สยอง ! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

สยอง! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

 

ไม่ กี่วันมานี้เราจะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับ เด็กชายชาวอินเดีย ต้องเข้ารับการถอนฟันเกินในปากของเขา ซึ่งฟังดูแล้วมันก็เป็นการถอดฟันออกธรรมดา แต่คิดผิดถนัด! เพราะเด็กชายคนนี้ต้องถอนฟันออกถึง  232 ซี่ ด้วยกัน แม่เจ้าอะไรจะเยอะขนาดนั้น! ซึ่งต้องใช้เวลากว่า  7 ชั่วโมงเลยทีเดียว ในเคสแบบนี้เราจะเรียกว่า โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia นั่นเองคะ .. วันนี้ทีนเอ็มไทยเลยนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคฟันเกินมาฝากกัน ดูไปได้ทั้งความรู้และอาจจะทำให้ขนลุกขนพองแถมด้วยก็ได้นะ สยอง! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

สยอง! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

โรคฟันเกิน หรืออาการ Hyperdontia หรือ supernumerary tooth นั้น เกิดจากการที่ฟันงอกเกินขึ้นมาในพื้นที่ว่างอื่นๆ ในช่องปาก นอกจากพื้นที่ที่ควรงอกปกติ เช่น ฟันที่เกินมาอาจไปงอกอยู่บนเพดาน หรือบางคนอาจมีฟันบางซี่หายไป (missing tooth) ถ้าในกรณีนี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องเอ็กซเรย์ถึงจะเจอ แต่ถ้าเพื่อนๆ แน่ใจว่าเรามีฟันครบทุกซี่ เราก็จะเรียกฟันที่งอกอยู่ตรงเพดานนั้นว่า ฟันเกิน (supernumerary tooth) เรียกลักษณะอาการแบบนี้ว่า hyperdontia นั่นเองคะ

ฟันเกินอาจจะงอกขึ้นมาในช่องปากได้เต็มซี่ หรืองอกได้บางส่วน หรือไม่ได้เลยก็ได้ ถ้างอกได้บางส่วนก็จัดว่าเป็นฟันคุด (impacted) ถ้างอกขึ้นมาไม่ได้เลย ก็เรียกว่าฟันฝัง (embedded) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาฟันคุดหรือฟันฝัง ไม่ใช่เกิดเฉพาะกับฟันกรามซี่ข้างในสุด บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา แต่สามารถเกิดกับฟันซี่อื่น ไหนๆ ก็ได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ปัญหาฟันคุดหรือฟันฝังมักเกิดกับฟันกรามซี่ข้างในสุดซึ่งถือว่า ปกติ

สยอง! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

สาเหตุ โรคฟันเกิน

ฟัน เกินนั้นไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่ามันจะงอกขึ้นมาบริเวณโดยเฉพาะ เพราะมันสามารถไปเกิดตำแหน่งอื่นๆในช่องปากได้หมด มีการวิจัยบอกไว้ว่า สาเหตุการเกิดนั้นอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ท้องถิ่นนั้นๆ, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็เป็นได้ และในงานวิจัยนั้นพบว่า โรคฟันเกินนี้จะพบในเด็กๆ บ่อยที่สุด

สยอง! โรคฟันเกิน หรือ Hyperdontia

อันตรายของ โรคฟันเกิน

ปัญหาฟันคุดหรือฟันฝัง จำเป็นต้องเอาออก เพราะฟันคุดหรือฟันฝัง อาจพัฒนากลายเป็นซีสต์(ถุงน้ำ) หรือเนื้องอกได้ บางทีมันก็อักเสบ เป็นหนอง ถ้ามองในมุมของการจัดฟัน การมีฟันฝังอยู่ในกระดูก ทำให้การเคลื่อนฟันทำไม่ได้ และฟันคุดหรือฟันฝังซี่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ฟันกรามซี่ในสุด มักจะเอาออกยากกว่าด้วย เพราะตำแหน่งการวางตัวของฟันมักจะแปลกๆ บางคนฟันไปอยู่บนเพดาน บางคนชี้ไปทางโพรงจมูก บางคนอยู่ใกล้ไซนัส ก็มี

ผลข้างเคียง

ก็ ต้องดูว่าฟันซี่นั้นมันอยู่ใกล้เคียงกับอวัยวะอะไรหรือเปล่า ถ้าอยู่บนเพดานก็ใกล้กับโพรงจมูก ใกล้ไซนัส บางคนมีกระดูกเพดานบาง ก็เสี่ยงทะลุ นอกจากนั้นก็เป็นปัญหาอื่นทั่วไปเช่น เลือดออกมาก ปวดแผลมาก อาการชานานกว่าปกติ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวง ต้องให้คุณหมอที่รักษาเขาพิจารณาอีกที ต้องดูฟิล์มเอ็กซเรย์ประกอบ คุณหมอจึงจะสามารถวางแผนการรักษาและประเมินผลข้างเคียงได้ว่าจะมีมากน้อยแค่ ไหน ยากง่ายยังไงคะ

Ashvik Gavai เด็กชายวัย 17 ปี พบว่าเขามีฟันเกินจำนวนมากถึง 232 ซี่

หมอแผนกทันตกรรมของโรงบาลเจเจในมุมไบ ต้องอึ้งไปตามๆกัน เมื่อหลังจากตรวจเช็คฟันให้ Ashvik Gavai เด็กชายวัย 17 ปี พบว่าเขามีฟันเกินจำนวนมากถึง 232 ซี่ ซึ่งต้องทำการผ่าตัดออกจากปากของเด็กชายคนนี้ คุณหมอก็ค่อยๆ ใช้ค้อนและสิ่วขนาดเล็กค่อยๆ เปิดส่วนที่เป็นเนื้องอกออก และต้องค่อยๆ ถอดฟันออกมาทีละซี่ โดยใช้เวลานานกว่า 7 ชั่วโมงเลยทีเดียว

ตามรายงาน ของ BBC บอกไว้ว่า เด็กชายทุกข์ทรมานกับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเขานานถึง 18 เดือน เนื่องจากขากรรไกรของเขาเริ่มมีอาการบวมเกิดขึ้น และกว่าเขาจะเดินทางมาจากหมู่บ้านเพื่อมาหาหมอในตัวเมืองก็ใช้เวลานาน

Dr.Sunanda Dhiware หมอผ่าตัด ก็ได้บอกว่า Ashik มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับโรคฟันเกินโดยมีฟันเพิ่มจากชุดฟันปกติรวมไปถึงเนื้อ งอกที่บริเวณเหงือกด้วย และเคสนี้ถือว่าเป็นเคสที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ ซึ่งน่าจะเป็น “สถิติโลก” ก็ว่าได้

เรียบเรียงโดย teen.mthai.com

ของคุณข้อมูล thaiclinic.com,Jerry Maguire

Credit: เอ็มไทยวาร์ไรตี้
#ฟัน #โรค
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
12 ธ.ค. 57 เวลา 16:31 6,156 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...