หนังเกย์จากชีวิตจริงที่น่าดู The Imitation Game อัฉริยะที่โลกลืม

 

ชื่อ ของ อลัน ทูริง อาจจะไม่เป็นที่รู้จักของคนจำนวนมากทั้งที่เขามีบทบาทต่อมนุษยชาติไม่น้อย เขาคือผู้ที่ส่วนในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เลยทีเดียว อลัน ทูริง คือบุคคลสำคัญในการคิดค้นเครื่องถอดรหัสอีนิคมาที่เยอรมันใช้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 การถอดรหัสของเขาส่งผลต่อการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่  2 ที่จบได้เร็วกว่าที่คิดได้ 2-3 ปี และแน่นอนย่อมส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ นอกจากนั้นเครื่องถอดรหัสของ อลัน ทูริง ยังเป็นแนวคิดและต้นแบบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชื่อของ อลัน ทูริง ไม่เป็นที่รู้จักมากนักนอกจากวีรกรรมที่เขาสร้างไว้จะถูกปกปิดโดยรัฐบาล อังกฤษมากว่า 50 ปีแล้ว อาจจะเป็นเพราะการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเขา การฆ่าตัวตายของ อลัน ทูริง ส่วนหนึ่งมาจากความกดดันในความแปลกแยกของเขาเอง อลัน ทูริง เป็นโฮโมเซ็กช่วลที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมยุคนั้น เรียกได้ว่าถูกรังเกียจด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุนี้ทูริงจึงพยายามปิดบังความแปลกแยกของเขาเอาไว้จนเมื่อถึงวันหนึ่ง ที่ถูกสังคมเปิดเผยออกมาเรื่องเศร้าจึงเกิดขึ้นในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด

ความแปลกแยกของ อลัน ทูริง ไม่ได้อยู่แค่เรื่องเพศรสเท่านั้น เขายังแปลกแยกในกระบวนการความคิดและการทำงานอีกด้วย อลัน ทูริง เป็นอัจฉริยะที่ทำงานเข้ากับคนอื่นไม่ได้ เขาดูขี้อาย พูดติดอ่าง และมักจะไม่สบตาคู่สนทนาของเขา แต่เวลาทำงาน อลัน ทูริง มักจะดูยโส มุ่งมั่น จนออกจะดื้อรั้นด้วยซ้ำ แต่ในความแปลกแยกในความคิดของเขา อลัน ทูริง ได้สร้างเครื่องคำนวนให้รู้จักคิดและประมวลผลด้วยตัวเองออกมา ซึ่งเริ่มใช้จากการถอดรหัสและได้กลายเป็นรากฐานของคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา

The Imitation Game (2014) คือหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ อลัน ทูริง ได้อย่างหมดจดงดงาม หนังเริ่มจากการทำงานในทีมถอดรหัสที่มองเห็นถึงความแปลกแยกในแนวคิดของเขา ก่อนที่จะนำคนดูไปรู้จักกับอีกด้านหนึ่งในชีวิตส่วนตัวและความหลังของ อลัน ทูริง โดยเฉพาะความแปลกแยกของการเป็นคนรักร่วมเพศของอัจฉริยะคนนี้ จากนั้นหนังก็เล่าทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน ตอกย้ำความเป็นตัวตนของ อลัน ทูริง มากขึ้นทุกที จนสุดท้ายเมื่อหนังจบเรื่องกับบทสรุปของวีรบุรุษที่โลกลืมคนนี้ ไม่มีใครแปลกใจกับจุดจบของเขา ได้แต่เพียงถอนหายใจด้วยความเสียดายที่โลกต้องสูญเสียคนมีค่าเช่นนี้ เพียงเพราะเขาเป็นโฮโมเซ็กช่วลเท่านั้นเองหรือ

นอกจากเรื่องราวของ อลัน ทูริง แล้ว The Imitation Game (2014) ยังสะท้อนภาพของสงครามได้อย่างน่าสะทกสะท้อนใจ ตั้งแต่ความโหดร้ายของสงคราม กับเกมของอำนาจในการเอาชนะสงคราม เมื่อภารกิจสุดท้ายของการถอดรหัสนั้นไม่ใช่การช่วยชีวิตผู้ที่กำลังตกเป็น เหยื่อ แต่กลับเป็นการทำได้การสร้างภาพลวงตาให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจเข้าถึงกลลวงของ อีกฝ่าย แม้สุดท้ายแล้วการถอดรหัสที่ทำได้สำเร็จจะช่วยชีวิตผู้คนมากมายจากผลของ สงคราม แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตอีกไม่น้อยที่ต้องปล่อยให้ถูกโจมตีเพียงแค่ฝ่าย สัมพันธมิตรไม่ต้องการให้เยอรมันรู้ว่าพวกเขาถอดรหัสได้แล้ว สงครามจึงเป็นสิ่งที่โหดร้ายและไร้สาระไปในเวลาเดียวกัน

บทสรุปของ The Imitation Game (2014) อาจจะเป็นการยกย่องและเปิดเผยชีวิตของ อลัน ทูริง ให้โลกได้รู้ แต่ในอีกมุมหนึ่งคือการสะท้อนภาพของชายผู้แปลกแยกผู้นี้ ที่สังคมได้ตัดสินเขาเพียงแค่เขาไม่เหมือนใคร อลัน ทูริง จึงอาจจะเกิดเร็วไปเมื่อเทียบกับเรื่องที่เขาต้องประสบ แต่ด้วยความสามารถที่มีส่วนในการเปลี่ยนโลกของเขา อลัน ทูริง อยู่ได้ถูกที่ถูกเวลาพอดี และสุดท้ายเราคงทำได้แค่เห็นใจในชะตากรรมของเขา และขอบคุณในสิ่งที่เขาได้ทำไว้ เพราะมนุษย์เรานั้นเห็นแก่ตัวนั่นเอง - See more at:http://www.kornang.com/news-review/imitationgame.html#sthash.F65oJcyc.dpufชื่อ ของ อลัน ทูริง อาจจะไม่เป็นที่รู้จักของคนจำนวนมากทั้งที่เขามีบทบาทต่อมนุษยชาติไม่น้อย เขาคือผู้ที่ส่วนในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เลยทีเดียว อลัน ทูริง คือบุคคลสำคัญในการคิดค้นเครื่องถอดรหัสอีนิคมาที่เยอรมันใช้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 การถอดรหัสของเขาส่งผลต่อการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่  2 ที่จบได้เร็วกว่าที่คิดได้ 2-3 ปี และแน่นอนย่อมส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ นอกจากนั้นเครื่องถอดรหัสของ อลัน ทูริง ยังเป็นแนวคิดและต้นแบบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชื่อของ อลัน ทูริง ไม่เป็นที่รู้จักมากนักนอกจากวีรกรรมที่เขาสร้างไว้จะถูกปกปิดโดยรัฐบาล อังกฤษมากว่า 50 ปีแล้ว อาจจะเป็นเพราะการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเขา การฆ่าตัวตายของ อลัน ทูริง ส่วนหนึ่งมาจากความกดดันในความแปลกแยกของเขาเอง อลัน ทูริง เป็นโฮโมเซ็กช่วลที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมยุคนั้น เรียกได้ว่าถูกรังเกียจด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุนี้ทูริงจึงพยายามปิดบังความแปลกแยกของเขาเอาไว้จนเมื่อถึงวันหนึ่ง ที่ถูกสังคมเปิดเผยออกมาเรื่องเศร้าจึงเกิดขึ้นในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด

ความแปลกแยกของ อลัน ทูริง ไม่ได้อยู่แค่เรื่องเพศรสเท่านั้น เขายังแปลกแยกในกระบวนการความคิดและการทำงานอีกด้วย อลัน ทูริง เป็นอัจฉริยะที่ทำงานเข้ากับคนอื่นไม่ได้ เขาดูขี้อาย พูดติดอ่าง และมักจะไม่สบตาคู่สนทนาของเขา แต่เวลาทำงาน อลัน ทูริง มักจะดูยโส มุ่งมั่น จนออกจะดื้อรั้นด้วยซ้ำ แต่ในความแปลกแยกในความคิดของเขา อลัน ทูริง ได้สร้างเครื่องคำนวนให้รู้จักคิดและประมวลผลด้วยตัวเองออกมา ซึ่งเริ่มใช้จากการถอดรหัสและได้กลายเป็นรากฐานของคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา

The Imitation Game (2014) คือหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ อลัน ทูริง ได้อย่างหมดจดงดงาม หนังเริ่มจากการทำงานในทีมถอดรหัสที่มองเห็นถึงความแปลกแยกในแนวคิดของเขา ก่อนที่จะนำคนดูไปรู้จักกับอีกด้านหนึ่งในชีวิตส่วนตัวและความหลังของ อลัน ทูริง โดยเฉพาะความแปลกแยกของการเป็นคนรักร่วมเพศของอัจฉริยะคนนี้ จากนั้นหนังก็เล่าทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน ตอกย้ำความเป็นตัวตนของ อลัน ทูริง มากขึ้นทุกที จนสุดท้ายเมื่อหนังจบเรื่องกับบทสรุปของวีรบุรุษที่โลกลืมคนนี้ ไม่มีใครแปลกใจกับจุดจบของเขา ได้แต่เพียงถอนหายใจด้วยความเสียดายที่โลกต้องสูญเสียคนมีค่าเช่นนี้ เพียงเพราะเขาเป็นโฮโมเซ็กช่วลเท่านั้นเองหรือ

นอกจากเรื่องราวของ อลัน ทูริง แล้ว The Imitation Game (2014) ยังสะท้อนภาพของสงครามได้อย่างน่าสะทกสะท้อนใจ ตั้งแต่ความโหดร้ายของสงคราม กับเกมของอำนาจในการเอาชนะสงคราม เมื่อภารกิจสุดท้ายของการถอดรหัสนั้นไม่ใช่การช่วยชีวิตผู้ที่กำลังตกเป็น เหยื่อ แต่กลับเป็นการทำได้การสร้างภาพลวงตาให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจเข้าถึงกลลวงของ อีกฝ่าย แม้สุดท้ายแล้วการถอดรหัสที่ทำได้สำเร็จจะช่วยชีวิตผู้คนมากมายจากผลของ สงคราม แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตอีกไม่น้อยที่ต้องปล่อยให้ถูกโจมตีเพียงแค่ฝ่าย สัมพันธมิตรไม่ต้องการให้เยอรมันรู้ว่าพวกเขาถอดรหัสได้แล้ว สงครามจึงเป็นสิ่งที่โหดร้ายและไร้สาระไปในเวลาเดียวกัน

บทสรุปของ The Imitation Game (2014) อาจจะเป็นการยกย่องและเปิดเผยชีวิตของ อลัน ทูริง ให้โลกได้รู้ แต่ในอีกมุมหนึ่งคือการสะท้อนภาพของชายผู้แปลกแยกผู้นี้ ที่สังคมได้ตัดสินเขาเพียงแค่เขาไม่เหมือนใคร อลัน ทูริง จึงอาจจะเกิดเร็วไปเมื่อเทียบกับเรื่องที่เขาต้องประสบ แต่ด้วยความสามารถที่มีส่วนในการเปลี่ยนโลกของเขา อลัน ทูริง อยู่ได้ถูกที่ถูกเวลาพอดี และสุดท้ายเราคงทำได้แค่เห็นใจในชะตากรรมของเขา และขอบคุณในสิ่งที่เขาได้ทำไว้ เพราะมนุษย์เรานั้นเห็นแก่ตัวนั่นเอง

 

  

"ผมไม่ต้องการอยู่คนเดียว"

 

Credit: http://www.kornang.com/news-review/imitationgame.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...