เรียบเรียงโดย Clipmass.com
โดยข่าวนี้เป็นข้อมูลจากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ “เหตุผลที่คนเป็นโสด” โดยเขาได้ทำการทดลองกับกลุ่มนักศึกษาจำนวน 600 คน ด้วยการนำเส้นผมมาตรวจหาสารอัลลีน G ซึ่งจากผลวิจัย พบว่ามีนักศึกษาจำนวน 60 % ที่มีสารอัลลีน G ครองความโสดอยู่ ในขณะที่คนกลุ่มอื่นมีคนโสดเพียง 50 % เท่านั้น
ซึ่งสารอันลีน G เป็นสารพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลให้คนหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และมักจะไม่สบายใจกับการมีคู่ จึงสรุปได้ว่า สารอัลลีน G หรือ “ยีนคนโสด” นี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนมีโอกาสโสดมากกว่าคนอื่นถึง 20 % เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ออกมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิจัยนี้ว่า “มนุษย์สามารถเรียนรู้และมีทางเลือกเสมอ ไม่จำเป็นต้องให้ยีนมาเป็นเครื่องกำหนดชีวิตหรอก”
อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญเรื่องยีนส์ จากประเทศอังกฤษยังบอกอีกด้วยว่า “ยีนไม่ใช่สิ่งตัดสินทั้งหมด ซึ่งเห็นได้ชัดในกรณีการใช้ชีวิตของคู่ฝาแฝดที่มียีนเหมือนกัน แต่กลับมีชีวิตแตกต่างกันเป็นอย่างมาก”
แม้ว่าการวิจัยนี้จะถูกโต้แย้งจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหลายด้านว่า การที่คนจะโสดหรือมีคู่นั้น มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับยีนส์เลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ เพราะทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสารอัลลีน G ในยีนส์ ซึ่งอาจเป็นที่มาของภาวะอารมณ์หงุดหงิดง่าย และอารมณ์แปรปรวนก็เป็นได้
ข้อมูลจาก Dailymail
รูปภาพประกอบจาก factincept