"จี๊ทคุนโด"ศาสตร์แห่งการต่อสู้ ศิลปะป้องกันตัว


 

"จี๊ทคุนโด"ศาสตร์แห่งการต่อสู้ ศิลปะป้องกันตัว

ใครที่ชื่นชอบศิลปะการต่อสู้สไตล์กังฟู คงนึกถึง “บรู๊ซ ลี (Bruce Lee)” อดีตดาราดังฮ่องกงผู้ล่วงลับ ซึ่งได้กลายเป็นตำนานโลกที่นำศิลปะการต่อสู้ของจีนไปเผยแพร่ยังซีกโลกตะวันตกช่วงยุคปี 60-70
       
       บรู๊ซ ลี มีชื่อเสียงทั้งการเป็นนักแสดง ผู้กำกับ ผู้สร้าง ผู้เขียนบท และศิลปินกังฟู ผู้คิดค้นท่ามวย “จี๊ทคุนโด้” จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดด้านศิลปะการต่อสู้แห่งศตวรรษที่ 20
       
       นอกจากนี้ เขายังเป็นนักคิดนักเขียน ที่มักสอดแทรกปรัชญาผ่านบทสนทนาของตัวละครในภาพยนตร์หลายเรื่องของตัวเอง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วไปได้ตระหนักว่า เราไม่ต้องฟังคำบงการจากใคร ชีวิตเป็นของเรา เราคือผู้กำหนดโชคชะตาด้วยตัวเอง

 

 


 

ปรัชญาจี๊ทคุนโด

 


 

บรู๊ซ ลี ได้ไปอเมริกาและนำพลังหมัดช่วง สั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่นขันศิลปป้องกันตัวของเอ็ด ปารค์เกอร์ ครูมวยคาราเต้ระบบ อเมริกันแคมโป้ (American Kempo)จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก ภายหลังบรู๊ซได้ถูกทาบทามไปแสดงหนังจนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ของ เค้โต้ และ อ้ายหนุ่มซินตึ้ง เขายังได้คิดค้นมวยประยุกต์ขึ้นใหม่โดยรวบรวมข้อดี ของศิลปป้องกันตัวทุกชนิดเข้าด้วยกันและเรียกมวยขนิดนี้ว่า จิ๊ดคุนโด หรือ วิชา หยุดหมัด บรู๊ซ ลี ได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหยงชุ่นไว้อย่างมากมายในมวยจิ๊ดคุนโด

จีทคูนโด เป็นหลักการต่อสู้มือเปล่าที่บรูซคิดค้นขึ้นเพื่อการต่อสู้อย่างแท้จริงไม่ใช่เพื่อการกีฬา เขาได้นำเอาเทคนิคและข้อดีของศิลปะการต่อสู้ถึง 26 ชนิด อาทิ กังฟู มวยปล้ำ มวยไทย มวยสากล คาราเต้ ยิวยิตสู ฯลฯ ไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยมีท่วงทำนองที่ลื่นไหลและยืดหยุ่นมากขึ้น

 

 1.การรู้แจ้งในศิลปะการต่อสู้หมายถึง การขจัดทุกๆ สิ่งที่บดบัง ความรู้ที่แท้จริงกับ ‘ชีวิตที่แท้จริง’ เพราะฉะนั้นการรู้แจ้งจึงหมายถึงการขยาย ออกไปอย่างไร้ขอบเขตและเน้นว่าเราไม่ควรตกลงสู่การปลูกฝังใน ‘สิ่งเฉพาะ ส่วน’ ที่ถึงอย่างไรก็จะต้องหลอมรวมตัวเองเข้ากับ ‘ส่วนทั้งหมด’ อยู่ดีแต่เรา ควรจะมุ่งไปสู่ ‘ส่วนทั้งหมด’ ที่สามารถประสาน ‘สิ่งเฉพาะส่วน’ ทั้งหลายเข้า ด้วยกัน  

 2.ฉันกำลังเคลื่อนไหวและฉันมิได้เคลื่อนไหวแต่อย่างใดเลย ฉัน เหมือนพระจันทร์บนผิวคลื่นที่กำลังม้วนตัวกระเพื่อมไปมาอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่า ‘ฉันกำลังทำสิ่งนี้’ แต่เป็นการเผยตัวจากภายในว่า ‘สิ่งนี้กำลังเกิด ขึ้นโดยผ่านตัวฉัน’ มากกว่าจิตใจที่ติดมั่นยึดมั่นในตัวเองในอัตตาของตัวเอง (THE CONSCIOUSNESS OF SELF) เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการบริหาร การเคลื่อนไหวทางกายภาพทั้งปวงให้ถูกต้องเหมาะสม  

 3.ศิลปะเป็นการแสดงออกซึ่งชีวิตที่ข้ามพ้นทั้งกาลเวลาและอวกาศ เราต้องใช้วิญญาณ (SOUL) ของเราในการทำงานให้เต็มที่โดยผ่านศิลปะ เพื่อให้รูปการใหม่แก่ชีวิต และให้ความหมายใหม่แก่ธรรมชาติหรือโลกนี้  

 4.ผู้ที่จะทำความเข้าใจต่อ ‘จี๊ทคุนโด’ ผู้นั้นควรจะต้องละทิ้งความ คิดอื่นๆ รูปแบบอื่นๆ สไตล์อื่นๆ ออกไปให้หมดเสียก่อน ยิ่งไปกว่านั้นเขาควร จะละทิ้งจินตภาพว่า อะไรควรหรือไม่ควรในจี๊ทคุนโดออกไปด้วยการแสวงหา ความมั่นคง (SECURITY) คือการเปลี่ยนสิ่งที่มีชีวิตชีวาไร้ขอบเขตให้กลายเป็น สิ่งที่แข็งทื่อตายด้าน และรูปแบบที่ถูกเลือกคือการสร้างข้อจำกัดให้กับตัวเอง 

 5.จี๊ทคุนโดชอบ ‘การไร้กระบวนท่า’ (FORMLESSNESS) เพราะการ ไร้กระบวนท่าทำให้สามารถซึมซับกระบวนท่าทุกอย่างได้ จี๊ทคุนโดไม่มีสไตล์ เพราะฉะนั้นมันจึงสามารถปรับตัวฟิตเข้ากับทุกสไตล์ได้ 

 6.จงศึกษาจี๊ทคุนโดโดยผ่านการฝึกฝนจิตใจ (MASTERING THE WILL) ขอให้ลืมเรื่องชัยชนะกับความพ่ายแพ้ ขอให้ลืมเรื่องความหยิ่งทะนง และความเจ็บปวด ให้คู่ปรปักษ์ของเราจ้องถมึงไปที่ผิวของเรา ในขณะที่เรา โจมตีใส่ร่างเนื้อของเขาและให้เขาโจมตีใส่ร่างเนื้อของเรา ในขณะที่เรา หักกระดูกของเขาและให้เขาหักกระดูกของเรา ในขณะที่เราเอาชีวิตของเขา มา!! จงอย่ากังวลว่าเราจะหลบหนีอย่างปลอดภัยหรือไม่ แต่จงวางชีวิตของ เราไว้ที่เบื้องหน้าปรปักษ์  

 7.เป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ที่จะไปคาดการณ์ล่วงหน้าถึง ผลลัพธ์ของการต่อสู้ก่อน คุณไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับความคิดว่าการต่อสู้ใน ครั้งนี้จะจบลงด้วยชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ ปล่อยให้ธรรมชาติดำเนินไปตาม ครรลองของเขาแล้วหมัดเท้าของคุณจะทำงานอย่างถูกจังหวะเอง  

 8.จี๊ทคุนโดสอนเรามิให้เหลียวหลังภายหลังจากที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว จี๊ทคุนโดสอนเราให้เพ่งพิจารณาความเป็นกับความตายอย่างไม่แตกต่างกันเลย  

 9.จี๊ทคุนโดคือการรู้แจ้ง มันเป็นวิถีชีวิต เป็นการเคลื่อนไหวที่มุ่งไปสู่พลังจิตและการควบคุมจิต แต่จี๊ทคุนโดควรจะเป็นการรู้แจ้งโดยผ่าน ‘ญาณ’ (INTUITION) มากกว่า  

 10.ศิลปะแห่งจี๊ทคุนโดจึงคือการทำให้ง่าย (SIMPLY TO SIMPLIFY) ความง่ายเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุด 

 11.ในระหว่างการฝึกฝน ผู้ฝึกฝนควรจะกระตือรือร้นและคึกคักใน ทุกๆทาง แต่ครั้นพอเริ่มต่อสู้จริงๆ ใจของเขาจะต้องสงบและไม่ถูกรบกวนโดย สิ่งใด เขาจะต้องรู้สึกราวกับว่าไม่มีวิกฤตใดๆ เกิดขึ้น เมื่อเขารุดไปข้างหน้า ปลายเท้าของเขาจะต้องแผ่วเบาแต่มั่นคง ดวงตาของเขาจะต้องไม่คงที่และ ไม่เพ่งมองอย่างคลุ้มคลั่งขาดสติไปที่ปรปักษ์ การกระทำของเขาไม่ควร แตกต่างไปจากการกระทำยามปกติในแต่ละวัน ไม่ควรให้มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นในสีหน้า แต่ก็ไม่ควรบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ว่าเขากำลังอยู่ในการต่อสู้ ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน



 

 

 

การฝึกของจี๊ทคุนโด

 


 

ระบบการฝึกแบบ ‘มวยภายนอก’ ดังจะเห็นได้จาก ‘FITNESS PROGRAM’ ของบรู๊ซ ลี ในหนังสือ ‘เต๋าแห่งจี๊ทคุนโด’ ซึ่งได้แก่

การฉีกขาให้กว้าง การวิดพื้น การวิ่งอยู่กับที่ การหมุนไหล่เป็นวงกลม การฝึกเตะสูง การฝึกเตะข้าง (SIDE KICK) ให้สูง การฝึกงอเข่า กับงอตัวไปข้างหน้า การฝึกยกขาให้สูง การฝึกท่านั่ง-ลุก (SIT-UPS) การฝึกบิดเอว ฯลฯ                   

วิธีการฝึกแบบนี้แม้ไม่ใช่ไม่ดีต่อการสร้าง เสริมกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นร่างกาย ให้อ่อนหยุ่นแต่แข็งแกร่ง แต่ยังไม่เพียงพอ และไม่มีวันที่จะสามารถพัฒนา ‘ลมปราณ’ (ชี่) กับ ‘พลังรังไหม’ (จิ้ง) ซึ่งเป็น ปัจจัยหลักสองประการของวิชากังฟูโดยเฉพาะสายมวยภายในขึ้นมาได้ต่อให้ฝึกแบบบรู๊ซ ลี เป็นสิบๆ ปีก็ตาม 

เหล่าปรมาจารย์ของในอดีต ได้ถ่ายทอดวิชาร่ำเรียนฝึกฝนสืบต่อกันมาว่า “ใจเป็นนายของความคิด ความคิดจึงรองจากใจ ใจเคลื่อนไหว ความคิดจึงอุบัติขึ้น เมื่อความคิดอุบัติขึ้น ชี่ จึงตามมา ถ้าใจวุ่นวาย ความคิดย่อมฟุ้งซ่าน ถ้าความคิดฟุ้งซ่าน ชี่ ย่อมลอยคั่งค้าง ไม่มั่นคง แต่ถ้า ชี่ จมลงที่จุดศูนย์ตันเถียน ความคิดย่อมแข็งแกร่ง ใจย่อมสงบนิ่ง” 

วิชากังฟูจึงให้ความสำคัญกับการฝึกหายใจ (ด้วยท้องแบบปฏิภาค) ซึ่งเป็นการฝึก ‘ชี่’ ด้วยการใช้ใจนำความคิด แล้วเอาความคิดไปสะสมกับชักนำ ชี่อีกทีหนึ่ง 

ส่วน ‘พลังรังไหม’ (จิ้ง) นั้นคือแรงที่เกิดจากการฝึกฝนชี่เป็นเวลายาว นานและเป็นแรงที่ถูกควบคุมโดยกระบวนการเคลื่อนไหวแบบวงกลม (วงจร) ของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันอันเป็น ลักษณะเฉพาะเคลื่อนไหวเฉพาะตัวของวิชากังฟู และเป็นการหลอมรวมจิตกับ กายเข้าด้วยกัน คุณสมบัติของ ‘จิ้ง’ จึงได้แก่

เป็นพลังหลังกำเนิด เป็นพลังงานที่ผ่านการฝึกฝนในเชิงวิทยายุทธ์ (เป็น ‘กังฟู’) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นชั่วพริบตาขณะ คม กลม คล่อง เร็ว จม และเปลี่ยนทิศทางได้ตามใจชอบ

เพราะฉะนั้นหลักสูตรการฝึกฝนวิชามวยภายใน จึงต้องเริ่มจากการ ฝึกท่าหรือการฝึกแบบ ‘มีรูป’ เพื่อฝึก ‘จิ้ง’ ก่อน แล้วจึงค่อยไปเน้นการฝึกแบบ ‘ไร้รูป’ เพื่อฝึก ‘ชี่’ ในขั้นต่อมา



 

ตัวอย่างรูปธรรม 5 ภาพ แสดงถึงวิธีการต่อสู้ตามแบบฉบับของมวยหย่งชุน อันเป็นมวยจีนที่บรู๊ซ ลี เคยเรียนกับอาจารย์ยิปมันในวัยเด็ก


 

 
เมื่อคู่ต่อสู้เขาจะต่อยหมัดขวาตรง
  
เราใช้ข้อมือขวายกขึ้นมา ‘เกาะเกี่ยว’ หมัดขวาตรงของเขาไว้
 
แล้วชักนำให้หมัดขวาตรงของเขา เบนทิศไปยังเบื้องล่าง
 
จนกระทั่งเขาเริ่มเสียการทรงตัว
 
จากนั้น จึงใช้ปลายนิ้วขวานั้นแทงตรงไปยังใบหน้าของคู่ต่อสู้ ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด ใกล้ที่สุด

ถ้าอธิบายตามหลักวิชามวยภายใน ‘กระบวนท่า’ นี้ ต้องใช้แรงหลาย ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกคือ แรงรู้ (รูปที่ 1) ซึ่งเป็นการอ่านเจตนาของคู่ต่อสู้ ก่อนที่การเคลื่อนไหวของเขาจะอุบัติ ประเภทที่สองคือ แรงฟัง (ปล่อยแรงออก โจมตีในระยะประชิดเพียง 1 หุนหรือ 1 นิ้ว) (รูปที่ 5) อนึ่ง แรงฟังกับแรงเกาะติด มีความจำเป็นเพื่อควบคุมให้เราใช้ขนาดของแรงที่เหมาะสมไปบงการแรงหมัด ของคู่ต่อสู้ให้ไปในทิศทางที่เราต้องการอีกทีหนึ่ง แรงทั้งสี่ประเภทนี้จะถูกควบคุม โดยจิตของเราอีกทีหนึ่ง 




ในสายตาของบรู๊ซ ลี ที่คงมีโอกาสฝึกฝนกังฟูระดับสูงในเวลาที่จำกัด เขาคงเห็นว่ากระบวนท่าเหล่านี้ซับซ้อนเกินไป เพราะแค่กระบวนท่าเดียวก็ยังมี ความละเอียดซับซ้อนขนาดนี้แล้ว ถ้าหากต้องฝึกมวยจีนแต่ละสายซึ่งต่างก็มี กระบวนท่าของตนคนละหลายสิบหลายร้อยกระบวนท่าแล้วจะไป ‘เชี่ยวชาญ’ ได้อย่างไรกัน? ทัศนะอันนี้ของเขาคงนำเขาไปสู่หลักคิดของจี๊ทคุนโด ซึ่งปฎิเสธความซับซ้อนของกระบวนท่า (อย่างผิวเผิน) ในที่สุด 

แต่มวยภายในกลับมองตรงกันข้ามกับบรู๊ซ ลี เพราะมวยภายในเห็นว่า กระบวนท่าเหล่านี้เป็นเพียง ‘ข่าวสาร’ อย่างหนึ่งเท่านั้น กระบวนการฝึกฝนใน ขั้น ‘มีรูป’ คือการฝึกฝนให้เจนจัดเกี่ยวกับรูปแบบของข่าวสารเหล่านี้ จากนั้น ในขั้น ‘ไร้รูป’ จึงค่อยละทิ้ง ‘ข่าวสาร’ เหล่านี้เสีย ไม่ไปยึดติดกับมันปล่อยให้ใจ ของเราทำงานไปตามธรรมชาติและเลิกคิดที่จะใช้กระบวนท่าใดๆ ในการต่อสู้ ภาวะ ‘ไร้รูป’ จะฝึกฝนได้ก็ต่อเมื่อมี DATA-BASE ของภาวะ ‘มีรูป’ อัดแน่นสะสม ฝังลึกอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกเพียงพอแล้วเท่านั้น และในการต่อสู่จริงๆ ก็คือการ ใช้ ‘ใจ’ สั่งเอาข่าวสารเหล่านี้มาใช้งานเท่านั้นเอง และใจที่จะสั่งงานเช่นนั้นได้ ก็คือใจที่ว่างจากนิวรณ์แล้วเท่านั้น ระบบการฝึกของมวยภายในนี้สามารถทำให้ผู้ฝึกอาจบรรลุถึงปรัชญาอันสูงส่งของ ‘จี๊ทคุนโด’ ได้


 


 


 


 


 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ยอดคน Heart & Soul  โดย สุวินัย ภรณวลัย
 

Credit: หนังสือ ยอดคน Heart & Soul โดย สุวินัย ภรณวลัย
25 ธ.ค. 57 เวลา 13:49 5,206
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...