10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก

10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก

 

หลายครั้งที่ทีนเอ็มไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับ ชีวะประวัติ ของบุคคลสำคัญของโลกไปแล้วมากมายและส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ชาย ที่เรารู้จักกัน แต่ในวงการวิทยาศาสตร์ ก็มีนักวิทยาศาสตร์หญิง จำนวนไม่น้อย ที่เป็นบทบาทสำคัญที่คิดค้น ประดิษฐ์ นวัตกรรม ขึ้นมาเทียบเท่าผู้ชาย … ซึ่งในวันนี้ teen.mthai ขออาสาพาไปพบกับ 10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก ที่มีบทบาททุกแขนงอาชีพ และ เชื่อหรือไม่ โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เป็นผู้หญิง !!

ข้อมูล teen.mthai.com อ้างอิง ท๊อปเท็นไทยแลนด์

10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 10

Anita Roberts จากประเทศ : อเมริกัน

เธอทำพบณลักษณะที่ซ่อนอยู่ของโปรตีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาบาดแผลและกระดูกหัก

Rosalind Franklin

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 9

Rosalind Franklin จากประเทศ :อังกฤษ

ชื่อเต็มคือ Rosalind Elsie Franklin เป็นนักฟิสิกส์-เคมี และ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA จากการหักเหของรังสี x-ray (ค.ศ.1920 – 1958) “โรสลิน” ได้ศึกษา DNA จากการหักเหของรังสี x-ray พบว่ามีรูปร่างเป็นเกลียวหรือเป็นวงก้นหอย (helical) โดยมีกลุ่มฟอตเฟตเป็นตัวจับเข้าหากันอยู่นอกเกลียวนี้ “โรสลิน” ทำงานร่วมกับ มัวริส วิลคินส์ เริ่มได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของดีเอนเอจากการทำทดลอง โดยอาศัยเทคนิคเอกซเรย์ คริสตัลโลกราฟี (x – rays crystallography) พวกเขาคำนวณจากภาพฟิล์มเอกซเรย์ และพบว่า ดีเอนเอน่าจะจับกันมากกว่าหนึ่งสาย และมีโครงสร้างเป็นรูปซ้ำๆ นอกจากนี้ ยังอาจจะมีรูปแบบการจับกันมากกว่าหนึ่งแบบอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก  อันดับที่ 8

Ada Lovelace จากประเทศ :อังกฤษ

เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกเป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป

พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่งในที่สุด

ในงานวันนั้นตอนที่แบบเบจกล่าวว่า “what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight” (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย)

ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้งเอดาและแบบเบจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ

โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบเบจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ต่อมา แผนการทำงานที่แบบเบจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา “ADA” ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป, ชาร์ลส วีทสโตน, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์

Jane Goodall

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 7

Jane Goodall จากประเทศ :อังกฤษ

เจน กูดดอลล์ (Jane Goodall) (3 เมษายน ค.ศ. 1934 – ) นักสัตววิทยา มานุษยวิทยาและวานรวิทยาชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากโครงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมและครอบครัวของชิมแปนซี ที่อุทยานแห่งชาติกอมเบ สตรีม ประเทศแทนซาเนีย โดยเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยของ ดร.หลุยส์ ลีกคี นักบรรพชีวินวิทยาชื่อดังชาวเคนยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นเวลากว่า 45 ปี

เจน กูดดอลล์ เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเจน กูดดอลล์ (Jane Goodall Institute – JGI) ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เพื่อสนับสนุนการวิจัย ปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย และป้องกันชิมแปนซีจากการถูกล่า เจน กูดดอลล์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “Dame Commander of the British Empire” จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2547 และได้รับจากการแต่งตั้งจากองค์การสหประชาชาติโดยนายโคฟี อันนัน ให้เป็นทูตสันติภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 กูดดอลล์ เป็นที่รู้จักว่าเป็นหนึ่งในสาม “นางฟ้าของลีกคี” (Leaky’s Angels) เป็นฉายาที่ตั้งเลียนแบบรายการโทรทัศน์ “นางฟ้าชาร์ลี” (Charlie’s Angels) ที่โด่งดังช่วงปี พ.ศ. 2519-2524 ร่วมกับไดแอน ฟอสซีย์ ซึ่งศึกษาเรื่องกอริลลา และบีรูเต กัลดีกัส ซึ่งศึกษาเรื่องอุรังอุตัง

Gertrude Belle Elion

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 6

Gertrude Belle Elion จากประเทศ : อเมริกัน

Gertrude B. Elion นักวิทยาศาสตร์หญิงผู้มากความสามารถผลงานของเธอหลายชิ้นนับเป็นคุณประโยชน์ แก่วงการแพทย์อย่างมากเธอเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1988 Gertrude B. Elion ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกแต่กระนั้นผลงานของเธอเป็นสิ่งยืนยันความ สามารถได้เป็นอย่างดี

Rachel Carson

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 5

Rachel Carson จากประเทศ :อเมริกัน

ราเชล หลุยส์ คาร์สัน (Rachel Louise Carson, 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 – 14 เมษายน พ.ศ. 2507) นักธรรมชาติวิทยาและนักรณรงค์ เกิดที่เมืองสปริงเดล รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์แล้วเข้าทำงานด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ในหน่วยงานสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐฯ ระหว่าง พ.ศ. 2479-2492)

ราเชลมีผลงานเขียนออกมามากที่สุดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2483-2492 โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเลส่งอิทธิพลสูงมาก และในปี พ.ศ. 2505 หนังสือเล่มสำคัญชื่อ ?ความเงียบสงัดในฤดูใบไม้ผลิ? (The Silent Spring) ได้สร้างผลกระทบสูงสุดต่อสาธารณชนในด้านการตระหนักถึงผลกระทบ และภัยของยาฆ่าแมลงที่ใช้มากในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางไปทั่วสหรัฐฯ และทั่วโลกโดยมีราเชลเป็นผู้นำคนสำคัญ เป็นผลให้ริชาร์ด นิกสัน ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ (The Environmental Protection Agency – EPA)ในปี พ.ศ. 2512

ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันคือ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สนล.)เมื่อ พ.ศ. 2515 หนังสือชื่อ The Silent Spring ได้รับการจัดเป็นหนังสือ 1 ใน 100 เล่มที่ดีที่สุดของโลกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สภาวิจัยแห่งชาติได้จัดแปลหนังสือเล่มนี้มานานก่อนหน้านี้ โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า เงามฤตยู

Virginia Apgar

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 4

?Virginia Apgar จากประเทศ :อเมริกา

แพทย์หญิงชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง หล่อนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะผู้บุกเบิกของในการใช้ “Apgar Score” มันคือเกณฑ์การวัดความสมบูรณ์ของทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กลงได้อย่างมหาศาล

10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 3

Trotula of Salerno จากประเทศ :อิตาลี

หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หญิงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศตวรรษที่ 11 Trotula เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพของสตรี เป็นที่เชื่อกันว่าเธอเป็นหนึ่งในแพทย์ของ Salerno(โรงเรียนแพทย์ Salerno) แลเะเธอยังมีส่วนสำคัญในการร่วมสร้างความรู้ทางการแพทย์

Maria Goeppert-Mayer

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 2

Maria Goeppert-Mayer จากประเทศ :เยอรมัน

Maria Gertrude Kate Goeppert เป็นชื่อเต็มในวัยเด็กของ Maria Mayer ผู้มีผมสีบลอนด์ ตาสีฟ้า มีนิสัยเคร่งขรึม และชอบอ่านหนังสือ เธอเกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ที่เมือง Kattowitz ประเทศเยอรมนี (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในโปแลนด์) ในตระกูลชนชั้นกลางที่มีฐานะดี เพราะบิดา Friedrich Goeppert เป็นศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Kattowitz ส่วนมารดาเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสและดนตรี

การเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ทำให้บิดาของ Maria คาดหวังว่าเมื่อเติบใหญ่ เธอจะต้องทำอะไรๆ ได้มากกว่าการเป็นแม่บ้าน Maria เล่าว่า เธอมักรู้สึกปวดหัวบ่อย และหนักใจที่ต้องแบกภาระรับผิดชอบความคาดหวังของวงศ์ตระกูล เพราะย้อนหลัง 6 ชั่วอายุคนของครอบครัว Goeppert มีประวัติว่า

สมาชิกของตระกูลอย่างน้อย 1 คน ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์

เมื่อ Maria อายุ 4 ขวบ ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ที่ Gottingen ในเยอรมนี เพราะบิดาของเธอได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Georgia Augusta ทำให้มีโอกาสต้อนรับนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง เช่น David Hilbert ในฐานะเพื่อนบ้าน Maria ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมใน Gottingen และมีประวัติการเรียนว่ามีความสามารถด้านภาษา และคณิตศาสตร์

เมื่ออายุ 18 ปี Maria สอบเข้ามหาวิทยาลัย Georgia Augusta ได้ และเลือกเรียนคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก ในขั้นแรกความตั้งใจของ Maria ก็คล้ายกับความตั้งใจของนิสิตหญิงคนอื่นๆ ในสมัยนั้น คือ เรียนมหาวิทยาลัยเพื่อรับประกาศนียบัตรครู แต่เธอพบว่า วิธีสอนคณิตศาสตร์ของอาจารย์ไม่ตื่นเต้น และไม่น่าสนใจเลย เธอจึงคิดจะเรียนแพทย์แทน แต่ถูกพ่อคัดค้าน เพราะรู้ดีว่าลูกสาวสุดที่รักของตนจะเครียดมากถ้าเห็นคนไข้ตาย

นอกจากมหาวิทยาลัย Georgia Augusta จะมีชื่อเสียงด้านการวิจัยคณิตศาสตร์แล้ว การวิจัยด้านฟิสิกส์ทฤษฎีของที่นี่ก็โด่งดังไม่แพ้กัน ในปี พ.ศ. 2470 เมื่อ Maria ได้เข้าฟังการบรรยายของ Max Born (ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2497 จากผลงานการแปลความหมายของกลศาสตร์ควอนตัม) เธอตัดสินใจเรียนฟิสิกส์ทันที และในปีเดียวกันนั้น บิดาของเธอก็ได้เสียชีวิตลงอย่างไม่คาดฝัน และเมื่อเธอรู้ว่าบิดาคาดหวังในตัวเธออย่างไร เธอจึงอุทิศตัวเรียนฟิสิกส์จนสำเร็จปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิต โดยมี Max Born เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์

Marie Curie

นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อันดับที่ 1

Marie Curie จากประเทศ : โปแลนด์

มารี กูรี (โปแลนด์: Marya Sk?odowska; อังกฤษ: Marie Curie) (7 พฤศจิกายน 2410 – 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน

10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก


Credit: เอ็มไทยวาไรตี้
#นักวิทยาศาสตร์
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
22 ม.ค. 58 เวลา 08:25 2,381
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...