10 วิธีหนี ?สมองเสื่อม?

10 วิธีหนี “สมองเสื่อม”

         "สมอง" อวัยวะที่เป็นศูนย์บัญชาการสั่งการการทำงานของคนเรา ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นอวัยวะสุดสำคัญ ต้องรักษากันไว้ให้ดี อย่าให้เสื่อมไปก่อนวัยอันควร ถึงแม้กระทรวงสาธารณสุขจะบอกว่าแนวโน้มของผู้สูงอายุไทยจะเป็นโรคสมองเสื่อม ในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรวางใจปล่อยปละละเลย

 


         " ต้นคิด" จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระซิบบอกเคล็ดวิธีในการถนอมสมอง ด้วยการสร้าง 10 ลักษณะนิสัยสู้ภัยสมองเสื่อมมาให้ โดยบอกว่า

         ข้อแรก ให้กินอาหารเช้าเป็นกิจวัตร เพราะจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และมีสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ 

         ข้อสอง ต้องกินอาหารแต่พอดี ไม่มากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เกิดโรคความจำสั้น

         ข้อสาม ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากผลวิจัยยืนยันว่า การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เป็นเหตุให้เป็นโรคสมองฝ่อ แต่ยังทำให้เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ หรือ "สมองเสื่อม" อีกด้วย 

         ข้อสี่ ลดของหวาน การกินของหวานไม่เพียงทำให้อ้วน แต่ยังกระทบต่อสมองอีกด้วย ถ้ากินของหวานมากเกินพอดีจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็น ประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

         ข้อห้า หลีกให้ไกลมลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลต่อประสิทธิภาพสมองลดลง

         ส่วนข้อหกและข้อเจ็ดเกี่ยว กับการนอน คือ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่นอนคลุมโปง การอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตาย ส่วนนอนคลุมโปงจะลดออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายให้น้อยลง

         ข้อแปด ไม่ใช้สมองในยามป่วย การฝืนสังขารไม่เกิดผลดี กลับจะทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง เหมือนทำร้ายสมองไม่รู้ตัว ส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงานของสมองในระยะยาว

         ข้อเก้า บริหารสมองเป็นนิจ คิดในเรื่องสร้างสรรค์ ไม่คิดฟุ้งซ่านเรื่อยเปื่อย หรือคิดในทางลบ

         ข้อสุดท้าย พูดคุยสังสรรค์กับผู้คน เพราะการพูดเป็นตัวแสดงประสิทธิภาพสมอง เนื่องจากต้องคิดต้องขบประเด็น ที่จะสื่อสารต่อยอดการสนทนา อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตา "เม้าท์" นินทาว่าร้ายคนอื่น

         สิบข้อง่ายๆ คงพอจะช่วยให้ห่างไกลจาก "สมองเสื่อม" ได้บ้างตามสมควร

ขอขอบ คุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ สสส. และ วิชาการดอทคอม
www.thaihealth.or.th

 



Credit: http://www.vcharkarn.com/
11 พ.ค. 53 เวลา 12:23 4,580 9 86
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...