นักวิทยาศาสตร์ฟันธงโอกาสเกิดสึนามิในไทยกลางปี 2553 เป็นไปได้ยาก แม้จะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ก็จะเกิดคลื่นชิลๆ เพียง 10 ซม.ที่ภูเก็ต
google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
นักวิทยาศาสตร์ฟันธงโอกาสเกิดสึนามิในไทยกลางปี 2553 เป็นไปได้ยาก แม้จะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ก็จะเกิดคลื่นสูงเพียง 10 ซม. ในภูเก็ต ไม่กระทบไทยแม้แต่น้อย เรียกร้องให้การให้ข้อมูล รวมถึงการรับข่าวสารในประเด็นอ่อนไหวเป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีแหล่งอ้างอิง ไม่ใช่แค่สมมุติฐาน
ตามที่มีการกล่าวอ้างข้อมูลจากงานวิจัยของศ.จอห์น แมคคลอสคีย์จากสถาบันวิจัยนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัลส์เตอร์ ไอร์แลนด์เหนือ ว่า อีกไม่นานจะเกิดสึนามิอีกครั้ง และจะส่งผลให้ไทยได้รับผลกระทบมหาศาล โดยเฉพาะ 6 จังหวัดทางตอนใต้ในช่วงกลางปี 2553 สร้างความตื่นตระหนก กังวล และสับสนให้กับประชาชน
“โอกาสจะเกิดสึนามิในประเทศไทย มีน้อยมาก เช่นเดียวกับโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในแถบอันดามัน” ดร.สธน วิจารณ์วรรณ-ลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยย้ำชัดในงานเสวนา “ซึนามิในประเทศไทยที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2553 ร้านแรงจริงหรือ?”
สำหรับข่าวจากงานวิจัยของศ.จอห์น แมคคลอสคีย์จากสถาบันวิจัยนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัลส์เตอร์ ไอร์แลนด์เหนือ ดร.สธนชี้ว่า การนำเสมอมีความคลาดเคลื่อน รายงานวิชาการฉบับจริงนั้น สรุปได้ว่า รายงานความเสี่ยงการเกิดสึนามิบริเวณสุมาตราตอนใต้ โดยที่รายงานไม่ได้ระบุว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และบริเวณที่จะเกิดห่างออกไปทางตอนใต้ ห่างออกจากประเทศไทยเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดใกล้ประเทศไทยดังที่มีการนำเสนอ
ที่สำคัญ ผลกระทบต่อไทยนั้นน้อยมาก จากข้อมูลที่มาจากการศึกษานำไปทำแบบจำลองสึนามิพบว่า สึนามิมีการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และแบบจำลองชี้ว่า อาจเกิดคลื่นที่ภูเก็ตสูงเพียง 10 เซนติเมตร น้อยกว่าคลื่นปกติด้วยซ้ำ
นักฟิสิกส์ชี้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่จะก่อให้เกิดสึนามินั้น จะต้องอาศัยเวลาในการสะสมพลังงานกว่าที่จะต้องปลดปล่อยจนเกิดแผ่นดินไหว และสามารถบอกได้เลยว่า ไม่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ณ จุดเดิมได้อีกครั้งในเวลาอันสั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวในแถบอันดามันมีโอกาสน้อย เพราะเกิดการปลดปล่อยพลังงานครั้งใหญ่ไปแล้วในปี 2547 และ 2548
ในขณะที่โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่พอที่จะทำให้เกิดสึนามินั้น ดร.สธนชี้ว่า มีโอกาสที่จะเกิดทางเกาะสุมาตราตอนใต้ ซึ่งจะเป็นแผ่นดินไหวระดับ 8 และสำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ผ่านแบบจำลองว่า จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวเพียงคลื่นสูง 10 เซนติเมตรที่ภูเก็ตเท่านั้น
“ข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้อีกหนึ่งประการคือ ผลการวิจัยตะกอนทรายที่เกิดขึ้นจากสึนามิ ของดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้วและคณะจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ให้เห็นว่า ไทยมีการเกิดสึนามิหลายครั้ง และแต่ละครั้งห่างกันกว่า 600 ปี” ดร.สธนกล่าวก่อนชี้ว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature ที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
ด้านผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง จากศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การให้ข่าวที่เกี่ยวกับพิบัติภัยธรรมชาติ จำเป็นต้องมาจากแห่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงได้ ไม่ควรเป็นความเชื่อส่วนตัว หรือการตั้งสมมุติฐานเอาเอง
ฉะนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ นักวิชาการย้ำ หากมีเหตุการณ์ที่ต้องการข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ สามารถโทรศัพท์ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “สายด่วนวิทยาศาสตร์” 02-218-5555 ที่มีนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมหาคำตอบ