10.โลซก - ง่อก๊ก
โลซก (อังกฤษ: Lu Su; จีนตัวเต็ม: 魯肅; จีนตัวย่อ: 鲁肃) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการของง่อก๊ก มีชื่อรองว่า จื้อจิง (จีน:子敬 ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อซุนกวนส่งตัวไปเกงจิ๋วเพื่อคาราวะศพเล่าเปียวที่เพิ่งเสียชีวิตไม่นาน ขณะนั้นเล่าปี่กำลังลำบากเนื่องจากหาเมืองอาศัยไม่ได้ เพราะถูกรุกรานอย่างหนักจากโจโฉ ขงเบ้งจึงว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้ความช่วยเหลือจากซุนกวน โดยจะชักชวนซุนกวนให้ร่วมรบกับโจโฉ อันเป็นที่มาของศึกเซ็กเพ็กอันลือลั่น โลซกเกิดในปี พ.ศ. 715 ในครอบครัวเศรษฐีทำการค้าขาย ที่อพยพลงมายังกังตั๋ง ได้รู้จักกับทางฝ่ายง่อก๊ก เมื่อจิวยี่และซุนเซ็กต้องการตั้งตัว จิวยี่ได้ไปขอยืมเสบียงและทุนทรัพย์จากโลซก โลซกก็ยกให้มากกว่าที่จิวยี่คาดเสียอีก โลซก เป็นคนซื่อสัตย์ บุคคลิกเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นคนมีปัญญา
9.ซุนฮก - วุยก๊ก
ซุนฮก (อังกฤษ: Xun Yu; จีน: 荀彧) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยว แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวใช้คนไม่เป็น จึงมาอยู่รับใช้โจโฉ คอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่โจโฉยังเริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้เป็นมหาอุปราชแห่งองค์ฮ่องเต้ ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนโจโฉสามารถรวบรวมส่วนหนึ่งของจีนได้สำเร็จ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยก๋ง แต่ซุนฮกไม่เห็นด้วย เพราะซุนฮกสำนึกว่าตนต้องจงรักภักดีต่อราชวงศ์ฮั่น จึงคัดค้านโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจ ปี พ.ศ. 755 โจโฉตั้งตนเป็นวุยก๋ง ซุนฮกแสร้งป่วยไม่มาประชุมขุนนาง โจโฉจึงได้ส่งกล่องเปล่าไปให้ซุนฮก ซุนฮกตีความว่าโจโฉคิดทำร้ายตน จึงดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย
8.เกียงอุย - จ๊กก๊ก
เกียงอุย (อังกฤษ: Jiang Wei; จีนตัวเต็ม: 姜維; จีนตัวย่อ: 姜维; พินอิน: Jiāng Wéi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย
7.กาเซี่ยง - วุยก๊ก
กาเซี่ยง หรือ เจี๋ยสวี่ ในสำเนียงจีนกลาง (อังกฤษ: Jia Xu; จีนตัวเต็ม: 賈詡; จีนตัวย่อ: 贾诩; พินอิน: Jiá Xù) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของเตียวสิ้ว ได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เสมือนเอาตันแผงและเตียวเหลียงมารวมกัน เป็นที่ปรึกษาที่วางแผนไม่เคยผิดพลาด มีชื่อรองว่า เหวินเหอ เป็นคนมีประสบการณ์สูงและมีสติปัญญาเป็นเลิศ เริ่มแรกเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลิฉุยและกุยกี ด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง สามารถทำให้ลิฉุย กุยกีอยู่บนอำนาจได้นาน แต่ต่อมาเกิดไม่พอใจลิฉุยและกุยกี จึงไปอยู่กับเตียวสิ้ว กาเซี่ยงมีเพื่อนที่เป็นที่ปรึกษาอยู่เตงเชีย คือ เลียวตู้
6.จิวยี่ - ง่อก๊ก
จิวยี่ (อังกฤษ: Zhou Yu; จีนตัวเต็ม: 周瑜; จีนตัวย่อ: 周瑜; พินอิน: Zhōu Yú; เวด-ไจลส์: Chou Yü) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กแม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากมาย
5.บังทอง - จ๊กก๊ก
บังทอง (อังกฤษ: Pang Tong, จีนตัวย่อ: 庞统, จีนตัวเต็ม: 龐統, พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของโจโฉว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wolong; มังกรนิทรา-ขงเบ้ง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ-บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และขงเบ้ง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด
4.ลกซุน - ง่อก๊ก
ลกซุน (อังกฤษ: Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้แสดงบทบาทในการเผาทัพของเล่าปี่จนย่อยยับในศึกที่เรียกว่า ศึกอิเหลง ด้วยวัยเพียง 29 ปี และเล่าปี่เกือบเอาชีวิตไม่รอด จนกระทั่งต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป้งเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่า เป็น "เด็กอมมือ" ต่อมาได้จัดทัพป้องกันเล่าปี่ ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง (เตียวหุยถูกลอบสังหารขณะเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับ ท้ายที่สุดพระเจ้าเล่าปี่ หนีไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองเป้งเต้ ต่อมาลกซุนไล่ติดตามเล่าปี่ ขงเบ้งรีบรุดมาจากเสฉวนเพื่อแก้สถานการณ์ และทำให้ลกซุนต้องเข้าไปติดในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้านี้ ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ครั้งนี้ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลุกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง
3.กุยแก - วุยก๊ก
กุยแก (อังกฤษ: Guo Jia; จีนตัวเต็ม: 郭嘉; จีนตัวย่อ: 郭嘉; พินอิน: Guō Jiā) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ยอดกุนซือแห่งวุยก๊กเป็นชาวเมืองอิ่งชวน เอี๋ยงตี๋ (เมืองอวี๋ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ชื่อรองฟ่งเสี้ยว เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำที่ใช้คนไม่เป็น กุยแกจึงมาอยู่กับโจโฉในวัยเพียง 27 ปี ด้วยการแนะนำของซุนฮก กุยแกเป็นนักวางแผนคนสำคัญ เป็นผู้สรุปข้อดี 10 ประการของโจโฉ และสรุปข้อด้อย 10 ประการของอ้วนเสี้ยวเปรียบเทียบให้โจโฉฟัง ซึ่งเป็นแรงดลใจให้โจโฉทำสงครามแตกหักกับอ้วนเสี้ยว แม้จะมีกำลังคนน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวถึง 10:1 แต่โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้กุยแกเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อาจเทียบได้กับขงเบ้งของเล่าปี่ ทว่าทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ประชันฝีมือกัน เพราะกุยแกเสียชีวิตเสียก่อน
2.สุมาอี้ - วุยก๊ก และ จิ้นก๊ก
สุมาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (จีน: 司马懿; อังกฤษ: Sima Yi) (ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นชาวอำเภออุน เมืองเหอเน่ย ( โห้ลาย ) มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า ชงต๊ะ มีลักษณะ แววตาแหลมเล็กคล้ายตาเหยี่ยว สุมาอี้เป็นคนเฉลียวฉลาด ชำนาญตำราพิชัยสงคราม ใจคอหนักแน่นแต่ก็เด็ดขาดในการตัดสินใจ กระทั่งมีผู้สนใจประวัติศาสตร์สามก๊ก ได้วิจารณ์ในทำนองเสียดสีไว้ว่า สุมาอี้คือ "เจ้าสำนักด้านดำ" คือมีความชาด้านทำเพื่อประโยชน์ของตนได้เสมอ โดยไม่สนใจในเรื่องคุณธรรมศักดิ์ศรี และมีความใจดำอำมหิตพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นอุปนิสัยของผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ทุกยุคสมัย สุมาอี้เริ่มต้นจากการรับราชการตำแหน่งเล็กก่อนที่จะไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งเสนาธิการและแม่ทัพ อย่างไรก็ตาม ความสุขุมลุ่มลึกของสุมาอี้นั้น ทำให้แม้แต่โจโฉยังไม่ไว้วางใจ และเคยเตือนบุคคลรอบข้างให้ระวังสุมาอี้ เมื่อโจโฉและโจผีสิ้นลง โจยอยได้ขึ้นครองราชย์ สุมาอี้ได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของวุยก๊ก และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง โดยผลัดแพ้ ผลัดชนะกับขงเบ้งอยู่หลายครั้ง ทั้งคู่ต่างเกรงขามฝีมือของกันและกัน สุมาอี้เกือบตายด้วยวงล้อมไฟของขงเบ้งครั้งนึง แต่รอดมาได้ด้วยฝน
1.ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง)-จ๊กก๊ก
จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ขงเบ้ง มีชื่อจริงว่าจูกัดเหลียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูกัดฟ่ง ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเ...้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูกัดหาม จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต คุณธรรม ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน