สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
โจโฉ
"อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้ ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง" เป็นวาทะสามก๊กของโจโฉว่าแก่โจหยินตอนถูกชีซีตีแตก
สุมาเต็กโช
"โบราณท่านว่าไว้แต่ก่อนว่า สิบคนจะหาผู้กล้าได้คนหนึ่ง ร้อยคนจะหาผู้มีสติปัญญาได้คนหนึ่ง" เป็นวาทะสามก๊กของสุมาเต็กโชที่กล่าวแก่เล่าปี่
ตันฮก
"แผ่นดินจะกลับก็เหมือนไฟดับสิ้นแสง ถ้ากบทูจะหักจะเอาไม้น้อยค้ำมิอาจทานกำลังไว้ได้ ชาวบ้านนอกผู้มีปัญญาย่อมแสวงหานายที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารี" เป็นวาทะสามก๊กที่ร่ายบทกลอนสอนใจแก่เล่าปี่ให้เกิดความสนใจของตันฮก
"ตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกา จะมาเปรียบเทียบพญาหงส์นั้นไม่ควร อันม้าอาชามีกำลังอันน้อยหรือจะมาเปรียบกับพญาราชสีห์ได้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวเปรียบเทียบระหว่างตนเองและจูกัดเหลียงต่อเล่าปี่ของ ตันฮก
ลิเตียน
"ถ้าจะทำการสงคราม พึงให้รู้ลักษณะในไส้ศึกก่อน จึงจะทำการได้ชัยชนะโดยง่าย" เป็นวาทะสามก๊กที่ห้ามปรามไม่ให้โจหยินไปตีเล่าปี่ของลิเตียน
เล่าปี่
"อันธรรมดาแม่ลูกกันนี้ก็เหมือนชีวิตเดียวกัน เมื่อมีเหตุฉะนี้ก็เป็นประเพณีบุตรจะสงเคราะห์แก่มารดา ใครห่อนจะทิ้งมารดาเสียได้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแก่ตันฮก เมื่อได้รับอุบายจดหมายของโจโฉของเล่าปี่
"ท่านผู้มีสติปัญญานั้น ถึงมาตรว่าจะนั่งนอนหลับตาอยู่ในเรือนมิได้เห็นกิจการทั้งปวงเลย ก็สามารถจะคิดเอาชัยชนะแก่ข้าศึกร้อยพันได้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวเกลี้ยกล่อมให้กวนอูและเตียวหุยยอมเชื่อฟังจูกัด เหลียงของเล่าปี่
"ถึงมาตรว่าจะมีอันตรายประการใดก็ดี ตัวเราก็จะสู้ตาย ซึ่งจะทรยศต่อผู้มีคุณนั้นเราทำมิได้" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการเข้ายึดเมืองเกงจิ๋วตามคำแนะนำของจูกัดเหลียงของ เล่าปี่
จูกัดเหลียง
"ธรรมดาผู้มีปัญญาอันพิสดาร แม้จะคิดการสิ่งใดก็ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญาน้อยหาหยั่งรู้ถึงตลอดไม่ อุปมาเหมือนพญาครุฑ แม้จะไปในทิศใดก็ย่อมบินโดยอากาศอันสูงสุดสายเมฆ มิได้บินต่ำเหมือนสกุณชาติซึ่งมีกำลังน้อย" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวตอกหน้าแก่เตียวเจียวให้ได้รับความอับอาย เมื่อคราวไปกังตั๋งเพื่อเจรจาให้ซุนกวนยอมทำศึกกับโจโฉของจูกัดเหลียง
"อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแก่โลซกภายหลังจากลวงเอาเกาฑัณฑ์จำนวนมากจากโจโฉของ จูกัดเหลียง
"ผู้ใดกินข้าวแดงท่านแลฆ่าท่านผู้มีคุณเสีย ผู้นั้นเป็นคนหากตัญญูไม่ ผู้ใดอาศัยอยู่ในแผ่นดินของท่านแล้วคิดยกเอาแผ่นดินไปให้ผู้อื่นเสีย ผู้นั้นเป็นคนหาความสัตย์ไม่" ขงเบ้งกล่าวแก่เล่าปี่เนื่องจากอุยเอี๋ยนนี้มิได้มีความสัตย์แลกตัญญู
จิวยี่
"ธรรมดาเกิดมาเป็นชาย แม้จะแสวงหาเจ้านายซึ่งจะเป็นที่พึ่งนั้น ก็ให้พิเคราะห์ดูน้ำใจเจ้านายซึ่งโอบอ้อมอารีเป็นสัตย์เป็นธรรมจึงให้เข้า อยู่ด้วย แล้วให้ตั้งใจทำราชการโดยซื่อสัตย์สุจริตประการหนึ่งให้มีใจทำไมตรีแก่ญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงเก่าแก่ไว้อย่าให้ขาด แม้มาตรว่าจะมีภัยสิ่งใดมาถึงตัว ก็จะเผอิญให้มีผู้มาช่วยแก้ไขพ้นจากอันตรายได้ ถ้าจะคิดการสิ่งใดเล่าก็จะสำเร็จ" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแก่เจียวก้าน ถึงการเลือกนายผู้รับใช้ของชายชาติทหารของจิวยี่
"ธรรมดาเกิดมาเป็นมนุษย์ อันโรคแลความตายนั้นจะกำหนดวันมิได้" เป็นวาทะสามก๊กที่จิวยี่กล่าวแก่ขงเบ้งเมื่อขงเบ้งมาเยี่ยมตนเองที่ป่วย เพราะลมไม่เป็นใจ ขงเบ้งจึงออกอุบายเรียกลมให้
บังทอง
"ซึ่งจะเป็นหลักที่ยึดนั้น สุดแต่การเป็นประมาณ เมื่อการสิ่งใดมีมาจึงจะคิดต่อไป" เป็นวาทะสามก๊กที่บังทอง กล่าวตอบซุนกวนในตอนที่โลซกชวนบังทองมาทำราชการด้วย
เตียวเหียน
"อันประเพณีการสงคราม ควรจะให้นายทหารซึ่งมีฝีมือออกรบพุ่งให้สามารถก่อน อันแม่ทัพจะยกออกก่อนนั้นไม่ควร" เป็นวาทะสามก๊กที่เตียวเหียนกล่าวตำหนิซุนกวน ที่หุนหันนำทัพออกศึกจนเสียทีแก่เตียวเลี้ยว
ลิอิ๋น
"ธรรมดานกแม้จะทำรังอาศัย ก็ให้ดูต้นไม้อันร่มชิดจึงจะได้อยู่เป็นสุข อนึ่งเกิดมาเป็นชายก็ให้พึงพิเคราะห์ดูเจ้านายอันมีน้ำใจโอบอ้อมอารี จึงเข้าอยู่ด้วย" เป็นวาทะสามก๊กที่ลิอิ๋นกล่าวแก่เล่าปี่ เพื่อยอมสวามิภักดิ์ขอเป็นข้ารับใช้
ลกซุน
"อันประเพณีการศึกมีหรือจะไม่ตาย แต่ผู้มีความคิด ย่อมเสียน้อยได้มาก" เป็นวาทะสามก๊กที่ลกซุนกล่าวแก่ชีเซ่ง และเตงฮอง เมื่อคราวรบกับเล่าปี่
สุมาอี้
"กินเบี้ยหวัดมาร้อยวันพันวัน จะเอาการแต่วันเดียวก็มิได้" เป็นวาทะสามก๊กที่สุมาอี้กล่าวแก่ทหารที่เสียกำลังใจขณะเฝ้าด่านกิก๊ก เพื่อเตรียมรับการบุกวุยก๊กครั้งที่สี่ของขงเบ้ง
"ทำการสิ่งใดอย่าได้เบาความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ" คำสั่งเสียสุดท้ายของสุมาอี้
เกียงอุย
วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า
โจมอ
มังกรอันมีฤทธิ์เดชก็อัศจรรย์ตกลงขังอยู่ในสระ ให้ปลาเล็กน้อยล่วงดูถูก
ซุนฮก
มาตรว่ามีความชอบสักเท่าใดก็ดี ก็ควรจะเจียมตัวคำรบตามประเพณีข้ากับเจ้า
สามก๊กฉบับวณิพก
โจโฉ
"ข้าพเจ้ายอมทรยศโลก ดีกว่าให้โลกทรยศข้าพเจ้า" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความเด็ดเดี่ยว มั่นคงและแน่วแน่ของโจโฉ
"ความหยิ่งด้วยความโง่ ไม่มีค่าเหมือนผู้ที่หยิ่งด้วยความฉลาด" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงวิสัยทัศน์ของโจโฉ ที่แสดงความเหนือชั้นกว่าอ้วนเสี้ยว
"ซึ่งจะฆ่าไก่และจะเอามีดฆ่าโคมาฆ่านั้นไม่ควร" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความประมาทข้าศึกของฮัวหยง
"ตัดต้นรานกิ่งแต่ไม่โก่นราก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงถึงความแพ้ภัยในความประมาทของตนเองของอ้องอุ้น
"ซึ่งจะมาถืออิศริยศในท่ามกลางศึกดังนี้ไม่ควร" เป็นวาทะสามก๊กที่โจโฉกล่าวห้ามปรามในความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างของอ้วนเสี้ยว
จูล่ง
"ให้ทุกห้องเต็มไปด้วยมิตร ให้น้ำสุรามฤตจงเปี่ยมทุกถ้วยอยู่ตลอดเวลา" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความปกครองราษฏรด้วยความโอบอ้อมอารีของขงหยง
"จนยากแต่มิใช่เห็นเงินทองก็ตาลุก ชาวเสียงสานต้องการดื่มเกียรติ" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการปูนบำแหน็จรางวัลจากการออกศึกสงครามของจูล่ง
"ข้าพเจ้าทำศึกมาแต่หนุ่มจนอายุถึงเพียงนี้ ก็ยังไม่เพลี้ยงพล้ำเสียทีให้ข้าศึกดูหมิ่นได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่หวาดกลัวและย่อท้อในการทำศึกสงครามของจูล่ง
จิวยี่
"ดุจแมลงหวี่อันจะต่อสู้ด้วยช้างสาร เหมือนแบกเอาฟางเข้าไปทุ่มที่กองเพลิง" เป็นวาทะสามก๊กของเตียวเจียว ที่ห้ามปรามไม่ให้ซุนกวนร่วมมือกับโลซก
"มาตรว่าชีวิตเราจะตายในท่ามกลางข้าศึก ก็ให้เอาอานม้าปิดศพไว้ เร่งทำการต่อไป" เป็นวาทะสามก๊กที่สั่งการให้ทหารทำหน้าที่ของตนต่อไป โดยไม่ต้องกังวลของอาการป่วยของตนเองของจิวยี่
"สำหรับชายที่หยิ่งด้วยเกียรติของชายนั้น ในโลกนี้อันใดเล่าจะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนกับที่ได้ยินข้อความล่วงเกินมาถึง หญิงอันเป็นสุดที่รักสุดเคารพของตน" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความโกรธแค้นโจโฉที่คิดจะพรากหญิงคนรักของตนไปเป็นนาง บำเรอของจิวยี่
"ตัวเราเกิดมาเป็นชาย ได้ลั่นวาจาออกมาแล้วก็ไม่คืนคำเลย" เป็นวาทะสามก๊กที่ยืนกรานแสดงความหนักแน่นในการนำทัพเข้าตีเมืองลำกุ๋นของจิ วยี่
กวนอู
"ขึ้นชื่อว่าแก้วถึงจะแตกทำลายก็ไม่หายชื่อ เราจะขอทำศึกสงครามด้วยท่านกว่าจะสิ้นชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่ย่อท้อในการทำศึกสงครามของกวนอู
"บุตรของเรานี้เป็นชาติเชื้อเหล่าเสือ ไม่สมควรจะให้แก่สุนัข" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการยกลูกบุตรสาวให้แก่ลูกชายของซุนกวนของกวนอู
อ้วนเสี้ยว
"ครั้นเราจะรุกก็ไม่แลเห็นชัยชนะ จะถอยเล่าก็รังแต่จะถูกเย้ยหยัน แต่เรายังไม่เสียเปรียบเลยในยุทธภูมินี้ ถอยเท่านั้นเป็นทางที่ดีที่สุด" เป็นวาทะสามก๊กในการตระเตรียมกำลังไพร่พลในการถอยทัพของอ้วนเสี้ยว
จูกัดเหลียง
"ท่านอย่าทำการด้วยยโส จะคิดผ่อนปรนให้จงดี อันวู่วามตามความโกรธนั้น ภายหลังจะเสียการไป" เป็นวาทะสามก๊กที่แสร้งเตือนจิวยี่ด้วยความปรารถนาดีของจูกัดเหลียง
"เมื่อมิได้พิเคราะห์ให้ตระหนักก่อน ด่วนมาโกรธฉะนี้ก็จนใจ" เป็นวาทะสามก๊กที่ยั่วให้ซุนกวนเกิดความโมโหเพื่อเป็นการหยั่งดูความสุขุม รอบคอบของจูกัดเหลียง
"ทั้งกายจะหางามสักหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นและอากาศ" เป็นวาทะสามก๊กในการเลือกนางอุยซีเป็นคู่ครอง ที่เต็มไปด้วยความเฉลี่ยวฉลาดมากกว่าความสวยงามของรูปร่างหน้าตาของจูกัด เหลียง
ซุนฮูหยิน
"เกิดมาเป็นหญิง จะให้มีชายต้องถึงสองคนก็ไม่ควรนัก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความมั่นคงต่อสามีและไม่อาจมีชายใดอื่นได้อีกของซุน ฮูหยิน
เล่าปี่
"ยากจะหาคนใดรู้โชคตน แต่ข้ามีกังวลเพราะเชื่อว่า ที่สุดวันวันหนึ่งคงจะมา ให้ข้าลานิเวกสุขเข้าคลุกงาน" เป็นวาทะสามก๊กที่ร่ายกลอนโศลกพรรณาของจูกัดเหลียง
"ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้า ขาดแลหายแล้วก็จะหาได้ พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพี่น้องร่วมสาบาน ที่มีความสำคัญมากกว่าลูกเมียของเล่าปี่
"คิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ทีได้ทีเสีย ยักย้ายถ่ายเทมิให้ผู้ใดล่วงรู้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของชายชาติทหารของโจโฉ
"ธรรมดาเกิดมาเป็นชาติทหารแล้ว ถ้าจะเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ ถึงจะได้ทีก็อย่ายินดี" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวปลอบใจทหารและให้เก็บอากัปกิริยาและควบคุมอารมณ์ใน การแสดงความรู้สึกของเล่าปี่
"การจะทำลายล้างคนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นจากตนดังนี้ ใช่วิสัยชายชาตรีที่พึงทำ" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแสดงความเห็นใจและให้โอกาสลิโป้ของเล่าปี่
"ความโกรธความยินดี มิได้ปรากฏออกมาภายนอก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความสำรวมกายสำรวมใจและกิริยามารยาทของเล่าปี่
ตั๋งโต๊ะ
"จะหางามสามโลกก็เหลือหา สมเป็นนางพญาอันสูงสุด ไม่คู่ควรกับผู้ใดในมนุษย์ ควรสมมุติแต่กษัตริย์ขัตติยา" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงความงามอันหาที่ติมิได้ของหญิงสาวในตอนตั๋งโต๊ะ
เตียวเสี้ยน
"อย่าว่าแต่จะเสียตัวเพียงนี้เลย ถึงจะตายก็ไม่เสียดายชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่ยอมพลีกายเพื่อกอบกู้แผ่นดินของนางเตียวเสี้ยน
"ทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็คิดว่า ถ้าท่านมีทุกข์สิ่งใด ข้าพเจ้าจะสนองคุณท่าน ถึงมาตรว่าชีวิตจะตายและกระดูกจะแหลกเป็นผงก็ดี" เป็นวาทะสามก๊กที่ยินดีสนองคุณอ้องอุ้นผู้เป็นบิดาบุญธรรมของนางเตียว เสี้ยน
-------------------------------------------------------------------