ดูแล้วยิ่งกว่าอึ้ง!! คุณจะอยู่ได้มั้ย...มาดูความเป็นอยู่ของชุมชนที่ขึ้นชื่อว่าแออัดที่สุด!
ชมสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนเมืองที่ขึ้นชื่อว่าแออัดมากที่สุดในฮ่องกง ฮ่องกงถือว่าเป็นเขตการปกครองแบบพิเศษของจีนที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่เอี๊ยดเลยก็ว่าได้
หลายๆ คนอาจจะจินตนาการถึงความศิวิไลซ์ของฮ่องกงเป็นอย่างแรก แสงสีต่างๆ มากมาย ซึ่งในอดีตฮ่องกงก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกส่วนเสมอไป ในช่วงปีค.ศ. 1950 ถึงปี 1994 ยังมีความแออัดอยู่ทางด้านตอนเหนือของฮ่องกงอยู่นะ
ที่ Kowloon Walled City โดยมีประชากรอาศัยอยู่รวมกันมากกว่า 30,000 ชีวิตในตึกที่เชื่อมต่อกันอย่างแอดอัดกว่า 300 อาคาร
Kowloon Walled City แห่งนี้ถือว่าเป็นชุมชนที่แออัดมากที่สุดในฮ่องกง ตั้งอยู่นอกเขตรัฐบาล “เกาลูน” บริเวณตอนเหนือของฮ่องกง โดยอดีตนั้นเคยเป็นป้อมปราการของทหารจีนมาก่อน
เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ประสบกับปัญหาของชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาในฮ่องกง ทำให้ขาดที่อยู่อาศัยภายในเมือง ก็เลยปรับป้อมปราการแห่งนี้ให้กลายมาเป็นที่อยู่อาศัย
ในพื้นที่เพียงแค่ 6.4 เอเคอร์ มีประชากรอาศัยมากถึง 33,000 คนเลยทีเดียว
ทำให้กลายเป็นเมืองที่แออัดที่สุดในโลกไปโดยปริยาย
ถึงแม้จะถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการวางแผนปรับปรุงหรือวิธีจัดการที่ดีเลยแม้แต่น้อย
ข้อบังคับของที่นี่มีข้อแม้เพียงข้อเดียวเท่านั้น นั่นก็คือถูกจำกัดความสูงของตัวอาคารไว้ ห้ามสูงเกิน 13 หรือ 14 ชั้น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณสนามบิน
ในช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึงช่วง ค.ศ. 1970 นั้นเคยอยู่ภายใต้การควบคุมของมาเฟียจีน เปลี่ยนที่นี่ให้กลายเป็นสถานขายบริการ, แหล่งการพนัน และยาเสพติด
ต่อมาในปีค.ศ. 1987 เมืองแห่งนี้ก็กลับมาสู่สภาวะปกติอีกครั้ง ไร้มาเฟียจีนคุม แต่ปัญหาเรื่องของการขายบริการ การพนัน และยาเสพติดยังคงอยู่
ถนนและตรอกซอกซอยนั้นคับแคบซะเหลือเกิน กว้างไม่เกิน 6 ฟุต
บางที่ก็หนักกว่านั้นแคบจนเหลือทางเดินพอแค่คนเดียว บางทีต้องเอียงข้างเดินสวนกันเลย
ถ้าหากได้มาที่นี่ก็คงจะไม่อยากไปไหนมาไหนแน่ๆ
คุณ Lui บรุษไปรษณีย์ของเมืองนี้ ทำงานที่นี่ตั้งแต่ปีค.ศ. 1976 เป็นหนึ่งในบุคคลที่รู้จักทางเข้าทางออกเมืองนี้เป็นอย่างดี ที่เห็นใส่หมวกใช่อยากเท่อะไรนะ เขากันของที่จะตกลงมากระแทกหัวต่างหาก
เนื่องจากเมืองแห่งนี้ไม่มีข้อบังคับทางกฏหมายมากมายนัก
จะก่อตั้งธุรกิจอะไรก็สามารถทำได้อย่างสบายๆ เช่นการทำธรุกิจให้เช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัย
หลายๆ กิจการก็ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้อย่างเช่น Ho Chi Kam ที่เปิดร้านทำผมกับภรรยามาจนกระทั่งปีค.ศ. 1991 เขาก็ถูกไล่ออกจากเมืองไป และเมื่อเขากลับมาอีกครั้งก็ต้องทำงานให้กับคนอื่นแทน เพราะเขาไม่มีเงินพอสำหรับจ่ายค่าเช่า
แพทย์ ทันตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ที่อพยพมาจากประเทศจีนพบว่าใบอนุญาตของพวกเขานั้น ทางการฮ่องกงไม่ยอมรับ ก็เลยตั้งรกรากอยู่ที่เมืองแห่งนี้ซะเลย เพราะกฏหมายที่นี่ไม่ได้ครอบคลุมเรื่องเหล่านี้
เมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นคลีนิคสำหรับชนชั้นกรรมกร เนื่องจากค่ารักษาที่ถูกกว่าในฮ่องกงหลายเท่าตัว
หนึ่งในทันตแพทย์ของเมืองแห่งนี้ คุณ Wong Cheung Mi
ไม่มีระบบการจัดการที่ดี สภาพของโรงฆ่าสัตว์ก็เป็นเช่นนี้แหละ
อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แต่ก่อนที่นี่นิยมบริโภคเนื้อสุนัข จนกระทั่งโดนแบนจากอังกฤษ
ก็กลายเป็นอาหารต้องห้ามในที่สุด เลิกบริโภคกันไป
Hui Tuy Choy เปิดกิจการทำเส้นก๋วยเตี๋ยวตั้งแต่ปีค.ศ. 1965 ที่เขาเลือกมาตั้งรกรากที่นี่เป็นเพราะว่าค่าเช่าถูกและไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตอะไรมากมาย แตกต่างจากฮ่องกงที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบการ ใบอนุญาตของแรงงาน และอื่นๆ
เกาลูนจึงกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตของหลายๆ ธุรกิจในฮ่องกงในทันที ผลิตภัณฑ์หลักที่ใหญ่ที่สุดก็คือลูกชิ้นปลา ที่ส่งขายให้กับหลายๆ ภัคตาคารในฮ่องกง
โรงงานยางแห่งนี้ ดำเนินการผลิตด้วยคนจำนวนแค่ 2 คนเท่านั้น
ร้านของชำจะกินพื้นที่มากกว่าที่อื่น ขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของห้องนั่งเล่นเลยทีเดียว
ถึงแม้ที่นี่จะไม่มีกฏระเบียบที่เคร่งครัดซักเท่าไหร่ แต่ก็ยังมีวัฒนธรรมการอาศัยหลงเหลืออยู่บ้าง
อย่างเช่นการดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า
เมืองแห่งนี้มีสภาพภูมิอากาศเป็นของตัวเอง เนื่องจากมีท่อ สายไฟ และท่อระบายน้ำเป็นจำนวนมากผ่านตามตัวอาคาร
ทำให้พื้นที่บริเวณด้านล่างทั้งร้อนและชื้นสุดๆ
เนื่องจากกลิ่นอันตลบอบอวลและความชื้นของพื้นที่บริเวณด้านล่างของตัวเมือง ทำให้บริเวณหลังคากลายเป็นสวรรค์เล็กๆ สำหรับการผักผ่อนหย่อนใจในช่วงบ่ายและตอนเย็น ผู้คนมักจะมาพักผ่อน ตากผ้า ทำการบ้าน หรือฝึกเล่นดนตรีกันที่นี่
สภาพด้านล่างกับด้านบนนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จะรู้สึกดีมากๆ หากได้ขึ้นมาอยู่บนนี้
เพราะข้างล่างอากาศไม่ถ่ายเท อึดอัดสุดๆ
แต่แล้วในปีค.ศ. 1987 รัฐบาลจีนตัดสินใจที่จะรื้อถอนเมืองแห่งนี้ หลังจากที่อพยพผู้คนออกจากเมืองไปใช้เวลาประมาณ 5 ปี จนถึงปีค.ศ. 1993 การรื้อถอนก็ได้เริ่มต้นขึ้น ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยจะได้รับเงินชดเชย
แต่หลายๆ คนก็ประท้วงว่าเงินชดเชยเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต