36 กลยุทธ ตำราพิชัยสงครามซุนวู กุญแจไขแห่งความสำเร็จ ตอนที่ 3 กลยุทธ์เข้าตี

 

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน”     ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก    

       ที่ว่า “ซ้ำซาก คืออุบายรู้มืด” นั้น เมื่อนำมาใช้ในการทหาร หมายถึงใช้วิธีการสอดแนมหลายครั้งหลายหน อันเป็นวิธีสำคัญในการเข้าใจสภาพข้าศึก ค้นพบศัตรูที่แฝงเร้นอยู่    

       ความหมายของ “ตีหญ้าให้งูตื้น” ก็คือแม้เราจะตีหญ้า แต่งูที่ซ่อนอยู่ในหญ้าก็ตื่นตกใจ นี้เป็นกลอุบายที่ใช้การสอดแนม แจ้งชัดในสภาพข้าศึกที่เราโอบล้อมอยู่ แล้วตียังจุดหนึ่งซึ่งจะกระเทือนไปทั้งแนว หลักจากนั้นจึงทำลายข้าศึกให้แหลกลาญไปทีละส่วนอย่างหนึ่ง

       กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อสภาพของข้าศึกยังไม่ชัดแจ้งแก่เรา เราไม่ควรจะปฏิติการอย่างลวกๆ จะต้องหาทางสืบทราบสภาพของข้าศึกให้ถ่องแท้ ครั้งเมื่อทราบเจตนาของฝ่ายตรงข้ามแล้ว จึงออกโจมตี เยี่ยงเดียวกับงูที่ซ่อนอยู่ในหญ้า ควรจะใช้ไม่ตีพงหญ้าไปรอบๆ เพื่อให้งูปรากฏให้เห็น แล้วจึงจับเอาในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องบุกเข้าไปจับจนถึงรังงูให้เปลืองแรง

 

 

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า “เด็กไร้เดียงสา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา”    

       “ยืมซากศพคืนชีพ” ความหมายเดิมเปรียบกับของที่ตายแล้ว แต่ได้ปรากฏตัวขึ้นมาใหม่โดยใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อใช้ในสงครามหรือในการต่อสู้อื่นใด ก็หมายถึงกลยุทธ์การใช้พลังทีสามารถจะใช้ได้ทั้งปวงมาบรรลุซึ่งเจตนารมณ์ของเราอย่างหนึ่ง    

 

       ในประวัติศาสตร์แต่กาลก่อน ในระหว่างการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จักมีผู้แกล้วกล้าตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นมามากมาย ซึ่งมักจะแอบอ้างพระนามของกษัตริย์และราชทายาที่สูญชาติเป็นเครื่องมือ ป่าวร้องชักชวนให้กู้ชาติแล้วได้ชาติไปครองในภายหลัง นี้ก็คือการใช้กลยุทธ์ข้างต้น การใช้กำลังสนับสนุนผู้อื่นเข้าโจมตีหรือป้องกันแทนเขาโดยที่มีเจตนาจะเข้าควบคุมผู้นั้น ก็นับอยู่ในกลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน

       กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ยืมซากคืนชีพ หมายถึงใช้สิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้วในทางเป็นจริง หรือฉวยโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจักหยิบฉวยได้ ให้เป็นประโยชน์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางประการของตน ให้รอดพ้นจากความหายนะ เพื่อที่จะได้ยืนผงาดขึ้นมาใหม่ในวันหน้า หรือไม่วันใดก็วันหนึ่ง


 

        กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย    

       “ไปยากก็ลวงให้มา” คำนี่มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ยาก” ความว่า “ยาก คือยากลำบาก อันตรายอยู่ ณ เบื้องหน้า เห็นภัยก็หยุด นับได้ว่ารู้" “มา” มีความหมายว่าเคลื่อนย้ายข้าศึกหรือให้ข้าศึกเคลื่อนที่     ในขณะที่สองทัพประจันหน้ากัน จักรุกเข้าตีข้าศึกที่มีการเตรียมพร้อมก็ให้ลำบากนัก การที่จะเข้าตีจุดแข็งของข้าศึก มิใช้แต่จะชนะได้โดยยาก ซ้ำยังจะเป็นอันตรายแก่ตนอีกด้วย    

 

       “ล่าเสือออกจากถ้ำ” ก็คือกลอุบายที่ล่อหลอกข้าศึกให้ออกมาจากที่ตั้งอันแข็งแกร่ง แล้วโจมตีทำลายเสียอย่างหนึ่ง

        กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อใคร่ทำลายหรือได้ตัวข้าศึกจึงต้องรอโอกาสที่เหมาะสม ประกอบด้วยเงื่อนไขทางธรรมชาติบวกด้วยมาตรการที่คนเราสร้างขึ้น ถ้าแม้นบุ่มบ่ามเข้าไปในอาณาเขตของข้าศึกอย่างพลีพลาม ก็มิอาจเห็นตัวข้าศึก ซ้ำยังอาจจะถูกลอบตีในที่ลับอีกด้วย ได้ไม่เท่าเสีย ดังนั้น การใช้อุบายล่อให้ข้าศึกออกมาจากเขตของตนแล้วบทขยี้เสีย จึงควร”

 

 

       กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง    

       “รอ ฟังตัว สว่าง” มีอยู่ใน “คัมภีร์อี้จิง รอ”     “รอ” หมายถึงการรอคอยอย่างอดทน     “ฟังตัว” ก็คือไก่ฟักไข่จนเป็นลูกไก่ หมายถึง "ได้" ส่วน "สว่าง" ก็คือแสดงสว่าง หมายถึง “ชัยชนะ” ความหมายของกลยุทธ์นี้ทั้งคำก็คือ เมื่อสองทัพประจันหน้ากัน จักต้องใช้ความอดทนรอคอย ให้ใช้วิธีการอันแยบยล ให้ข้าศึกมาสวามิภักดิ์ด้วยใจ

 

       นี้ก็คือกลอุบายปล่อยป่านยาวตกปลาตัวโตอย่างหนึ่ง     กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน “คัมภีร์เหลาจื่อ บทต้น” บรรยายไว้ว่า “เมื่อจักเอา จะต้องให้” ในบันทึก “ไท่ผิงเทียนว๋อ อักษรศาสตร์” ก็มีอธิบายไว้ว่า “เมื่อจักจับให้ปล่อย เมื่อจักเร็วให้ช้า รอเมื่อหย่อนยานจึงตี มิมีที่ไม่ชนะ”

       กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “แสร้งปล่อยเพื่อจับ จุดประสงค์อยู่ที่ “จับ” “ปล่อย” เป็นวิธีการ “จับ” คือจับทาง “ใจ” ให้ยินยอมอ่อนน้อมทั้งกายและใจ ผู้ถูกจับ “ใจ” จักกลายเป็นข้าทาสบริวารของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนกว่าจะเกิดความสำนึกใน “ศักดิ์ศรี” ของตนเอง กลยุทธ์นี้ จึงเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาด ในการบั่นทอนจิตใจสู้รบและขวัญของข้าศึก ด้วยวิธีการทั้งแจ้งและลับอย่างหนึ่ง อันได้ผลเกิดความคาดหมาย นั้นแล”

 

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป     การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ "ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์”    

       “โยนกระเบื้องล่อหยก” คำนี้ เดิมมาจากเรื่องราวของกวีสมัยราชวงศ์ถัง 2 คน ชื่อ ฉางเจี้ยน และ จ้าวกู่ กล่าวคือ ฉางเจี้ยนนิยชมชอบและยกย่องบทกวีของจ้างกู่มาช้านาน ครั้นเมื่อทราบว่าจ้าวกู่เดินทางมาเมืองซูโจว ก็คาดคะเนว่าคงจะไปเที่ยว ณ วัดหลิงเอี๋ยนสื้อ ฉางเจี๋ยนจึงเขียนบทกวีไว้ 2 คำบนผนังวัด เมื่อจ้าวกู่มาเห็นเข้า ก็ต่อบทกวีนี้อีก 2 คำ จึงกลายเป็นกวีที่ครบถ้วนสมบูรณ์และสวยงาม ไพเราะจับใจยิ่งนัก

       แต่เนื่องจากบทกวีของฉางเจี้ยนด้อยกว่าของจ้าวกู่ คนทั้งหลายจึงเรียกบกวีของฉางเจี้ยนเป็นเสมือนหนึ่ง “กระเบื้อง” แต่หากแม้นมิมี “กระเบื้อง” ที่ฉางเจี้ยนเอาไปล่อไว้ ไฉนเลยจะมาซึ่ง “หยก” ของจ้าวกู่ ที่ต่อ “กระเบื้อง” ชของฉางเจี้ ยนจนกลายเป็นบทกวี่มีค่าล้ำที่ทุกคนยกให้”

   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “วิธีหลอกลวงข้าศึกมีมากมาย ที่แยบค่ายที่สุดมิมีใดเกิน ความละม้ายแม้น” หรือ “ความเหมือน” ที่เรียกว่า “กระเบื้อง” หมายถึงสิ่งที่ไม่มีค่างวด ส่วน “หยก” นั้นเป็นจิดาสูงค่าอันพึงปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย ที่ว่า “โยนกระเบื้องล่อหยก” ก็คือใช้สิ่งของที่มีค่าน้อยไปล่อสิ่งของที่มีค่าสูง กระเบื้องกับหยกนั้น มองผ่านๆก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ นักการทหารผู้มีความชำนาญในกลศึก ก็สามารถจะใช้ความ “ละม้ายแม้น” ความ “เหมือน” ความ “คล้ายคลึง” ของทั้งสองสิ่งสร้างความสับสนฉงนใจให้แก่ข้าศึก ฉวยโอกาสที่ข้าศึกกำลังวุ่นวายหรือหลงกลจู่โจมเอาชัยโดยพลัน”

 

       กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง    

 

       “จับโจรเอาหัวโจก” มาจากบทกวีของตู้ผู่ กวีอมตะแห่งอุคราชวงศ์ถังของจีน ความว่า “น้าวเกาทัณฑ์ต้องให้ตึง ลูกเกาทัณฑ์ควรจะยาว ยิงคนควรยิงม้า จับโจรเอาหัวโจก”

   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ความหมายที่แท้ของกลยุทธ์นี้ คือให้โจมตีส่วนที่สำคัญที่สุดของข้าศึก เพื่อไห้ได้รับชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ในการบัญชาการรบ จะต้องสันทัดในการขยายผลของการรบให้ใหญ่หลวงยิ่งขึ้น อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้หลุดลอยไปเป็นอันขาด หากคิดง่ายๆแต่เพียงว่า ขอให้โจมตีข้าศึกถอยไปได้เท่านั้นก็พอใจแล้ว แต่ไม่ทำลายกำลังหลักของข้าศึก จับตัวผู้บัญชาการหรือทลายกองบัญชาการของข้าศึกให้ย่อยยับไปแล้ว ก็จะเหมือนดั่งปล่อยเสือเข้าป่า

 

เรีบยเรียงโดย attiwat

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.suara-ampera.com/

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...