"ค้างูทะเล" ธุรกิจแบบใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

เรียบเรียงโดย Clipmass.com



มีรายงานจากทาง BBC โดยอ้างอิงข้อมูลจากวารสารวิชาการ Conservation Biology ว่า ในทุกๆ เดือนนั้น ชาวประมงในอ่าวไทยต้องเสี่ยงชีวิตไปจับงูทะเล ซึ่งส่งผลให้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต และยังส่งผลกระทบให้จำนวนงูทะเลลดลง จนเป็นผลทำให้ระบบนิเวศทางทะเลวิทยาเสียสมดุลอีกด้วย ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้เรียกร้องให้มีการสังเกตสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี 2552



 

 

ซึ่งมีการเปิดเผยถึงขั้นตอนการค้างูทะเลว่า ชาวประมงนั้นมักจะจับปลาในตอนกลางคืน โดยมีลูกเรือประมาณ 7 – 25 คน รวมถึงใช้แห ตะขอและส่องไฟในการจับปลา ตกหมึก ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นก็สามารถจับงูมาได้เป็นร้อยตัวเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นงูพิษที่มีอันตรายถึงชีวิต



 

 

และเมื่อถูกจับขึ้นฝั่งมานั้น ชาวประมงจะใช้เวลาแยกงูและชั่งน้ำหนักภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยปราศจากอุปกรณ์ใดๆ ใช้เพียงแค่มือเปล่า และบางทีก็ถือและเดินย่ำบนกองงูด้วยเท้าเปล่าอีกด้วย


ถ้าถูกงูกัดชาวประมงก็จะใช้ใบมีดโกนผ่าบริเวณผิวหนังที่โดนกัด เพื่อทำการรีดพิษออก บางคนก็ใช้กระเทียม หรือนอแรดเพื่อบรรเทาพิษงู เนื่องจากประเทศนี้มีเซรุ่มในการรักษาไม่มากนัก



 

 

ซึ่งงูที่ได้นั้นก็จะถูกนำมาขายต่อ หรือไม่ก็นำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ทั้งต้ม ผัด แกง หรือแม้แต่ทำเครื่องดื่ม ส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและจีน โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ปวดหลัง แก้นอนไม่หลับ แก้ระบบการกินผิดปกติ



 

 

โดยการค้างูทะเลนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมีเรือประมงค้างูมากถึง 700 ลำ/ปี เลยทีเดียว และจับงูได้มากกว่า 80 ตัน โดยงูที่ถูกจับบ่อยนั้นคือ งูแถบดำกับงูฮาร์ดวิก



 

 

ซึ่งการค้างูทะเลนี้ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก ทำให้สมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายลง ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อๆ กันไปนั่นเอง


 

ข้อมูลและภาพประกอบจาก postjung

11 ธ.ค. 57 เวลา 12:09 12,186 2 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...