ชะตากรรมของแรดขาว
แรดขาวถูกฆ่าคา อุทยานแห่งชาติในประเทศแซมเบีย คาดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มค้าสัตว์(Poachers) เดือนมิถุนายน 2007
กลุ่มสมาคมผู้ อนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม แห่งแซมเบีย แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่แรดขาวเพศเมียถูกฆ่าใน อุทยานแห่งชาติ Mosi-Oa-Tunya เมือง Livingstone โดยคาดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มนักค้า สัตว์
นาย Mulyokela Kalaluka สมาชิก Zambia National Broadcasting Corporation Thursday quoted society กล่าวว่า ในเมืองท่องเที่ยวที่เป็นเมืองหลวงแห่งภาคใต้ด้วยแล้ว มันยากที่จะเข้าใจจริงๆว่าสัตว์โดนฆ่าตายได้อย่างไรในคืนวันพุธขณะที่มียาม ของกลุ่มพิทักษ์คุ้มกันแรดอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
เขากล่าวต่อว่า ทางสมาคมได้รับทราบข้อมูลแล้วว่านอของแรดตัวเมียที่ตายได้ถูกตัดไปแล้ว ขณะที่แรดอีกตัวถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
อุทยานเหลือแรด ขาวอยู่แค่ 2 ตัวนี้จากจำนวน 6 ตัวที่นำมาจากประเทศแอฟริกาใต้ในปี 1993
แหล่งข่าว; ซินหัว
ข่าวนี้แสดงให้ เห็นครับว่าสถานการณ์ของแรดในทวีปแอฟริกาน่าเป็นห่วงจริงๆ พวกพ่อค้าสัตว์ในตลาดมืดยังมีความต้องการซื้อนอแรดอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะนำไป ขายต่อในประเทศแถบเอเซียที่เชื่อว่านอแรดมีสรรพคุณพิเศษในการปรุงยาประเภทยา ชูกำลัง นอแรดแต่ละอันจะถูกรับซื้อในธุรกิจ Bush Market (บุช มาร์เก็ต คืออะไร ย้อนกลับไปอ่านเอนทรี่นี้ของคุณ sat11 ได้ครับ...http://www.oknation.net/blog/zoozoo/2007/11 /23/entry-1) โดยมีราคาล่อใจ นักล่าอันละประมาณ 1 พันเหรียญสหรัฐเป็นอย่างต่ำ(ประมาณ 5-6 หมื่นบาทใช่มั๊ยครับ) ดังนั้นจึงมีพวกนักฆ่าตั้งกลุ่มตั้งขบวนการล่าแรดขึ้นมา คอยปฎิบัติการฆ่าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม่เกรงกลัวแม้กระทั่งแรดที่มีเจ้าหน้าที่ที่คอยคุ้มกันพร้อมอาวุธครบมือก็ ตาม คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกองกำลังของกลุ่มปฎิวัติจากบางประเทศในแอฟริกาที่ ต้องการเงินมาซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อไปสู้รบต่อไป (เดี๋ยวค่อยพูดถึงกันอีกที) ทำให้ในขณะนี้จำนวนของแรดพันธุ์ต่างๆในทวีปแอฟริกาจึงลดลงอย่างรวดเร็วมี ความเสี่ยงต่อการณ์สูญพันธุ์สูงมากโดยเฉพาะแรดขาวเหนือแห่งการัมบ้า ที่เหลืออยู่น้อยเต็มที
อ้อ..แรดที่ถูก ฆ่าที่แซมเบียเป็นพันธุ์แรดขาวใต้ (Southern White Rhino)นะครับ ไม่ใช่แรดขาวเหนือที่ผมจะพาพี่-น้องไปชม
ไปรู้จักอุทยานแห่งชาติการัมบ้า แห่งประเทศคองโกกันครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Garamba_National_Park
Garamba National Park
อุทยานแห่งชาติ การัมบ้า ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศคองโก โดยมีชายแดนติดกับประเทศซูดาน(และอูกันดา) ได้รับการจัดตั้งในปี ค.ศ.1938 อุทยานแห่งชาติการัมบ้าได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่ สุดในทวีปแอฟริกา โดยได้รับการยกฐานะให้เป็นมรดกโลก(World Heritage Side)จาก UNESCO ใน ปี ค.ศ.1980 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1996 เป็นต้นมาการัมบ้าถูกจัดขึ้นอยู่ในบัญชี อุทยานมรดกโลกที่อยู่ในสถานะอันตราย (World Heritage Sites in danger)อันเนื่องมาจากมีการพยายามลักลอบเข้ามาฆ่าแรดภายในอุทยาน โดยกลุ่มนักฆ่าสัตว์ป่า(poacher) อยู่เสมอ การัมบ้าคือบ้านอันเก่าแก่และที่พักพิงแหล่งสุดท้ายของแรดขาวเหนือ (Northen White Rhino) สัตว์ป่าขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่อาจจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลก..ในเร็ววัน
บรรยากาศรอบๆของอุทยานแห่งชาติการัมบ้า สภาพทุ่งหญ้าสวานน่าอาหารหลักของแรดขาว
แต่เดิมนั้น ในครั้งแรกที่อุทยานได้รับการจัดตั้งเป็นมรดกโลกในปี 1980 การัมบ้าก็ถูกจัดขึ้นอยู่ในบัญชีอุทยานมรดกโลกที่อยูในภาวะอันตรายในปีนั้น เลย อันเนื่องมาจาก IUCN ( International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources) ได้ลงสำรวจจำนวนแรดขาวเหนือในอุทยานพบว่าแรดขาวเหนือมีเหลืออยู่ในอุทยาน ประมาณ 15 ตัวเท่านั้น(จากสถิติพบว่าแรดขาวเหนือเคยมีจำนวนประมาณ 500 ตัวในปี 1976) UNESCO/IUCN จึงได้ ร่วมมือกับ Frankfurt Zoological Society และ กองทุนสัตว์ป่าโลก (The World Wildlife Fund) ทำการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของอุทยานจนได้รับการถอนชื่อออกจากบัญชีอันตรายได้ใน ปี ค.ศ.1992
แต่แล้วก็เกิดภาวะวิกฤติภายในอุทยานฯ การัมบ้าอีกครั้งจนได้
ในปี ค.ศ.1991 จังหวัดหนึ่งของประเทศซูดานที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงของอุทยานถูกเข้ายึด ครองโดย ทหารของฝ่ายกลุ่มกองกำลังปลดแอกประชาชนซูดาน (Sudanese People’s Liberation Army)(SPLA) ทำให้มีชาวบ้านอพยพ มาตั้งที่พักพิงอยู่รายรอบอุทยานเป็นจำนวนมากและมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 50,000 คนในปี 1993 ทั้งกลุ่มผู้อพยพและกลุ่มทหาร SPLA ได้นำเอาปืนกลและอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆเข้ามาไล่ล่าสัตว์ภาย ในอุทยานอย่างบ้าระห่ำโดยป้อนขายสัตว์ป่าเคราะห์ร้ายเหล่านั้นไปยังกลุ่ม ธุรกิจ Bushmeat ที่รับซื้อไม่อั้น ทำให้จำนวนของสัตว์ป่าทุกชนิดในอุทยาน แห่งชาติการัมบ้าลดลงอย่างน่าใจหาย เจ้าหน้าที่ พิทักษ์อุทยานเองก็ไม่สามารถคุ้มกันสัตว์ป่าเหล่านั้นได้เลยเหตุเพราะกลุ่ม นักล่ามีอาวุธหนักที่พร้อมจะสู้รับมือเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา มีการยิงปะทะกัน 121 ครั้งในระหว่างปี 1993 ถึงปี 1995 เฉพาะภายในปี 1992 เพียงปีเดียวควายป่าและช้างจำนวนมากกว่าหนึ่งพันตัวต้องตกเป็นเหยื่อของนัก ล่าอย่างน่าเวทนา
ในปี 1996 เหตุการณ์ที่น่าสลดก็มาถึงเมื่อปรากฏว่าแรดขาวสองตัวถูกฆ่าตายคาอุทยาน ทำให้อุทยานแห่งชาติการัมบ้าเจอกับภาวะวิกฤติต้องถูกจัดกลับไปอยู่ในบัญชี อุทยานมรดกโลกที่อยู่ในสถานะอันตรายอีกครั้ง
แรดขาวเคราะห์ร้ายอีกตัวที่ถูกฆ่าตายคาอุทยานแห่งชาติ การัมบ้าในปี 2004
ความ ขัดแย้งและสงครามกลางเมืองในแอฟริกากลาง ; การสูญ พันธุ์หรือการจะดำรงอยู่ต่อไป ชะตากรรมของแรดขาวเหนือแห่งการัมบ้าฤาจะขึ้นอยู่กับสิ่งนี้
ค้นไปค้นมาก็ไปเจอกับกลุ่มพวกนี้เข้าจนได้
อ้างอิง
Poacher กลุ่มนักล่าที่เป็นอันตรายต่อแรดขาว
The janjaweed นักฆ่าจากซูดาน
นี่ก็อีกกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังพวกนี้เป็นนักฆ่า-นักล่า ช้างและแรดมืออาชีพ
The janjaweed เป็นกลุ่มติดอาวุธเชื้อสายอาหรับ ที่เคยปักหลักอยู่แถวจังหวัด Darfur ในประเทศซูดาน พวกนี้ไม่ใช่แค่กลุ่มกองกำลังที่สู้รบและเข่นฆ่าชนพื้นเมืองผิวดำอย่างป่า เถื่อนเท่านั้น หากยังเป็นกองกำลังซึ่งปฏิบัติภารกิจที่มุ่งหาเงินโดยเฉพาะอีกด้วย พวกนี้จะคอยย่องข้ามแนวชายแดนเข้ามาในคองโกโดยมีจุดประสงค์เพื่อฆ่าช้างและ แรด โดยจอดรถบรรทุกที่จะใช้ในการขนถ่ายงาช้างและนอแรดไว้ที่ฝั่งซูดาน แล้วจะใช้กองทัพม้า,ฬ่อในการล่าและ ขนถ่ายลำเลียงในเขตอุทยาน ด้วยการฝึกปรือกันมาอย่างดีและประสบการณ์การสู้รบในสงครามกลางเมืองมายาวนาน และอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยครบมือ ทั้งยังมีความโหดเหี้ยมป่าเถื่อนด้วยกองกำลังกลุ่มนี้จึงนับเป็นกลุ่มที่ยาก ที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานจะต่อกรได้
รูป
Horsemen กลุ่ม นักล่ามนุษย์ม้า
กลุ่ม นายพรานพวกนี้เป็นนักล่าอิสระที่ไม่ทราบสังกัด แต่เดิมนั้นพวกนี้จะล่าสัตว์ป่าทั่วไปทุกชนิดเพื่อส่งขายเนื้อในตลาด Bushmeat แต่ ภายหลังมาพวกนี้ได้เปลี่ยนแนวมาล่าช้างและแรดโดยเฉพาะ นักสังเกตการณ์บางท่านเชื่อว่า ความสับสนที่ยังคงดำเนินต่อไปในกระบวนการเจรจาสันติภาพที่ยืดเยื้อภายใน ประเทศซูดาน อาจจะเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจการค้าสัตว์ป่าต้องรีบกอบโกย “หลาย อย่างดูเลวร้ายลงไปทุกที อาจเป็นได้ว่าทุกๆคนกำลังพยายามจะกอบโกยไห้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน ที่สันติภาพจะมาถึง” Kes Smith ให้ สัมภาษณ์ไว้อย่างนั้น
ใน เดือนเมษายนปี 2002 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานได้ปะทะกับกลุ่มนักล่ามนุษย์ม้ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกองรบที่มาจากซูดานเหนือเป็นครั้งแรก เป็นไปได้ว่าพวกนี้เข้ามาล่าสัตว์โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลของซูดานในเมือง
Khartoumเพราะ ทราบว่ากลุ่มนักล่าพวกนี้ได้ใช้ม้าและรถไฟของรัฐบาลซูดานในการขนย้ายงาช้าง และนอแรดเพื่อนำกลับไปยังซูดาน นักล่ามนุษย์ม้าพวกนี้คือ”มือ อาชีพในการทำลายล้างธรรมชาติ”กล่าวโดย Mr”Ruggiero “พวก นี้ได้ออกล่าสัตว์ป่ามาหมดเกลี้ยงทุกที่แล้ว พวกเขาก็เจาะจงที่จะเข้ามาล่าในบริเวณสุดท้ายที่ยังคงมีสัตว์หลงเหลืออยู่ ที่ที่ว่าก็คือการัมบ้านั่นเอง”
Saving White Rhino Thursday, 14 September 2006
The Lord's Resistance Army
นี่คือกลุ่มกองกำลังย่อยอีกกลุ่ม หนึ่งที่จะทำให้เรารู้จักทวีปแอฟริกามากขึ้นนะครับ
กองกำลังผู้ต่อต้านพระ เจ้า (The Lord’s Resistance Army) หรือ LRA คือกลุ่มกบฏที่ต่อสู้กับ ทหารของรัฐบาลประเทศอูกันดามายืดเยื้อยาวนานมากกว่ายี่สิบปี มีฐานที่มั่นอยู่ที่ตะเข็บชายแดนระหว่างประเทศอูกันดาติดกับภาคตะวันออกของ คองโก บัดนี้พวกเขามีภารกิจหลักคือการพิทักษ์แรดขาวเหนือที่ยังคงเหลืออีกเพียงไม่ กี่ตัวในการัมบ้า นี่คือแรดขาวเหนือกลุ่มสุดท้ายที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรดั้ง เดิมของพวกมันเอง
ช่วงปี ค.ศ.2005 กลุ่มกบฏ LRA ได้เข้ามาปักหลักในบริเวณ พื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยาน ทำให้กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเริ่มกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของแรด ขาวเหนือเป็นอย่างยิ่ง ด้วยชื่อเสียงโจทย์จันท์เรื่องความป่าเถื่อนของกบฏกลุ่มนี้ที่มีประวัติโหด ร้าย เช่น การข่มขืน การทรมานเหยื่ออย่างโหดเหี้ยมทารุณ รวมถึงประวัติการฆ่าพลเรือนจำนวนมากในอดีต ความกังวลเริ่มเปลี่ยนเป็นความน่าสะพรึงกลัวเมื่อกลุ่มกบฏ LRA ได้สังหารเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานไปถึง 12 ศพรวมถึงสังหารทหารชุดอาสาสมัครของ UN ที่มาจากประเทศกัวเตมาลาไป 8 ราย
หลังจากนั้นไม่นาน Mr.Lawrence Anthony ผู้ก่อตั้งองค์กร the South African environmental group the Earth Organisation ได้ตัดสินใจเดินทางไปยังเมือง Juba ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศซูดานใน ระหว่างที่มีการจัดการเจรจาเรื่องการเมืองที่นั่น เพื่อขอแนะนำตัวเองต่อหัวหน้ากลุ่มกบฏ LRA เขาได้รับการอนุญาตให้เข้าพบและพูดคุย กับกลุ่มกบฏ LRA ในวันต่อมา
Mr.Anthony ได้พูดกับกลุ่มกบฏในเรื่องของแรดขาว เหนือแห่งการัมบ้า ที่ขณะนั้นนอของมันมีราคารับซื้อสูงถึงอันละ 38,000 ดอลล่าร์สหรัฐในตลาดมืด(คูณ 50 เข้าไปดูอู้หูเกือบ 2 ล้านแน่ะครับ) กลุ่มกบฏ LRA ได้กล่าวแก่ Mr.Anthony ว่า แรดขาวเหนือเคยเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญในชนเผ่าดั้งเดิมของพวกเขา และพวกเขาก็ยังคงให้ความเคารพต่อพวกมันและเมื่อการเจรจาหยุดยิงระหว่าง LRA กับรัฐบาลได้รับการลงนาม LRA จะมุ่งทำภาระกิจหลักคือการช่วยเหลือและร่วมมือ กับเจ้าหน้าที่อุทยานในการพิทักษ์และเฝ้าระวังภัยให้แก่พวกมันต่อไป
ถ้าหากว่าแรดขาวเหนือ 4 ตัวสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่การัมบ้าจะยังคงได้รับการปกป้องอยู่ แผนก็คือการช่วยเหลือให้พวกมันได้รับการผสมพันธุ์กับแรดขาวเหนือพวกที่ได้ รับการดูแลอยู่ที่สวนสัตว์เมืองซานดีอาโก้ และสวนสัตว์แห่งกรุงปราก เป็นลำดับต่อไป แน่นอนหละ ตามธรรมชาติแรดจะตั้งท้องโดยใช้เวลาท้องละ 18 เดือน พวกมันจะทำการผสมพันธุ์กันแค่ครั้งเดียวในรอบทุกสามปี ออกลูกครั้งละหนึ่งตัว
ในความเป็นจริงแล้ว...กระบวนการทุกอย่างก็แค่เพิ่งจะเริ่มต้นเท่า นั้นเอง
เนื่องจากสภาพการเมืองการปกครอง ของประเทศในแถบนี้เต็มไปด้วยความวุ่นวายและข้อขัดแย้งที่เป็นชนวนทำให้เกิด การรบพุ่งกันอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งประเทศซูดานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของคองโกยังก็ทำตัวเป็นหอกข้าง แคร่ไม่เคยให้ความช่วยเหลือในการติดตามจับกุมผู้ที่ลักลอบเข้ามาฆ่าสัตว์แต่ อย่างใด แถมยังส่งเสริมให้พวกพ่อค้าสัตว์ป่าได้เปิดตลาดรับซื้องาช้างและนอแรดกันได้ อย่างเสรีในฝั่งซูดานอีกด้วย จึงเป็นเหตุให้กระบวนการพิทักษ์พันธุ์แรดขาวเหนือสัตว์ป่าสำคัญของโลกต้อง เกิดอุปสรรคใหญ่หลวง ในประเทศคองโกเองก็ใช่ว่าจะย่อยเมื่อสงครามกลางเมืองระหว่างพวกทุตซี่และฮุต ตูใช่ว่าจะสงบลงง่ายๆ(สงครามกลางเมืองในคองโกคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 3 ล้านคนภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี) เหตุการณ์เลวร้ายยังพร้อมปะทุอยู่ตลอดเวลา รัฐบาลคองโกก็เต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่นนักการเมืองคองโกหากินอยู่กับการ ยักยอกเงินช่วยเหลือประเทศทุกด้านรวมทั้งเงินช่วยเหลือแรดขาวที่ถูกระดมส่ง เข้ามาในนามองค์กรต่างๆจากทั่วโลกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็คงถูกยักยอกไป ด้วยเช่นกัน(ผมว่าเองนะ) ความหวังเรื่องการปกป้องแรดขาวเหนือที่เหลืออยู่แค่สี่ตัวที่อุทยานการัมบ้า ณ.เวลานี้ดูเหมือนว่าจะเลือนรางริบหรี่ลงไปทุกทีแล้ว
กลุ่มองค์กรอนุรักษ์ ธรรมชาติพยายามผลักดันโครงการอพยพแรดขาวเหนือที่เหลือไปดูแลในประเทศเคนยา ชั่วคราว ซึ่งเคนยามีภูมิประเทศใกล้เคียงกับอุทยานการัมบ้าและมีทุ่งหญ้าชนิดเดียวกัน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของแรดขาว ที่สำคัญคือเป็นพื้นที่ที่สงบหลายๆองค์กรสำคัญของโลกก็เห็นดีกับโครงการนี้ แต่ทว่ามีหรือที่รัฐบาลคองโกจะเห็นด้วยพวกเขาเห็นว่าการปกป้องแรดขาวในการัม บ้านั้นจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลคองโกเท่านั้น แน่นอนละครับเงินอุดหนุนจากUNESCO รวมทั้งองค์กรช่วยเหลือต่างๆจะต้องยังคงทะยอ ยส่งเข้ามาเป็นระลอกๆเงินพวกนี้เข้ากระเป๋าคนพวกไหนหนอ
ผมว่ากลุ่มนักอนุรักษ์คง คิดผิดเหมือนกันถ้าจะย้ายแรดขาวไปไว้ที่เคนยาเพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ประเทศเคนย่าก็เพิ่งเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ คนตายไปแล้วร่วม 500 ศพและส่อเค้าวุ่นวายต่อเนื่องอยู่เนืองๆ..เฮ่อ..มายเดียร์แอฟริกา
รูป
โอ้น้องสาว..พี่ชักจะพูดมากไป แล้วมั๊ง...ต่ออีกหน่อยนะครับ ผมจะพาไปดูเจ้าพวกที่เหลือที่ว่าเค้าเก็บไว้ในสวนสัตว์ซานดิอาโก้ กะสวนสัตว์แห่งเมืองปราก ดูซิว่าเค้าทำอะไรกะพวกมันมั่ง เป็นตายร้ายดีกันยังไงไหนไปดูกันซิ...
ไปสำรวจมาแล้วครับ พี่-น้อง ที่สวนสัตว์ Sandiago ประเทศอเมริกามีแรดขาวเหนืออยู่ 3 ตัว ชื่อ Nadi Noda และ Angalifu ที่สวนสัตว์ Dvur Kralove แห่งกรุงปรากสาธารณะรัฐ เชค มีอยู่ 7 ตัว รวมทั้งหมด 10 ตัวในจำนวนนี้มีตัวเมียที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้อยู่แค่ 2 ตัว ตัวนึงชื่อ Najin อีกตัวชื่อ Fatu เป็นแม่ลูกกัน เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่องค์กรต่างๆรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญได้ ร่วมมือกันอย่างหนักเพื่อทำการผสมพันธุ์แรดขาวเหล่านี้ แต่พวกเขาก็คว้าน้ำเหลวมาตลอดปัญหาก็คือว่าพวกแรดเขาไม่ยอมทำการผสมกันใน ถิ่นที่ไม่ใช่บ้านเกิดหรือถิ่นเดิมของเขา แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังพอมีความหวังกับการผสมเทียมอยู่ เพราะเมื่อไม่นานมานี้เองที่สวนสัตว์แห่งกรุงบูดาเปส ประเทศฮังการีเพิ่งจะประสพความสำเร็จในการผสมเทียมแรดขาวใต้ โดยมันให้กำเนิดลูกออกมาแล้วหนึ่งตัว ถ้าเป็นเช่นนั้นการผสมเทียมแรดขาวเหนือในโมเดลเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ยังพอ คาดหวังได้ แต่ในความเป็นจริงแรดขาวตัวเมียจะตกไข่แค่ 2-3 ปีต่อ 1 ครั้ง การจะช่วยรักษาดำรงเผ่าพันธุ์ของพวกมันเอาไว้ให้ได้ก็ยังคงดูเลือนรางเช่น เดิมในความเป็นจริง
ข่าวอัพเดท...แรดขาวเหนือ ตัวเมียตัวหนึ่งที่อยู่ที่สวนสัตว์ซานดีอาโกตายแล้วครับ!!!
ตัวที่ชื่อ Nadi สาเหตุการตายของมันไม่แน่ชัดเพียงแต่มัน เจ้าหน้าที่ระบุว่ามันแก่มากแล้ว Nadi อายุ 40 ปีใกล้เคียงกับอายุของแรดขาวตัวที่มีอายุมากที่สุดที่ถูกบันทึกไว้ 44 ปี Nadi ถูกส่งมาจากสาธารณะรัฐเชค ในปีค.ศ.1989 มันถูกจับมาจากแอฟริกา(ไม่ระบุประเทศ)
ผมขอพอแค่นี้ก่อนแล้วกัน ไม่ไหวแล้วครับจะว่าไปแล้วไม่คิดตั้งใจจะต่อความยาวสาวความยืดอะไรขนาดนี้ เลยครับเพียงแต่ว่าเราติดอยู่ในโลกแห่งข้อมูลใบใหญ่บะเริ่มเทิ่ม เรื่องเล็กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องใหญ่กลับกลายเป็นเรื่องเล็กได้แค่ ในคลิกเดียว ขอขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อดทนอ่านมา จนถึงตรงนี้ นอนหลับฝันดีราตรีสวัสดิ์ครับ