กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย “ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง
ที่ว่า “ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” เปรียบเทียบเป็นการแก้ปัญหาให้สิ้นไปโดยพื้นฐาน กลยุทธ์นี้เป็นอุบายในการบั่นทอนพลังของข้าศึกที่ละส่วน จนทำลายข้าศึกเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้อย่างหนึ่ง คำนี้ เดิมมาจากหนังสือเรื่อง “ไหวหนานจื่อ” ความว่า “เทน้ำร้อนลงในน้ำเดือด มิอาจหยุดเดือด จักต้องรู้ลักษณะของมัน ทอนไฟจึงหยุด” ใน “ฎีกาประท้วงราชวงศ์เหลียง” สมัยเว่อเหนือก็ว่า “ถอนฟืนจึงหยุดเดือด ตัดหญ้าพึงถอนราก”
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ในสถานการณ์ศึกซึ่งติดพันชุลมุนเป็นอย่างยิ่งนั้น การรบด้วยภาวะจิตจักเป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และเป็นโอกาสที่จะรบให้ชนะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใคร่ประสงค์จะทำลายกำลังของข้าศึก ก็จักต้องทำลายกำลังหลัก ทำลายหัวใจของข้าศึกเป็นเบื้องแรก ในเวลาเช่นนี้ จิตใจของแม่ทัพนายกอง ก็คือ “ฟืน” เมื่อถอน “ฟื้น” ออกแล้ว น้ำใน “กระทะ”ก็จัก “เดือด” ต่อไปมิได้ฉันนั้น
กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากความปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย์
“กวนน้ำจับปลา” ก็คือกวนน้ำให้ขุ่น ให้ปลางุนงง ลงจับก็ง่าย อันนับเป็นกลยุทธ์ฉวยโอกาสเข้าตีเอาชัย เมื่อข้าศึกกำลังชุลมุนปั่นป่วนอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปลาไม่เห็นทิศทางเมื่อน้ำขุ่น คนแยกจริงเท็จไม่ออกยามชุลมุน จึงเกิดช่องว่างอันมากหลายที่จะเอาประโยชน์ได้ “กวนน้ำจับปลา” ย่อมหมายถึงในสงครามชุลมุนแห่งการแก่งแย่งอำนาจกันนั้น ควรฉวยโอกาสใช้กำลังที่อ่อนแอโลเลให้คล้อยตามความประสงค์ของตน ที่สำคัญคือเอาเท็จพรางจริง กวนน้ำให้ขุ่นโดยเจตนา แล้วรีบซ้ำเติมเอาชัยแก่ศึกเสีย ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป “เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย
นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “จักจั่นรอกคราบ เป็นวิธีสะบัดให้หลุดพ้นจากการเผชิญหน้ากันข้าศึก ด้วยการเคลื่อนย้ายหรือถอยทัพ ที่ว่า “ลอก” มิใช้อย่างตื่นตระหนก อย่างขวัญหนีดีฝ่อ แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปโฉมภายนอก ทว่าได้ถอดเนื้อหาออกไปหมดสิ้นแล้ว หนีแสดงว่าไม่หนี ปกปิดข้าศึก เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงอันตราย วิธีการ “ลอกคราบ” มีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อแท้ก็คือการใช้เล่ห์กลหลอกลวงข้าศึก เป็นพฤติการณ์ที่ใช้การพรางตา ปลอมปนความจริงเอาตัวรอดนั้นเอง”
กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง “ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว
“ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา
ความหมายเดิมของ “ปิดประตูจับโจร” ก็คือ เมื่อโจรเข้าตีชิงในบ้าน ปิดประตูบ้านจึงจะจับโจรไว้ได้ ส่วนความหมายทางด้านการทหารและอื่นๆ ก็อุปมาว่าเป็นกลยุทธ์โอบล้อมทำลายข้าศึกกองย่อยๆให้สิ้น เพื่อมิให้ก่อกวน ทำอันตรายแก่เราได้ในภายหลังอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อจักจับโจร พึงตัดทางหนี โอบล้อมไว้ให้แน่นหนา หากโจรเข้าในเมือง จงปิดประตูเมืองให้สนิท มิให้ทางเล็กรอดออกไปได้ จึงจักถูกจับได้โดยละม่อม กลับกัน พบโจรก็ไล่ ไม่ปิดประตูเมือง ไล่เหนือไปใต้ โจรก็พ้นไป โจรที่หนีพ้น ย่อมจักย่ามใจ จักย้อยกลับมาอีกพร้อมด้วยพรรคพวก หากปิดทางหนีโจรจะมิกล้า อู๋จื่อกล่าวไว้ว่า "โจรที่ไม่คำนึงถึงความตาย หากซ่อนตัวตามสุมทุมพุ่งไม้ในป่ากว้าง ก็พอจักทำให้กำลังซึ่งติดตามมาเป็นพ้นคนอกสั่นขวัญแขวน ลมพันใบไม้ไหวก็แตกตื้น เพราะมิรู้ว่า โจรจะปรากฏตัวออกมาจู่โจมเอาชีวิตเมื่อใด จับโจร จึงควรระวังมิให้เป็นปลาลอดร่างแห”
กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน “เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก”
ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “นี้เป็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแยกสลายหรือป้องกันการร่วมมือกันของฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการตีให้แตกที่ละส่วน ที่คำโบราณจีนเคยกล่าวไว้ ว่า “ญาติไกลมิสู้มิตรใกล้” นั้นตรงกันข้ามกับกลยุทธ์นี้ แท้ที่จริงแล้ว ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ความขัดแย้งกับประเทศไกลมักจะเกิดน้อย กับประเทศใกล้กับจะมากว่า เพราะอาจจะมีการกระทบกระทั้งกันในเรื่องผลประโยชน์และอื่นๆอีกนานาประการ กลยุทธ์นี้จึงเป็นหลักปรัชญาในการแสวงหาประโยชน์พร้อมทั้งป้องกันตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน สุดแต่ผู้ใดจักใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน”
กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ
“ทุกข์ จักมิเชื่อเพียงวาจา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ทุกข์” ความเต็มว่า “เมื่ออยู่ในทุกข์ จักไม่เชื่อใครโดยง่าย จึงมิเชื่อเพียงวาจา” อันนับเป็นกลยุทธ์ในการหลอกยืมทางผ่าน เพื่อบรรลุการให้ยึดครองอีกฝ่ายที่เราประสงค์อย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า “ยืมทาง” ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน
ความจริงคำว่า “ศัตรูบังคับให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)สยบ เราพึงแสดงท่าที” นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ “อีกฝ่ายหนึ่ง” เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง
เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน
เรีบยเรียงโดย attiwat
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.suara-ampera.com/