สะพานสมมตอมรมารค
สมมต - สมมุติ
อมร - เทวดา
มารค - ทางสัญจร
สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 5 แขวง สำราญราษฎร์ ซึ่งแต่ก่อนชื่อว่า ประตูผี โดยมีเมรุปูน ที่สร้างขึ้นมา เพื่อใช้เผาเจ้านายผู้ใหญ่ ที่เรียกได้ว่าเป็นย่าน ไม่จำเป็น ไม่จรไป นั้น มาเปลี่ยนชื่อเป็นย่านสำราญราษฎร์ ภายหลังที่ประตูผีเลิกใช้ และทางการให้มีการเปลี่ยนชื่อ ที่เป็นมงคลขึ้น เพื่อสร้างสิริมงคลทดแทน ซึ่งก็ทำให้ผู้คนยินดี โยกย้ายมาอยู่ที่นี่จนเป็นชุมชนใหม่แทน และที่ย่านอดีตประตูผี
ซึ่งมีคลองโอ่งอ่าง ที่ขุดตัดจากคลองรอบกรุง ไหลผ่านระหว่าง ประตูผีเดิม และเมรุปูนนั้น ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็น รัชสมัยแห่งการขยายเมืองนั้น พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างทางสัญจรขึ้นมากมาย รวมทั้งสะพานหลายสาย ที่สร้างข้ามคลองขุดใหม่ด้วย ซึ่งหนึ่งในสะพานที่สร้างใหม่ในย่านนั้นก็คือ สะพาน สมมติอมรมารค
สะพาน สมมติอมรมารค เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก แบบขันให้เลื่อนออกจากกันได้ ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกสะพานนี้ว่า สะพานเหล็กประตูผี แต่สะพานเหล็กนี้ ก็ทรุดโทรมเร็วมาก จนรัชกาลที่ 5โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง เป็นสะพานปูนปั้นยาว 23 เมตร กว้าง 7.50 เมตร สะพานนี้ ออกแบบลูกกรง ราวสะพาน ตามแบบเสาไอออนนิก โดยมีฐานเสาเซาะร่องตลอดแนว และหลังจากที่ สร้างสะพานใหม่เป็นปูนแล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชทานนามว่า สะพาน สมมติอมรมารค เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธุ์ พระ อนุชา ต้นราชสกุล สวัสดิกุล
ที่มา:http://2013.gun.in.th/index.php?topic=29003.15