กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป ที่ว่า “มืดอยู่ในสว่าง ไม่อยู่ตรงข้ามสว่าง” ก็คือกลอุบายแจ้งมีอุบายลับ อุบายลับจะปรากฏเป็นจริงขึ้นในอุบายแจ้งนั้นเอง “สว่าง” คือเปิดเผย แจ้งชัด “มืด” คือแฝงเร้น ปกปิด ความหมายของคำว่า “สว่าง มืด” ก็คือ ในรูปแบบที่เปิดเผยอย่างที่สุด แฝงเร้นไว้ด้วยเนื้อหาที่ปิดลับที่สุด
การใช้อุบายประสานกันทั้งมืดและสว่าง ยอมเป็นกลยุทธ์อันเป็นปกติวิสัยของคู่ต่อสู้ ในการสัประยุทธ์ห้ำหั่นซึ่งกันและกัน ที่กลยุทธ์นี้ชื่อ “ปิดฟ้าข้ามทะเล” ก็คือการสร้างภาพลวงฝ่าข้ามทะเลไปโดยไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้เนื้อรู้ตัว เมื่อใช้ในด้านการทหาร มิได้หมายถึงการข้ามทะเลด้วยการปกปิดเป็นเฉพาะ แต่หมายถึงว่าเมื่อสองประเทศรบกัน ฝ่ายหนึ่งใช้กลยุทธ์สร้างภาพลวงขึ้น ปกปิดความจริง มึนชาฝ่ายตรงข้าม นี้ก็คือกลยุทธ์ใช้การพรางตามาปกปิดจุดประสงค์ของตนมิให้ฝ่ายตรงข้ามพบเห็นได้ง่าย เพื่อบรรลุภาระหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้อย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “สำหรับเรื่องที่มีความเคยชิน มนุษย์เรามักจะปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวัง มิได้ป้องกันให้เข้มงวดกวดขัน
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด”
ภายในสภาพการณ์ที่แน่นอน การบุกข้าศึกทีหลังได้เปรียบกว่าการส่งทหารเข้าบุกก่อน กลยุทธ์นี้หมายถึงการใช้ศิลปะการต่อสู้ทางการทหารที่เรียกว่า “ถ้ามาหลายก็ให้แยก” “ถ้าบุกก็ให้ถอย” “การส่งทหารเข้าบุกก่อนมิสู้ตีโต้ตอบทีหลัง” นี้เป็นกลยุทธ์ที่ “เลี่ยงแน่นตีกลวง เลี่ยงแข็งตีอ่อน เลื่ยงที่สงบตีที่ปั่นป่วน เลี่ยงที่ฮึกเหิมตีที่ย่อท้อ” เพื่อขับข้าศึกและเข้าบดขยี้ข้าศึกในภายหลังอย่างหนึ่ง ในตำราพิสังสงครามซุนวู บทว่าด้วย “จริงลวง” ได้เขียนไว้ว่า “เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกแยกเป็นสิบ เราก็มากข้าศึกก็น้อย”
กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “อย่าปะทะกับข้าศึกซึ่งหน้า ควรใช้ยุทธวิธีวกวนที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน แบ่งแยกกำลังของข้าศึกให้กระจายเป็นหลายส่วน แล้วจึงพิชิตเสีย”
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย
กลยุทธ์นี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ใน “จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลังประวัติหวางหยุน” มีเรื่อง “ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะ” ใน “สามก๊ก” ก็มีเรื่อง “ขงเบ้งยืมกำลังของซุนกวนไปต้านโจโฉที่ผาแดง” หรือ “โจโฉแตกทัพเรือ” เป็นต้น
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง”
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี "แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้”
ความหมายของ “แกร่งเสีย” ก็คือ เมื่อการรุกของข้าศึกดุเดือดยิ่งนัก ดูภายนอกแล้วเสมือนหนึ่งเข้มแข็งใหญ่โตเหลือประมาณแต่ไม่อาจรบต่อเนื่องได้ยาวนาน อ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้ง่าย “อ่อนได้” ก็คือ ฝ่ายรับที่ทำการป้องกัน ถูกตีกระหน่ำดูแล้วเหมือนหนึ่งอ่อนปวกเปียก แต่สามารถจะใช้ความสงบรอความเปลี้ย บั่นทอนกำลังข้าศึกไม่ขาดระยะ ทำให้ตนแปรเปลี่ยนจากฝ่ายเสียเปรียบเป็นฝ่ายได้เปรียบ นี้คือกลอุบายในการยึดกุมเป็นฝ่ายริเริ่มในสงคราม รอโอกาสทำลายข้าศึกแปรการรับให้เป็นการรุกอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้มีปรากฏอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่ม เช่น “ซุนจือ ว่าด้วยการศึก” "ยุทธวิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงคราม” “ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้” “บันทึกจ่อจ้วน” “บันทึกประวัติศาสตร์” “จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่น” ซึ่งใน “ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้” กล่าวไว้ว่า“ทราบจากตำราพิชัยสงครามว่าผู้รับมักสบาย แต่ผู้รุกมักเหนื่อยยาก รอซ้ำยามเปลี้ย”
ใน “จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลัง ประวัติฝงอี้” กล่าวว่า "ผู้บุกกำลังไม่พอ แต่ผู้รับมีกำลังเหลือเฟือ บัดนี้รักษาเมืองไว้ก่อน ใช้ความสงบรอความเปลี้ย มิจำต้องไปรบด้วยเลย”
กลยุทธ์นี้มาจาก "ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ ว่าด้วยการทำศึก" ความเดิมมีว่า "ใช้ใกล้รอไกล ใช้สบายรอเหนื่อย ใช้อิ่มรอหิว นี้คือการสยบผู้แกร่งกว่านั้นแล"
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง”
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน” ความหมายเดิมของ “ตีชิงตามไฟ” คือในขณะที่ผู้อื่นถูกเพลิงเผาผลาญห่วงแต่ตัวเอง ไม่ว่างกับเรื่องอื่น ก็ฉวยโอกาสแย่งชิงเอาของผู้นั้นเมาหรือในขณะที่ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายหรือในความลำบาก ก็รุกล้ำเอาผลประโยชน์ของผู้นั้นมา
เมื่อนำมาใช้ในการทหาร ก็คือสิ่งที่ตำราพิชัยสงครามของ “ซุนจือ ว่าด้วยอุบาย” กล่าวไว้ว่า “ชิงเอาในยามปั่นป่วน” หรือที่ “ว่าด้วยอุบาย” ของตู้มู่นักการทหารอีกคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เมื่อข้าศึกวุ่นว่ายปั่นป่วย อาจฉวยโอกาสช่วงชิงมาได้” กลยุทธ์นี้ แต่เดิมมาจากตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อ “ว่าด้วยอุบาย” ที่วกล่าวไว้ว่า “ชิงเอาในยามปั่นป่วน” ฉะนั้น กลบยุทธ์นี้จึงเป็นกลอุบายที่ฉวยโอกาสในยามที่ข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ เข้ารุกรบโจมตีอย่างหนึ่ง
ที่กล่าวว่า “เมื่อข้าศึกมีภัย ให้ฉกฉวยเอาประโยชน์” มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในด้ายการทหาร หากจะนำไปใช้ได้ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จะได้ผลหรือไม่อย่างใดก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ในบางครั้งยังอาจจะใช้วิธีการต่างๆ ทำให้ข้าศึกเกิดวิกฤติ ให้เกิดความระแวงสงสัยในกันและกัน ตอกย้ำความประหวั่นพรั่นพรึงทางจิตใจให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น เพื่อบันทอนพลังสู้รบของข้าศึก เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฉวยโอกาสชิงเอาชัยนี้ก็นับอยู่ในการใช้กลยุทธ์นี้ด้วย
กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “เมื่อข้าศึกประสบกับความยากลำบากทั้งภายในและภายนอก จักต้องรุกโจมตีอย่างไม่ปรานี ฉวยโอกาสอันดีนี้ กระหน่ำซ้ำเติมอย่างให้ตั้งตัวติดและพิชิตเอาชัยอย่างได้ช้า”
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน” คำว่า “ดุจจมในปลัก” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว หรืออีกในหนึ่ง ในระหว่างสงครามาหรือการสัประยุทธ์ใดๆ ก็ดี
เมื่อการบัญชาการของข้าศึกสับสนอลหม่าน มิอาจวินิจฉัยหรือป้องกันได้อย่างถูกต้องทันท่วงที จนเกิดเหตุอันไม่คาดฝันขึ้น พึงฉวยโอกาสที่ข้าศึกวุ่นวายไร้การควบคุม ทำลายเสีย ที่ว่า “ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม” ยังหมายถึงกลอุบายที่เห็นอยู่ทางตะวันออกหยกๆ แต่กลับวกไปอยู่ทางตะวันตก ส่งเสียงทางนี้แต่ตีทางโน้น ทำทีถอยแต่กลับรุก ทำทีรุกแต่กลับถอย ลวงล่อข้าศึกอย่างแนบเนียน ทำให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเข้าพิชิตเอาชัยแก่ข้าศึกอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่มด้วยกัน เช่น “ซุนจือ ว่าด้วยภูมิประเทศ” “ยุทธ์วิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงครามเสียง” “ไหวหนานจื่อ การฝึกยุทธวิธี” เป็นต้น ในเล่มหลังนี้กล่าวว่า “ดังนั้นมรรควิธีแห่งการใช้ทหาร แสดงให้เห็นว่าอ่อนแต่ปะทะด้วยแข็ง แสดงให้เห็นว่าเปราะแต่ปะทะด้วยแกร่ง เมื่อจะรวบ พึงกระจาย เมื่อจักไปประจิม ควรทำทีไปบูรพา” หรือ “คัมภีร์ทั่วไป ว่าด้วยการศึกหลายเลขหก” ของตู้อิ้วก็กล่าวไว้ว่า “ส่งเสียงว่าตีทางบูรพา แต่ที่แท้ตีทางประจิม”
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ที่ว่าส่งเสียบูรพาฝ่าตีประจิม ก็คือโดยภายนอก โดยผิวเผิน ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าจะบุกทางนี้อย่างจริงจัง แต่ที่แท้แล้วกลับบุกอีกด้านหนึ่ง ทำให้ข้าศึกหลงผิด แล้วพิชิตเอาชัยบนความหลงผิดนั้น”
เรีบยเรียงโดย attiwat
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.suara-ampera.com/