นิสัยของคนญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น แท้ๆ แบบละเอียด นิสัยผู้หญิงญี่ปุ่น และ ผู้ชายญี่ปุ่น เป็นแบบไหนนะ มารู้จักกันแบบชัดเจน เจาะลึก สำหรับคนที่ชอบ คนญี่ปุ่น ปิ๊งรักคนญี่ปุ่น หรือ จะไปเที่ยวญี่ปุ่น อ่านที่นี่ที่เดียว จบ
เราควรจะเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เพราะจริงๆ แล้ว แต่ละประเทศ จะมีนิสัย ลักษณะความเป็นอยู่ การคบหา การวางตัว วิธีคิด การทำงาน ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เรามารู้จัก นิสัยของคนญี่ปุ่นแท้ๆ กันดีกว่า ยกตัวอย่าง ถ้าพูดถึงคนไทย คนต่างชาติ จะบอกว่า ยิ้มง่าย อะไรก็ได้ ขี้เกรงใจ จิตใจดี ด้านเสียก็มี คนญี่ปุ่นก็เช่นกัน ด้านดี ก็มีด้านเสียก็มี เช่นเดียวกับทุกชาติ วันนี้ เรามารู้จัก คนญี่ปุ่นแบบ เมาส์นิสัยคนญี่ปุ่นกันดีกว่า มีคนเคยบอกไว้ว่า คบกับคนญี่ปุ่นมานาน กับไม่เคยรู้เลยว่า เค้าคิดอะไร หรือ ตอนนี้เราสนิทกันแล้วหรือยัง ถ้าคบในเชิงเพื่อน นะเออ เกริ่นมานานแล้ว ก็ มา อ่านกันดีกว่านะ
ไม่ค่อยสนใจเรื่องชาวบ้าน สนแต่เรื่องของชาวญี่ปุ่นกันเอง
: อย่างเช่นการถ่ายทอดแข่งกีฬาอะไรก็ถ่ายแต่กีฬาที่คนญี่ปุ่นแข่ง (จะไปว่าเค้าก็กระไรอยู่ ค่าออกอากาศมันแพง) อย่างโอลิมปิค กีฬาอะไรที่คนญี่ปุ่นไม่ได้ลงแข่งหรือไม่ได้เข้ารอบก็ไม่ต้องได้ดูกันล่ะ หรือเวลาแข่ง figure skating ก็จะให้ดูแต่ญี่ปุ่นกับคนสำคัญๆ T^T เค้าอยากดูคนอื่นด้วยอ่ะ...
ใช้รองเท้าเปลือง!
: คือมันชอบให้เปลี่ยนสลิปเปอร์อยู่เรื่อย เข้าตึกก็เปลี่ยนหนึ่งสลิปเปอร์ เข้าห้องน้ำก็ต้องเปลี่ยนอีกหนึ่งสลิปเปอร์ แล้วต้องเรียงสลิปเปอร์ให้สวยงามอีกแน่ะ...
ซดโซบะโฮกๆ!
: อันนี้คนญี่ปุ่นเองก็รู้สึกอับอายเล็กน้อยเวลาไปกินร้านอาหารญี่ปุ่นพวกเส้นตามต่างประเทศแล้วรู้สึกบรรยากาศรอบข้างมันประหลาด (เหมือนถูกรอบข้างรังเกียจ) เหตุผลที่ต้องสูดให้มันโฮกๆเพื่อแสดงถึงคงามอร่อยแล้ว เค้าว่ามันจะช่วยดับความร้อนได้ประมาณหนึ่งด้วย (ทุกวันนี้ก็ยังทำไม่ได้)
ทำงานจนตัวตาย
: สงสัยจะมีอยู่ประเทศเดียวที่มีคนตายเพราะทำงานหนักเกินไม่รู้จักพักผ่อน คนญี่ปุ่นจำนวนมากมีวันหยุดก็ไม่รู้จักใช้ (บางคนใช้ไม่ได้ เพราะบรรยากาศในบริษัทประมาณว่าเมิงห้ามหยุด เค้ามีวันหยุดไว้ตามกฎหมายเฉยๆ)
อ่านบรรยากาศรอบข้างมากเกิน
: เพราะกลัวจะถูกหาว่าเป็นพวก KY (อ่านบรรยากาศไม่ออก ไร้กาละเทศะ) ทำให้ไม่เป็นตัวของตัวเอง พยายามจะไม่แสดงความคิดเห็นที่มันแตกต่างจากชาวบ้านมาก แสดงความเห็นแบบเกาะกลุ่ม... ว่ากันว่าพวกแบบสอบถามทางสถิติอะไรก็เชื่อถือไม่ค่อยจะได้เท่าไหร่ เพราะหลายคนตอบแบบอ่านบรรยากาศ (ประมาณคิดว่าคนส่วนใหญ่จะตอบแบบนี้เลยตอบด้วย)
ไม่ได้เป็นคนศาสนานั้น แต่อยากจะทำพิธีทางศาสนากับเขา
: คนญี่ปุ่นจำนวนมาก(บอกว่า)นับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ไม่ได้เคร่งอะไรเหมือนกับบ้านเรา หลายคนบอกเต็มปากเต็มคำว่าไม่นับถือศาสนาอะไร (คุณฮายาชิก็ไม่มีศาสนา) แต่คนญี่ปุ่นก็จะไปศาลเจ้าตามเทศกาลแบบญี่ปุ่นเช่นฮัทสึโมเดะ (ไปไหว้ศาลเจ้าครั้งแรกของปี) แต่งงานกันแบบคริสตร์ หรือจัดงานศพตามแบบพุทธเป็นต้น หนำซ้ำยังฉลองทั้งคริสมาสตร์ ทั้งวาเลนไทน์กันอีกด้วย...
ส่งของตอบแทน
: เวลาได้รับของอวยพรหรืออะไรก็ตาม ต้องมีการส่งของตอบแทนกันตามมารยาท เงินใส่ซองตามงานต่างๆก็มีการกำหนดไว้อย่างเป็นมารยา่ทตามความสัมพันธ์ของเรากับผู้จัดงาน ของตอบแทนก็เช่นกัน เวลาเราได้รับของอวยพรเนื่องในโอกาสอะไร (เช่นอวยพรเด็กแรกเกิด) ก็ต้องส่งของกลับไปให้ตามมารยาทซึ่งควรจะราคาประมาณ 1 ใน 3 ของของที่ได้รับ (กะๆเอา) ดังนั้นถ้าเราส่งของโคตรแพงไปให้ชาวบ้านก็จะกลายเป็น KY สร้างความลำบากให้คนส่งของกลับซะอีก -_-;
ไม่ร้องเพลงชาติ
: เป็นความเป็นจริงที่ว่าคนญี่ปุ่นจำนวนมากร้องเพลงชาติไม่ได้ @_@; และมีหลายคนที่ไม่ชอบเนื้อหาความหมายของเพลงชาติตัวเอง (เพราะความหมายประมาณว่าจักรพรรดิคือทุกสิ่งทุกอย่าง หลายคนเชื่อว่าเพราะความคิดแบบนี้ที่นำพาให้ญี่ปุ่นต้องเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองและพ่ายแพ้สงคราม...) <-- เรื่องมันยาว
โดนใครชมแล้วต้องปฏิเสธ
: ในความเป็นจริงคงไม่มีใครโดนชมว่าสวย หัวดี แล้วจะยืดอกรับว่าค่ะ เป็นมาแต่เกิด โฮะๆๆๆ แต่อย่างน้อยขอบคุณก็ยังดี นี่เหมือนกับถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิเสธว่า ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกค่า โฮ่ๆๆ (ในใจแอบกระหยิ่มยิ้มย่อง)
ดอกไม้บางประเภทเอาไปเยี่ยมคนป่วยไม่ได้
: ประมาณเดียวกับที่ไทยที่คงไม่มีใครหอบเอาพวงหรีดไปให้คนนอนป่วยในโรงพยาบาล ที่ญี่ปุ่นจะมีดอกไม้บางประเภท (เช่นลิลลี่) ที่เค้าจะเอาไว้วางให้กับผู้เสียชีวิต และมีช่อดอกไม้ที่ขายเอาไว้ให้บูชาหิ้งบรรพบุรุษที่บ้าน นี่ก็ห้ามเอาไปเยี่ยมคนป่วยเหมือนกัน (คนไทยเองคงไม่มีใึครเอาช่อดอกไม้ไหว้พระหรือพวงมาลัยไปให้คนป่วยเหมือนกันแหล่ะ)
งานเทศกาลโคตรเงียบ...
: -_-; ถ้าพูดถึงงานเทศกาลดังๆของไทยอย่างงานสงกรานต์ ลอยกระทง หรืองานของต่างประเทศเองก็จะมีการร้องรำทำเพลง การเต้น กินดื่มลัลล้าๆ ผู้คนหัวเราะร่า เต้นด้วยกัน... แต่งานญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นการออกร้าน... แล้วคนก็เดินเที่ยวหาของกินกันไปเฉยๆ @_@; งานเทศกาลใหญ่ๆที่มีขบวนรถหรือพาเหรดก็เดินกันเงียบๆแบบไร้เสียงดนตรีประกอบ... (เดินกันทื่อๆอย่างนั้น ห้ามยิ้ม ห้ามโบกมือให้ประชาชน) อย่างมากก็เป็นเสียงร้องรับของหนุ่มๆที่แบกหามขบวนรถ หรือไม่ก็มีเต้นรำแบบพื้นเมืองในขบวนกันเท่านั้น (ตกลงงานสนุกไหมเนี่ย?)
:(โฮมเลสดูมีมาตรฐานชีวิตในระดับหนึ่ง
: เมื่อเทียบกับประเทศอื่น... @_@; ถึงจะดูสกปรกเซอร์ๆแต่ก็มีศิลปะในการสร้างที่อยู่ และมีรสนิยมในการเก็บข้างของเครื่องใช้มาประดับบ้าน (บางอย่างใช้ดีกว่าบ้านตูอีก) ไม่ค่อยมีเหตุร้ายที่เกิดจากการก่อเหตุของพวกโฮมเลสด้วย
:(ผู้หญิงญี่ปุ่นถือกระเป๋าแบบห้อยไว้ที่แขน(แบบที่ป้าๆในไทยชอบถือ)
: อย่าไปดูถูกมาก อยู่ไปนานๆรู้สึกตัวอีกที อ้าว... กรูก็ถือเหมือนกัน -_-;
:(โรงพยาบาลปิดวันอาทิตย์ : และส่วนใหญ่ไม่้ได้เปิด 24 ชั่วโมง พึ่งไม่ได้เล้ยยยย
:(ซื้อของแล้วต้องใส่ถุงเอง
: แต่ก็ดีนะคิดเงินเร็วดี ไม่เปลืองถุงมากด้วยเพราะไม่ใส่ให้กันพร่ำเพรื่อซ้อนแล้วซ้อนอีกเหมือนที่ไทย
:(ต้องมีตัวอย่างของกินให้ดู
: เป็นเอกลักษณ์มากของร้านชาวญี่ปุ่น นับวันจะเหมือนจริงขึ้นทุกวันจนดูไม่ออกว่ามันของจริงหรือของปลอมกันแน่
:(ผัวเมียไม่ค่อยนอนด้วยกัน
: ไม่ใช่ทุกครอบครัว แต่หลายบ้านก็แยกกันนอน (ก็ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เวลานอนไม่พร้อมกัน อุณหภูมิที่ชอบไม่เหมือนกัน) แต่ก่อนก็กังขาแต่พอแต่งงานแล้วรู้สึกว่ามันก็โอเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องนอนด้วยกันประจำหรอก ชอบทำไร ทำยังไงก็ทำไป ต่างคนต่างมีเวลาส่วนตัว สถานที่ส่วนตัวบ้างเป็นดีสุด
:(ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือบนรถโดยสารสาธารณะ
: ทั้งรถไฟและรถเมล์ เหตุเพราะเสียงคุยโทรศัพท์มันทำให้คนอื่นรำคาญ -_-; ประเทศอื่นส่วนใหญ่เค้าไม่ห้าม แต่อยู่ที่นี่ก็ต้องทำตามเค้าไป ห้ามบ่น
:(ห่อปกหนังสือด้วยกระดาษทึบ
: ไปซื้อหนังสือตามร้านหนังสือหลายร้านจะถามว่าจะให้ห่อปกให้หรือเปล่า? ถ้าตอบโอเคทางร้านก็จะห่อปกกระดาษสีน้ำตาลทึบๆที่มักจะเป็นลายของทางร้านมาให้ หนึ่งก็เพื่อรักษาความเป็นไปรเวทของคนอ่าน คนอื่นไม่ต้องมาสอดรู้ดูปกว่าอีนี่อ่านอะไร (แต่กลายเป็นน่าสงสัยเข้าไปใหญ่) อีกเหตุผลก็เพื่อโฆษณาทางร้านไปด้วย
:(เดินขึ้นบันไดเลื่อน
: ใครไม่ยืนชิดข้างเดียวกับคนข้างหน้าเป็นแถวเดียวกันเพื่อให้คนรีบเค้าเดินขึ้นไปก่อน จะโดนตั้งท่ารังเกียจ (ทั้งที่บันไดเลื่อนเค้าไม่ได้ทำไว้ให้คนเดิน) ส่วนใหญ่ฝั่งคันโตจะต้องยืนชิดซ้าย คันไซยืนชิดขวากัน...
:(เปลี่ยนชุดแต่งงานสองสามรอบ
: งานเลี้ยงแต่งงานของญี่ปุ่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวมักจะมีการเปลี่ยนชุดประมาณสองรอบ (ภาษาญี่ปุ่นเรียก お色直し โออิโรนาโอชิ) โดยมากชุดแรกจะเป็นชุดเจ้าสาวสีขาว ชุดอื่นจะเป็นสีๆแล้วแต่เจ้าสาวชอบ
:(ชอบซื้อของจากเครื่องขายอัตโนมัติ
: นัยว่ามันคงง่ายและไม่ต้องสนทนากับผู้คน จึงมีเครื่องขายอะไรอัตโนมัติมากมายในประเทศนี้ บางอย่างให้แปลกใจมากว่าจะมีไปทำไม... (ขณะเดียวกันตามต่างจังหวัดก็จะมีร้านค้าแบบไม่มีคนขาย คือมีผักกับราคาวางไว้ ใครจะซื้ออะไรก็จ่ายเงินแล้วหยิบไป เชื่อใจกันสุดๆ)
:(เรียกไฟเขียวว่าไฟฟ้า..
: ตอนไฟเขียวคนญี่ปุ่นจะบอกว่า 青 (สีฟ้า) ดูยังไงก็สีเขียวชัดๆ...
:(ชอบถามกรุ๊ปเลือด
: แล้วก็ทำท่ารังเกียจคนกรุ๊ป B -_-; (คนญี่ปุ่นกรุ๊ป A เยอะสุด และว่ากันว่าเข้ากันไม่ได้กับกรุ๊ป B)
:(เรียกประเทศแถวบ้านเราว่าเอเชีย
: @_@; บางครั้งคนญี่ปุ่นชอบเรียกประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเอเชีย อาจจะลืมไปแล้วว่าญี่ปุ่นมันก็อยู่ในทวีปเอเชียเหมือนกัน...
มารยาทคนญี่ปุ่นการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้ต้องค่อยๆ เรียนรู้และฝึกจนเป็นนิสัยไปทีละเล็กละน้อย ในการใช้ชีวิตแต่ละ วันที่ญี่ปุ่นเวลานัดกับใครต้องรักษาเวลา เมื่อไปไม่ได้หรือไปไม่ตรงตามนัดต้องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า ถ้าไม่รักษาสัญญาจะทำให้อีกฝ่ายขาดความเชื่อถือ และตอนแรก ๆ คนญี่ปุ่นมักจะไม่ค่อยคุยด้วยเนื่องจายังไม่คุ้นเคยกัน แต่เมื่อสนิทกันแล้วก็จะยอมรับ และเปิดใจมากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นมักจะมีเพื่อนหลายกลุ่ม ในหนึ่งวันเขาอาจจะพบเพื่อนจากที่โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อนเที่ยวแตกต่างกันไปทั้งวัน ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงดูไม่ค่อยสนิทกันมากนัก และโดยปกติผู้ชายญี่ปุ่นมักจะทำงานหนักไม่ว่าจะก่อน หรือหลังแต่งงาน และมักจะทำงานกันจนดึกจนดื่นจนคล้ายกับว่าไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว เพราะเป็นวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นก็ว่าได้ที่ทุกคนจะต้องทุ่มเทกับงานให้เต็มที่
1. การใช้ภาษากับระดับความสัมพันธ์
สังคมของคนญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มโดยมีสถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกันเรียกว่า(อุชิ) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่นเรียกว่า(โซโตะ) คนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปจากต่อคนที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพและการถ่อมตนกับผู้ที่เป็นผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นก็ตาม การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ว่าคู่ที่สนทนาอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าวถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูดกับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย
การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็นลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมาก ในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่นการใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำนั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้เกื้อหนุนอุ้มชูเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบพรคุณมาก (อาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น
2. วิธีการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะ
ในการคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ “ความสอดประสานกลมกลืนกัน” ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นจึงไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “chotto…” ซึ่งก็คือ “ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “ไม่สะดวก” คำว่า “chotto”ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วย เป็นสำนวนที่สะดวกมากแม้แต่ในสถานการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ สำนวนอ้อม ๆ ก็ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “kentô shitemimasu” ซึ่งมีความหมายว่า “จะลองพิจารณาดู” แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า “กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ” รวมอยู่ด้วย
3. การโค้ง
การโค้งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) ชาวญี่ปุ่นไม่นิยมไหว้แบบคนไทย หรือจับมือแบบฝรั่ง แต่จะนิยมโค้งแทนในเวลาที่พบหรือลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นนับว่าซับซ้อนพอควร เช่น การโค้งควรจะต่ำเพียงไรและโค้งได้นานเท่าไร หรือโค้งเป็นจำนวนกี่ครั้ง และโค้งในโอกาสอะไร เช่น ผู้อาวุโสก้มให้ลึก แต่ถ้าระดับเท่ากันโค้งพองาม นอกจากโค้งเวลาพบกันหรืออำลาจากกันแล้ว สามารถโค้งเมื่อต้องการขอบคุณ
การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
4. รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น
เมื่อคุณได้รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น นับว่าเป็นเกียรติมาก เพราะคนญี่ปุ่นจะคิดว่าบ้านตนเองเล็กคับแคบและไม่ค่อยจะรับแขกที่บ้าน แม้กระทั่งคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง ดังนั้นร้านอาหาร กาแฟ จึงเป็นที่นิยมมาก เมื่อคุณได้รับเชิญแล้วอย่าลืมนำของฝากเล็กๆน้อยๆติดมือไปฝากเจ้าของบ้านด้วย อาจเป็นผลไม้ ดอกไม้ ขนม เพื่อแสดงถึงน้ำใจ หากเป็นการเชิญรับประทานอาหารคุณอาจซื้อเป็นเหล้าไปฝาก เพราะที่รู้ชายและหญิงมักนิยมดื่มสุรา อย่านำเพื่อนตามไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยไม่ได้รับเชิญ เจ้าของบ้านจะอึดอัดและเป็นการไม่สุภาพ หลังจากไปเยี่ยมบ้านเขาแล้วอย่าลืมโทรศัพท์หรือส่งจดหมายไปขอบคุณ และเมื่อพบกันครั้งต่อไป อย่าลืมขอบคุณที่เขาเคยชวนไปบ้าน
5. มารยาทเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่น
เมื่อไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่ สิ่งที่ควรระวังก็คือเวลา ไม่ควรจะเยี่ยมบ้านตอนเวลาทานอาหาร นอกจากว่าเจ้าของบ้านชวนให้มาทานอาหารกันที่บ้าน คนญี่ปุ่นถือว่าการเยี่ยมบ้านคนอื่นตอนเวลาทานอาหารเป็นสิ่งที่เสียมารยาท ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเยี่ยมก็คือตอนสายๆหรือตอนบ่าย ไม่ควรเป็นตอนเย็นมากด้วย เพราะแม่บ้านเขาคงจะต้องเริ่มเตรียมอาหารเย็น ถ้าโดยบังเอิญไปถึงบ้านเขาในขณะเขาทานอาหารอยู่พอดี เราก็ควรจะบอกว่า Oshokuji chuu ni ojamashite moushiwake arimasen (ขอโทษที่รบกวนเวลาทานอาหาร) และควรจะรอที่ห้องอื่น ตามปกติเจ้าของบ้านก็จะไม่ชวนกินข้าวด้วยกัน (อันนี้ไม่เหมือนกับเมืองไทย) เพราะว่าเจ้าของบ้านไม่ได้เตรียมอาหารอย่างดีสำหรับแขก และตามปกติคนที่จะเยี่ยมก็ต้องทานข้าวให้เสร็จมาก่อนที่จะเยี่ยมอยู่แล้ว
ตอนไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ ควรจะนำของฝากสักอย่างก็ถือว่าเป็นมารยาทดี ตามปกติแล้วของฝากในกรณีเยี่ยมบ้านคนอื่น ควรเป็นขนมแบบที่ใส่ในกล่องสวย(ไม่ใช่ที่ใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา) หรือขนมแค้ก ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีร้านขายขนมแบบสวยงามที่ใส่กล่องดีๆเยอะ เพราะว่าในมารยาทญี่ปุ่นก็จะมีโอกาสใช้กันบ่อย ซึ่งขนมแบบนี้ไม่ใช่เป็นขนมสำหรับผู้ซื้อเพื่อกินเอง แต่สำหรับของฝากในการเยี่ยมคนอื่นมากกว่า
6. รองเท้า
คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น (りょかん/Ryokan ) รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ
7. มารยาทบนโต๊ะอาหาร
การเรียนต่อญี่ปุ่นนั้น นักเรียนอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมรับประทานอาหารกับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ที่ติดตัวไปด้วย
ก่อนเริ่มรับประทานอาหารทุกครั้ง นักเรียนจะต้องพูดคำว่า いただきます Itadakimasu และพูดคำว่า ごちそうさまでした Gochisousama deshita เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำและมีความหมายในเชิงขอบคุณ ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าบ้านเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
ขณะรับประทานอาหาร คนญี่ปุ่นมักจะพูดคำว่า Oishii ซึ่งแปลว่าอร่อย เพื่อชมผู้ปรุงอาหารและถือเป็นการขอบคุณด้วย
ตามมารยาทของคนญี่ปุ่นแล้ว ควรจะทานข้าวให้หมดชาม ถ้าเป็นอาหารชุดก็ควรจะทานทุกอย่าง ยกเว้นแต่ว่าจะทานไม่ไหวแล้วจริง ๆ และก่อนเปิดตู้เย็นเพื่อหยิบหรือเก็บอะไร ควรจะขออนุญาตจากครอบครัวก่อน
ชาวญี่ปุ่นนั้นแทบทุกบ้านจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร
การปฎิบัติเหล่านี้บนโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
1. การกำตะเกียบเป็นกิริยาที่ไม่ดี
2. การจับตะเกียบและถ้วยข้าวด้วยมือเดียวกัน
3. “ โยเซบาฉิ” (よせばし)การเลื่อนชามไปข้างหน้าด้วยตะเกียบ (จะโยกย้ายอะไรก็ใช้มือให้สุภาพเข้าไว้)
4. “ ซึคิบาฉิ” (すきばし)การเสียบอาหารด้วยตะเกียบ
5. “ ซากุริบาฉิ” การเลือกอาหารที่มีรสอร่อย หรือน่ากินในจานอาหาร (อย่าลืมว่าใครๆก็อยากรับประทานของอร่อยในจานเหมือนกัน อย่าเผลอเลือกรับประทานคนเดียวจนหมด)
6. “ มาโยอิบาฉิ”(まよいばし) การถือตะเกียบจดๆจ้องๆไตร่ตรองถึงสิ่งที่จะรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหาร (หรือพูดง่ายๆว่าก็เล็งรับประทานอะไรไว้ก็มุ่งหนีบรับประทานซะดีกว่า เลือกไปเลือกมาดูเหมือนจะทิ้งของที่ไม่อร่อยให้คนอื่นรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เก็บความรู้สึก ถึงอยากรับประทานก็ต้องมีมารยาทไว้ก่อน)
7. การเสียบตะเกียบไว้บนข้าวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
8. ห้ามหยิบตะเกียบจนกว่าผู้อาวุโสคนใดคนหนึ่งจะหยิบขึ้นมาก่อน
9. ห้ามขูดเม็ดข้าวจากตะเกียบ
10. ห้ามทานอาหารจากซุปโดยไม่ยกชามซุปขึ้นจากถาด
11. ห้ามตักอาหารจากจานซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกฟากหนึ่งโดยที่ไม่ยกจานขึ้นมา
12. ห้ามยกจานทางขวามือด้วยมือซ้าย หรือยกจานทางซ้ายมือด้วยมือขวา
13. ห้ามหยิบอาหารที่มีซอสเหลวๆวางบนข้าว หรือทานข้าวราดน้ำซอส
14. ห้ามหยิบและกัดอาหารซึ่งไม่อาจจะทานได้ในคำเดียว ขอให้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆด้วยตะเกียบ
8. การแชร์กันออกค่าอาหาร
คนญี่ปุ่นก็จะมีการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน
9. การส่งเสียงดัง
ในเมืองใหญ่บางคนมีความรู้สึกไวโดยเฉพาะต่อเสียงต่างๆ ที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวันและไม่ใจกว้างยอมรับแม้แต่เสียงที่เด็กทำขึ้นจึงขอให้ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าอาศัยอยู่ที่บ้านพักรวมอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ โดยทั่วไปหลัง 22:00 น. พยายามอย่าส่งเสียงดังให้คนข้าง บ้านได้ยิน บางคนทำ<