือ ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่อยู่ก็อาจจะเป็นได้
ความรุนแรงภายในเรือนจำ
นับเป็นเรื่องปกติภายในเรือนจำอยู่แล้วทุกๆที่มักจะมีการใช้ความรุนแรงกันในหมู่นักโทษด้วยกันหรือแม้แต่ระหว่างผู้คุมกับนักโทษก็ตาม โดยในหมู่นักโทษด้วยกันคนที่มานานอยู่นานก่อนย่อมเอาเปรียบและข่มเหงคนที่เข้ามาทีหลังถือเป้นเรื่องปกติในคุกแห่งนี้ การติดสินบน หรือแม้กระทั่งการจ้างวานฆ่ากันภายในด้วย สินจ้างเพียงบุหรี่ไม่กี่ซองก็มี สิ่งเหล่านี้เป็นคำกล่าวของอดีตนักโทษอาวุโสคนหนึ่งที่พ้นโทษแล้วมาเล่าสั้นๆ ให้ฟังกันโดยที่ไม่ประสงค์จะออกนาม ตัวอย่างล่าสุดก็เห้นจะเป็นนายราม ซิงห์ หัวหน้าแกีงข่มขืนนักศึกษาแพทย์อินเดีย ที่มีข่าวว่าฆ่าตัวตายเองในเรือนจำ แต่อยู่ๆเรื่องราวก็เหมือนจะกลับตาลปัตรกลายเป็นการฆาตกรรมขึ้นมา โดยที่ทนายประจำตัวของนาย ราม สิงห์ ได้ขอให้มีการตรวจสอบด้วย เนื่องจากเชื่อว่านาย ราม สิงห์ ไม่มีทางฆ่าตัวตายได้อย่างเด็ดขาด
อาชญากรดาวเด่นภายในเรือนจำ
TiharSatwant Singh and Kehar Singh : ถูกตัดสินโทษประหารด้วยการแขวนคอ ในคดีลอบสังหาร Indira Gandhi
Charles Sobhraj : ฆาตกรต่อเนื่อง โดยหมอนี่เคยหลบหนีออกมาจากเรื่อนจำ Tihar ได้สำเร็จในวันที่ 16 มีนาคม 1986 แต่ต่อมาไม่นานก็ถูกจับตัวได้ และถูกตัดสินเพิ่มโทษขึ้นอีก 10 ปีและได้รับการปล่อยตัวออกมาภายหลังเมื่อครบกำหนดโทษ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1997
Ripun Bora รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาแห่ง Assam’s Tarun Gogoi-led Congressional goverment ผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมนาย Daniel Topno และต่อมาก็ถูกเจ้าหน้าที่ CBI จับกุมตัวได้แล้วส่งเข้ามานอนเล่นในเรือนจำ Tihar ภายหลังพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดจริงตามข้อกล่าวหา
Suresh kalmadi อดีตประธานสมาคมโอริมปิคของอินเดีย ถูกจับกุมในคดีทุจริตเกี่ยวกับงาน Commonwealth Games 2010
Amar Singh อดีตสมาชิกพรรคการเมือง Samajwadi ถูกจับในข้อหาทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง
คุกมันไม่สนุกหรอกครับ เพราะฉะนั้นเราควรหันมาทำความดีทำตัวดีเป้นประโยชน์ต่อสังคมกันดีกว่าครับ