อิมโฮเทป ผู้เป็นทั้งสถาปนิก หมอ และผู้คิดค้น การสร้างพีระมิด อิมโฮเทปมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าฟาโรห์ที่เขาสร้างพีรัมิดถวายเสียอีก
แม้ต้องเผชิญพายุทรายมาเกือบ 3,000 ปี แต่พีระมิดเก่าแก่ที่สุดของโลกยังยืนหยัดอยู่จนถึงทุกวันนี้ รูปทรงฐานกว้างปลายแหลมของพีระมิดจะดูจะทนทานต่อสภาพอากาศทุกประเภท สถาปนิกรุ่นหลังจึงยังใช้รูปแบบทรงเดิมที่ชาวอียิปต์โบราณสร้างไว้ในการก่อสร้าง อาคารใหม่ๆตราบจนปัจจุบัน
พีระมิดแห่งแรกของโลกคือวิหารเก็บพระศพของฟาร์โรห์โรเซอร์ ผู้ปกครองอาณาจักรอียิปต์ในช่วงปี 2615 – 2596 ก่อนคริสต์ศักราช ตามประเพณีอียิปต์โบราณเมื่อฟาร์โรห์สวรรณคต พระศพจะถูกนำไปฝังในมาสตาบา (mastaba) ซึ่งเป้นสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาแบน แต่ราวปี 2,650 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์นามอิมโฮเทป ซึ่งเป็นทั้งแพทย์และ สถาปนิก เกิดความคิดแหวกแนวว่าจะสร้างมาสตาบาเรียงต่อกันขึ้นไปหลายชั้น สิ่งก่อสร้างที่เขาคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกก็คือพีระมิดขั้นบันไดนั่นเอง พีระมิดแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคารที่เรียงรายอยู่รอบลานโล่งพระวิหาร โดยส่วนที่เป็นหลุมฝังพระศพฟาโรห์นั้นจะสกัดลงไปในพื้นหินใต้พีระมิด
สิ่งก่อสร้างที่อิมโฮเทปออกแบบกลายเป็นต้นแบบของพีระมิดในยุคต่อมา และ ความเป็นคนคิดแปลกแหวกแนวก็ทำให้อิมโฮเทปมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าฟาโรห์ที่เขาสนองงานให้เสียอีก
ชาวอียิปต์โบราณบูชาอิมโฮเทปในฐานะบิดาของการก่อสร้างที่ทำจากหิน และในราวปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช อิมโฮเทป นักบุกเบิกผู้เก่งกาจและมีวิสัยทัศน์ก็ได้รับการสถาปนาเป็นเทพแห่งปัญญาและการแพทย์
พีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์โจเซอร์
สร้าง : เมื่อ 3,650 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ตั้ง : เมืองซัคคารา ห่างจากกรุงไคโรเมืองหลวงของอียิปต์ไปทางใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร ความสูง : 62 เมตร ฐานพีระมิดขนาด 121*109 เมตร เทคนิคการก่อสร้าง : ขั้นบรรไดทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 6 ชั้นเรียงซ้อนกัน วัสดุ : หินทะเลทรายและหินปูน ประโยชน์ใช้สอย : สุสานฝังพระศพฟาโรห์โจเซอร์